วัดอาษาสงคราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดอาษาสงคราม
เจดีย์มอญวัดอาษาสงคราม
แผนที่
ชื่อสามัญวัดอาษาสงคราม
ที่ตั้งเลขที่ 346/1 ถนนทรงธรรม ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายธรรมยุติกนิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดอาษาสงคราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ในตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ[1] มีชื่อเดิมว่า เภี่ยงเกริงสละ เป็นภาษามอญ แปลว่า "วัดคลองจาก"[2]

วัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2363 สมิงอาสาสงครามหลังรบชนะข้าศึกได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัดเป็นการล้างบาปและตั้งนามวัดตามราชทินนาม วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496[3]

วัดมีเนื้อที่ 12 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์ เนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 77 ตารางวา มีอาคารเสนาสนะดังนี้ อุโบสถกว้าง 14.50 เมตร ยาว 24.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 กุฎีสงฆ์ 11 หลัง เป็นอาคารไม้และครึ่งตึกครึ่งไม้ หอสวดมนต์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2513 ศาลาการเปรียญ สร้าง พ.ศ. 2522 มีเจดีย์ 1 องค์ เป็นเจดีย์ทรงมอญ ภายในบรรจุเครื่องราชอิสริยาภรณ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของผู้สร้างวัดหลังนี้ด้วย[4] มีเสาร์หงษ์ตามแบบวัดมอญ

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  1. พระมหาขัน บาลีรามัญ
  2. พระอธิการกินรี เป็นหมอยาโบราณ
  3. พระมหาทอง บาลีรามัญ
  4. พระอธิการต้าน เป็นธรรมกถึกภาษารามัญ
  5. พระอธิการอัย เกจิอาจารย์ดัง
  6. พระครูอาทรธรรมกิจ (พร้อม อุชุโก ป.ธ.4) พ.ศ. 2484–2507
  7. พระครูสังฆวุฒาจารย์ (เย่อ โฆสโก) พ.ศ. 2508–2524
  8. พระเทพกิตติเมธี (โนรี ธีโร ป.ธ.5) พ.ศ. 2525–2562
  9. พระเมธีธรรมสาร (สมพร จิตฺตโสภโณ ป.ธ.7) 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระอารามหลวงในจังหวัดสมุทรปราการ".
  2. "ประวัติวัดอาษาสงคราม".[ลิงก์เสีย]
  3. "ประวัติวัด". หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ.
  4. มนต์ฤดี วัชรประทีป, ที่ระลึกงาน ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ. (กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2549) หน้า 139