วัดโคก (จังหวัดเพชรบุรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดโคก
แผนที่
ที่ตั้งตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดโคก เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี มีที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 14 ไร่ 80 ตารางวา มีทีธรณีสงฆ์ จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 13 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา

วัดโคกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2170 คำว่าโคก คือทางด้านทิศตะวันออกของวัดมีแม่น้ำคลองกระแชงไหลผ่าน น้ำจะท่วมวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ แต่น้ำไม่ท่วมวัดโคก เพราะเป็นที่สูง ผู้สร้างจึงให้ชื่อว่า "วัดโคก" อุโบสถหลังเก่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา อุโบสถหลังนี้ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมมาหลายครั้งแล้ว จนกระทั่งในสมัยพระอธิการลำไย ปทีโป เป็นเจ้าอาวาส ได้ทำการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าและได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2518 โดยได้รับความอุปถัมภ์จากหลวงจบกระบวนยุทธ และคุณหญิงจงกล กิตติขจร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่ในบริเวณวัด[1]

อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถ กว้าง 8 เมตร ยาว 18 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 18 เมตร ยาว 30.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2542 เป็นอาคารทรงไทย 2 ชั้น หอสวดมนต์ กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร กุฏิสงฆ์ จำนวน 6 หลัง เป็นอาคารไม้ ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มี โรงครัว 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539 ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ ขนาดหน้าตักกว้าง 1.75 เมตร สูง 2 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2515 ผู้สร้างคือ คุณแม่ทวี ทัศพันธ์ พระยืนปางห้ามญาติ สูง 1.30 เมตร สมัยอยุธยาตอนปลาย จำนวน 2 องค์ นายเขลง นางยิ้ม ดีฉ่ำ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 พระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 10 นิ้ว สูง 19 นิ้ว นายเขลง นางยิ้ม ดีฉ่ำ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 และพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10 นิ้ว สูง 19 นิ้ว นายเขลง นางยิ้ม ดีฉ่ำ สร้างถวายเมื่อ พ.ศ. 2470[2]

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • พระตั้ว
  • พระทิม
  • พระเปี่ยม พ.ศ. 2487–2488
  • พระน้อย พ.ศ. 2489–2513
  • พระครูประทีปพัชรคุณ พ.ศ. 2514–2537
  • พระใบฎีกายิ่ง ธมมปาโล พ.ศ. 2538 –
  • พระครูวินัยธรสะพรั่ง สุธญาโณ พ.ศ 2564
  • พระมหาวรพต คัมพีรปัญโย พ.ศ 2564

อ้างอิง[แก้]

  1. "สภาพทางเศรษฐกิจ เทศบาลเมืองเพชรบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-13. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
  2. "วัดโคก". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.