วัดใหม่อัมพวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดใหม่อัมพวัน
แผนที่
ที่ตั้งถนนมุขมนตรี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท สังกัดมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูสันติธรรมประภัศร (สอบ ถิรปุญฺโญ)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดใหม่อัมพวัน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2431[1] เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่ถนนมุขมนตรี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

โดยชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมกันก่อสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น ในพื้นที่เดิมที่เป็นป่าช้า และมีลำปรุไหลผ่าน โดยนิมนต์พระป้อม มาจำพรรษาประมาณ ปี พ.ศ. 2431 ต่อมาได้มีการพัฒนาและได้รับขึ้นทะเบียนเป็นวัด มีนามว่า วัดใหม่อัมพวัน[2]

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538[1]

ลำดับเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบชื่อ[แก้]

ลำดับที่ เจ้าอาวาส[2] ปี
1 พระอธิการป้อม
2 พระอธิการพุธ
3 พระอธิการคำ
4 พระอธิการปลื้ม
5 พระอธิการโป๊ะ
6 พระอธิการสร้อย
7 พระอธิการเปลี่ยน
8 พระอธิการประหยัด
9 พระอธิการชั้น
10 พระอธิการสนิท
11 พระมหาบุญสืบ ปญฺญาธโร
12 พระครูสันติธรรมประภัศร (สอบ ถิรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

อาคารเสนาสนะ[แก้]

ประกอบด้วย

อุโบสถหลังเก่า เดิมสร้างด้วยไม้ เสาและหลังคาทำด้วยไม้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ โดยก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร เสา 12 ต้น มีบัวหัวเสา ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันไม่มีลวดลายประดับ หน้าต่าง 6 บาน ประตูด้านหน้า 2 ประตู ด้านหลัง 2 ประตู บันใดขึ้นด้านหน้า 2 ทาง ด้านหลัง 2 ทาง หลังคามุงด้วยกระเบื้องหน้าวัว นอกจากนั้นยังมีศิลปกรรมลวดลายปั้นปูนประดับกรอบประตู ผนังด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อพุธ รูปพญานาคและพรรณพฤกษาซุ้มหน้าต่าง ปั้นเป็นรูปพญาครุฑ
อุโบสถหลังใหม่ ขนาด 2 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2538 ศิลปกรรมประยุกต์ สมัยรัตนโกสินทร์ หลังคาทรงจัตุรมุข ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
ศาลาการเปรียญ
กุฏิสงฆ์
หอกลอง-ระฆัง
ศาลาบำเพ็ญกุศล และฌาปนสถาน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "วัดใหม่อัมพวัน". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  2. 2.0 2.1 "วัดใหม่อัมพวัน". สารสนเทศท้องถิ่นนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.