วัดไก่เตี้ย (จังหวัดสุพรรณบุรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดไก่เตี้ย
แผนที่
ที่ตั้งตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดไก่เตี้ย เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 35 ไร่ 3 งาน 7 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 28 ไร่ 60 ตารางวา

วัดไก่เตี้ย เดิมเคยเป็นวัดร้าง จนเมื่อ พ.ศ. 2428 จึงมีพระสงฆ์จากวัดเสาธงทอง เข้ามาอยู่จำพรรษาและฟื้นฟูวัด ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2495

อาคารเสนาสนะ[แก้]

อาคารเสนาสนะ ได้แก่ อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2491 ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511 เป็นอาคารไม้ หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2505 เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน 6 หลัง เป็นอาคารไม้ 5 หลัง และตึก 1 หลัง วิหาร 1 หลัง[1]

ภายในพื้นที่วัดเคยมีเจดีย์อยู่หลายองค์ แต่ถูกขุดรื้อทำลายโดยโจรขุดหาสมบัติในช่วงปรี พ.ศ. 2480–2520 จนปัจจุบันเหลือเพียง 10 องค์ เป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมศิลปะอยุธยาตอนต้น 4 องค์ ขนาดฐานกว้างด้านละ 4.20 เมตร สูงประมาณ 7.30 เมตร 2 องค์ และขนาดฐานกว้างด้านละ 8.20 เมตร สูงประมาณ 14.80 เมตร 2 องค์ จัดเป็นเจดีย์ขนาดเล็กและกลาง มีชุดฐานบัวแปดเหลี่ยมซ้อนกัน 3 ชั้น รองรับเรือนธาตุซึ่งมีซุ้มจรนำอยู่ 8 ซุ้ม (ด้าน) ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลาสลับกับปางถวายเนตร เหนือซุ้มเป็นชุดบัวหน้ากระดาน 2 ชั้น รองรับองค์ระฆังเรียวเล็ก ต่อด้วยยอดบัวกลุ่มไม่มีบัลลังก์คั่น ส่วนยอดหักหายไป พระพุทธรูปปูนปั้นที่ประดับในซุ้มจรนำ ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัย[2]

นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงลังกาวีอีก 3 องค์ ฐานกลมรอบ 22 เมตร สูง 17.50 เมตร ได้รับอิทธิพลจากสิลปะแบบลังกาผสมอู่ทอง ฐานมีลายสลักรูปไก่ขนาดเล็กโดยรอบ (สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อวัด) พร้อมรูปสลักลายเทวดาและยักษ์หน้ากาฬ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงระฆังหงาย 2 องค์ และทรงปรางค์ขอม 1 องค์ ซึ่งทั้ง 3 องค์อยู่ในสภาพทรุดโทรมยอดพังทลายลงมาทั้งหมด (สันนิษฐานว่าคงมีการทำลายเพื่อหาเถ้ากระดูกพระเกจิอาจารย์ที่ฝังอยู่ภายใน เนื่องจากเจดียืทรงนี้มักใช้บรรจุกระดูกพระภิกษุผู้ทรงศีลสมัยทราวดี) ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเจดียืทั้งหมดเป็นดบรารสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2468

ศ.เดวิด เดอเลกุวส์ นักโบราณคดี กล่าวว่า บริเวณนี้อาจเป็นที่ตั้งของวัดบรมมาดเตตุวสถาน ตามบันทึกของพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาค้าขายกับสุวรรณภูมิในสมัยทราวดี เนื่องจากอยู่ในบริเวณใกล้กับแม่น้ำตามที่มีการบันทึกไว้ และมีการค้นพบจารึกอักษรพรมสลักคำว่า เตตุ บนกำแพงเจดีย์ ซึ่งแปลความได้ว่า "สถานบรรทม"

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดไก่เตี้ย". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  2. "โบราณสถานวัดไก่เตี้ย". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.