วัดเขาแก้ว (จังหวัดนครสวรรค์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดเขาแก้ว
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเขาแก้ว
ที่ตั้งเลขที่ 1 หมู่ 4 ตำบลพยุหะคีรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 60130
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูนิวิฐมณีวงศ์ (สะอาด อาวุฑสีโล)
เวลาทำการ07.00 -18.00 น.
จุดสนใจรอยพระพุทธบาทจำลองบนมณฑป
กิจกรรมปฏิบัติธรรม บริเวณวิปัสสนสถาน
การถ่ายภาพอนุญาตให้ถ่ายภาพได้
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดเขาแก้ว เป็นวัดประจำตำบลพยุหะคีรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่บริเวณวัดติดกับเขาแก้ว และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพยุหะวิทยา (วัดเขาแก้ว)

ประวัติ[แก้]

สันนิษฐานว่า วัดเขาแก้วนั้น ตั้งมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 1900 สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ได้ชื่อวัดเขาแก้วเพราะ บริเวณที่ตั้งของวัดแห่งนี้ ด้านหลังติดเขา ซึ่งสภาพหินจะมีลักษณะเหลี่ยมใส คล้ายแก้ว จึงเรียกนามว่า เขาแก้ว และเรียกวัดแห่งนี้ว่า วัดเขาแก้ว อนึ่ง มีตำนานเล่าต่อๆ กันมาว่า บนเขาแก้วมีถ้ำ ภายในถ้ำมีวัวหัวแด่นตัวใหญ่ ยืนเฝ้าสมบัติอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกว่าบ้าน วัวหน้าแด่น ภายหลังก็เพี้ยนมาจนเป็น บ้านหัวแด่น ภายในวัดมีวัตถุโบราณหลายชิ้น และศาสนสถานโบราณอยู่หลายแห่ง อายุก็คาดว่าอยู่สมัยราวๆ กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี[1]

ปัจจุบัน ได้รับการรับรองเป็นโบราณสถานของจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 [2]

ความสำคัญ[แก้]

สามหลวงพ่อหินหยก
วิหารที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ณ มณฑปวัดเขาแก้ว


คณะสังฆาธิการ[แก้]

  • พระครูนิวิฐมณีวงศ์ (สะอาด อาวุฑสีโล) ตำแหน่งเจ้าอาวาส,อดีตเจ้าคณะตำบลท่าน้ำอ้อย[3] [4]
  • พระครูนิเทศเขมรัตน์ (เกรียงไกร เขมะปญฺโญ) ตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลเขากะลา[5]
  • พระแปลก รัตนวัณโณ ตำแหน่งรองเจ้าอาวาส
  • พระ ก้าน สิรินธโร ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส
  • พระ มงคล เขมปุญโญ ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส และเจ้าสำนักวิปัสสนา
  • พระครูวินัยธร เจษฎา ยัสวัณโณ ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส
  • พระสมบูรณ์ ปัญญาวชิโร ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส

อดีตพระสังฆาธิการ[แก้]


โบราณสถานที่สำคัญ[แก้]

  • ซากโบสถ์เก่าด้านเหนือของวัด
  • ซากวิหารเก่าบนยอดเขา
  • เจดีย์ยอดนพศูลและพระปรางค์ 5 ยอด สมัยสุโขทัย
  • โบสถ์เก่าหลังที่สอง สมัยพระนารายณ์มหาราช (จากเงินพดด้วงที่มีตราประจำรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)

ประเพณีที่สำคัญ[แก้]

  • ประเพณีงานวัดเขาเพ็ญเดือน 3
  • ประเพณีสรงน้ำพระวันสงกรานต์
  • ประเพณีสวดมนต์ข้ามปีวันสิ้นปี

แหล่งศูนย์รวมศรัทธาประชาชน[แก้]

  • วิหารบูรพาจารย์สามหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์
  • รอยพระพุทธบาทจำลอง บนมณฑป
  • สามหลวงพ่อหินหยกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ลำดับเจ้าอาวาส[8][แก้]

ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ รวมเวลา
1 หลวงพ่อคูหา พ.ศ. 2254 พ.ศ. 2275 21 ปี
2 หลวงพ่อเฒ่าไท พ.ศ. 2275 พ.ศ. 2305 30 ปี
3 หลวงพ่อโพ พ.ศ. 2305 พ.ศ. 2350 45 ปี
4 หลวงพ่อขำ พ.ศ. 2350 พ.ศ. 2393 43 ปี
5 พระครูนิวาศธรรมขันธ์ ( หลวงพ่อเดิม ) พ.ศ. 2393 พ.ศ. 2438 45 ปี
6 พระอาจารย์ไผ่ พ.ศ. 2438 พ.ศ. 2448 10 ปี
7 พระอาจารย์แก้ว พ.ศ. 2448 พ.ศ. 2457 9 ปี
8 พระสมุห์แดง พ.ศ. 2457 พ.ศ. 2467 10 ปี
9 พระธรรมไตรโลกาจารย์ ( ยอด อํกวํโส )[7] พ.ศ. 2467 พ.ศ. 2489 22 ปี
10 พระครูนิสิตคุณากร(กัน คงฺครตโน) พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2513 24 ปี
11 พระครูนิยุตต์ธรรมกิจ (บุญธรรม ธมฺมปฺปสาโท) พ.ศ. 2513 พ.ศ. 2523 10 ปี
12 พระครูนิทัศนพลธรรม (ต่อ พลธมฺโม) พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2563 40 ปี
13 พระเทพปริยัติเมธี (สฤษดิ์ สิริธโร ป.ธ.๙ ,รศ.ดร.) (รักษาการชั่วคราว) 15 มกราคม พ.ศ. 2563 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 22 วัน
14 พระราชรัตนเวที (ประเสริฐ โชติธมฺโม ป.ธ.๗ ,ดร.) (รักษาการชั่วคราว) 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 มีนาคม พ.ศ. 2565 2 ปี
15 พระครูนิภาธรรมวงศ์ (ประเทือง อริยวํโส) (รักษาการชั่วคราว) มีนาคม พ.ศ. 2565 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 8 เดือน
16 พระครูนิวิฐมณีวงศ์ (สะอาด อาวุฑสีโล) (รักษาการเจ้าอาวาส) 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 6 เดือน
17 พระครูนิวิฐมณีวงศ์ (สะอาด อาวุฑสีโล) 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. อุดมมงคลมุทิตาจิตสักการะ บูชาปูชนียาจารย์ ๗๒ ปี , หน้า 107
  2. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D149S0000000004600.pdf ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รายชื่อโบราณสถานในเขตจังหวัดนครสวรรค์
  3. https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=1185
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-09. สืบค้นเมื่อ 2018-05-29.
  5. https://sangkhatikan.com/Primate.php?P=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%844&PR=%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C
  6. https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=14386
  7. อำเภอพยุหะคีรี
  8. อุดมมงคลมุทิตาจิตสักการะ บูชาปูชนียาจารย์ ๗๒ ปี , หน้า 107 - หน้า 111

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]