วันหยุดในประเทศลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันหยุดนักขัตฤกษ์ในลาว

วันหยุดนักขัตฤกษ์
วันที่ ภาษาไทย ภาษาลาว หมายเหตุ
1 มกราคม วันปีใหม่สากล ວັນປີໃໝ່ສາກົນ
8 มีนาคม วันสตรีสากล ວັນແມ່ຍິງສາກົນ
14 - 16 เมษายน ปีใหม่ลาว ບຸນປີໃໝ່ລາວ วันปีใหม่ลาวเริ่มในวันที่ 14 ถึง 16 รวม 3 วัน
1 พฤษภาคม วันแรงงาน ວັນກຳມະກອນສາກົນ
2 ธันวาคม วันชาติ ວັນຊາດ เป็นวันก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเมื่อปี 1975 มีการเดินสวนสนามและงานรื่นเริงที่พระธาตุหลวง
วันหยุดตามสุริยคติ
วันที่ ภาษาไทย ภาษาลาว หมายเหตุ
ปลายเดือนมกราคา - ต้นเดือนกุมภาพันธ์ บุญคูญลาน ບຸນ ຄູນລານ
ก่อนที่จะนำข้าวที่นวดแล้วไปเก็บในยุ้งฉาง จะมีการทำบุญขวัญข้าว มีการนิมนต์พระภิกษุมาสวดเป็นสิริมงคล

และเป็นนิมิตรหมายที่ดีให้ปีต่อๆ ไปทำนาเกิดผลดียิ่งๆ ขึ้น

กุมภาพันธ์ ตรุษจีนและตรุษเวียดนาม ຕຸດຈີນແລະຕຸດຫວຽດນາມ
กุมภาพันธ์ บุญมาฆะบูชา
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ บุญข้าวจี่ ชาวนาจะนำข้าวจี่หรือข้าวเหนียวนึ่งสุก ปั้นเป็นก้อนเท่าไข่เป็ดทาเกลือ นำไปเสียบไม้ย่างไฟ จากนั้นตีไข่ทา

ให้ทั่วแล้วย่างจนไข่สุกและถอดไม้เสียบออกนำน้ำตาลอ้อยยัดตรงกลางเป็นไส้ นำถวายพระสงฆ์ในช่วงที่หมดฤดูทำนาแล้ว เพื่อเป็นการทำบุญ

ปลายเดือนมีนาคม บุญผะเหวด (พระเสสันดร) งานบุญพระเวส หรืองานบุญมหาชาติ เช่นเดียวกับงานฟังเทศเวสสันดรชาดก อันเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ ชาวบ้านจะช่วยกันตกแต่งประดับประดาโรงธรรมด้วยดอกไม้ ของหอม ใช้ดอกบัวประดับธรรมมาสน์ มีการจัดรูปขบวนแห่พระเวส และนางมัทรีออกจากป่าเข้าในเมือง ไปสิ้นสุดที่พระอุโบสถ และมีการเทศน์มหาพระเวส ตลอดวัน
เมษายน ปีใหม่ลาว ບຸນປີໃໝ່ นับเป็นงานที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด และยังถือเป็นวันปีใหม่ของลาวเช่นเดียวกับของไทย - วันแรกของงานเรียกว่า “วันสงขารล่อง” ชาวหลวงพระบางจะไปจับจ่ายซื้อของ และธงรูปพระพุทธเจ้า เพื่อ ไปปักกองเจดีย์ทรายริมแม่น้ำโขงตกเย็นมีการลอยกระทงเสี่ยงของทำจากใบตอง บรรจุกล้วย ขิง ข้าวดำ ข้าวแดง

ดอกไม้ ใบพลู ธูป เทียน ดอกดาวเรือง ผมและเล็บของผู้ลอย และอธิษฐานให้ทุกข์โศกโรคภัยลอยไปกับกระทง - วันที่สอง เรียกว่า “วันเนา” ช่วงเช้ามีการแห่รูปหุ่นเชิด ปู่เยอย่าเยอ และสิงห์แก้ว สิงห์คำ ช่วงบ่ายขบวนแห่ซึ่ง นำโดยปู่เยอ ย่าเยอ ผู้เฒ่าผู้แก่ หัวหน้าหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ขบวนพระสงฆ์ นางสงกรานต์ (นางวอ) ขี่สัตว์ พาหนะบนรถแห่ ปู่เยอย่าเยอก็จะฟ้อนรำ อวยพรให้ลูกหลาน - วันที่สาม เรียกว่า “วันสังขารขึ้น” ชาวหลวงพระบางทำข้าวเหนียวนึ่งและนมลูกกวาด ลูกอม พากันเดินขึ้นภูษี ภูเขาสูงกลางเมืองหลวงพระบาง ระหว่างเดินจะวางข้าวเหนียว และขนมไว้ตามหัวเสาบันไดจนถึงองค์พระธาตุ วิธีการนี้เรียกว่าเป็นการตักบาตรภูษี มีการโยนข้าวและอัญเชิญศีรษะท้าวกบิลพรหมจากวัดเชียงทองไปยังวัดวิชุน มีการสรงน้ำพระที่วัดวิชุน - วันที่สี่ นับเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งมีการแห่พระบาง พระพุทธรูปคู่เมืองหลวงพระบาง ปีหนึ่งจะอันเชิญออกมาให้ ชาวเมืองสรงน้ำ พระบางนี้จะประดิษฐานอยู่ที่วัดใหม่เป็นเวลา 3วัน 3คืน จากนั้นจะอัญเชิญกลับ หอพิพิธภัณฑ์ เหมือนเดิม

กลางเดือนพฤษภาคม บุญบั้งไป ບຸນບັ້ງໄຟ คล้ายกับงานบุญบั้งไฟของภาคอีสาน จุดประสงค์เพื่อบูชาหลักเมือง และขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ปีใดที่ไม่

มีการทำบุญบั้งไฟ เชื่อว่าปีนั้นจะเกิดเภทภัยต่างๆ และเป็นสัญญาณว่าฤดูกาลทำนากำลังจะเริ่มต้นแล้ว นับเป็นงานที่กระทำกัน มาแต่โบราณ

ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 บุญวิสาขบูชา
กลางเดือนกรกฎาคม บุญเข้าพรรษา เป็นการเริ่มต้นฤดูเข้าพรรษาเหมือนชาวไทย พระสงฆ์จะหยุดออกบิณฑบาตเป็นเวลา 3 เดือน ตามพุทธบัญญัติ นับแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไป ในวันแรกนี้จะมีการทำบุญกันที่วัดต่างๆ
ปลายเดือนสิงหาคม ต้นเดือนกันยายน บุญข้าวประดับดิน บุญห่อข้าวประดับดิน เป็นการทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้กับวิญญาณบรรพบุรุษ และวิญญาณไร้ญาติให้ออกมารับส่วนบุญชาวบ้านจะนำอาหารคาว หวาน บุหรี่ หมาก พลู ใส่ลงในกรวยใบตองไปวางตามพื้นดินหรือใต้ต้นไม้บริเวณรั้วบ้าน รั้ววัด
กลางเดือนสิงหาคม ບຸນເຂົ້າສະຫຼາກ
กลางเดือนตุลาคม บุญออกพรรษา เป็นการตักบาตรเทโว มีการจัดอาหารไปถวายพระภิกษุ สามเณร มีการกวนข้าวทิพย์ (กระยาสารท) ถวาย มีการถวายผ้าจำพรรษาและปราสาทผึ้ง โดยนำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปปราสาท ตกแต่งสวยงามจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้งไปถวายพระในตอนค่ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ
ช่วงปลายฤดูร้อน ต้นฤดูใบไม้ร่วง การส่วงเฮือ ບຸນສວງເຮືອ การส่วงเฮือ

“ส่วง” หมายถึง “แข่งขัน” “เฮือ” หมายถึง “เรือ” เป็นงานบุญแข่งเรือประจำเดือนเก้า ทุกคุ้ม (หมู่บ้าน) จะนำเรือเข้าแข่งขัน ในอดีตการแข่งเรือถือเป็นการฝึกซ้อมฝีพายเพื่อ ต่อสู้ข้าศึกที่มาทางน้ำ ปัจจุบันนับเป็นงานบุญที่สนุกสนานงานหนึ่งของชาวหลวงพระบาง

ช่วงพระจันทร์เต็มดวงในต้นเดือนพฤษจิกายน งานพระธาตุหลวง ບຸນທາດຫລວງ
ปลายเดือนพฤษจิกายนต้นเดือนธันวาคม ปีใหม่ม้ง

อ้างอิง[แก้]