วัดพันธุวงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพันธุวงษ์
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 39 หมู่ที่ 1 ทางหลวงชนบท สค.4016 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อแดง
เจ้าอาวาสพระครูโสภณสาครกิจ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพันธุวงษ์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 บ้านพันธุวงษ์ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 37 ไร่ 3 งาน ทิศตะวันตกของวัดติดกับแม่น้ำท่าจีน

ประวัติ[แก้]

วัดพันธุวงษ์ประกาศเป็นวัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2437 สร้างและบูรณะขึ้นใหม่โดยบุญมาก สู่ภิภักดิ์ กำนันตำบลบ้านเกาะในสมัยนั้น พร้อมด้วยญาติพี่น้องและประชาชนในตำบลบ้านเกาะ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2535 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 30 เมตร ยาว 50 เมตร และอัญเชิญพระมหาเกิด โสภโณ จากวัดปรมัยยิกาวาส จังหวัดนนทบุรี มาจำพรรษาที่วัดนี้[1] ด้านการศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2500

อาคารเสนาสนะ[แก้]

อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง 12 เมตร ยาว 28 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2532 ประตูหน้าต่างทำด้วยไม้แกะสลักปิดทอง ภายในประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 70 นิ้ว สูง 109 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 1274 นามว่า หลวงพ่อแดง มีเจดีย์ 2 องค์ อุโบสถหลังเก่า ซึ่งปัจจุบันทำเป็นวิหาร สร้างสมัยใดหาหลักฐานไม่ได้ หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องซีเมนต์ หางแหลม ลดชั้น 2 ชั้น ซ้อนกันชั้นละ 2 ตับ เครื่องลำยองไม้แกะสลักประดับกระจกสี หน้าบันลายก้นขด ตรงกลางเป็นลายประจำยาม[2] ศาลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 28 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2522 เป็นอาคารทรงไทย 2 ชั้น หอสวดมนต์ กว้าง 11 เมตร ยาว 38 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2543 เป็นอาคารไม้ทรงไทย มุงกระเบื้องเคลือบ กุฏิสงฆ์ จำนวน 8 หลัง เป็นอาคารไม้ ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 9 เมตร ยาว 23.40 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2541 และศาลาบำเพ็ญกุศล นอกจากนี้ยังมีศาลาพักร้อน 1 หลัง[3]

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • พระมหาเกิด โสภโณ พ.ศ. 2437–2439
  • พระสุนทร พ.ศ. 2493–2500
  • พระปรีชา กตสาโร พ.ศ. 2500–2520
  • พระครูโสภณสาครกิจ พ.ศ. 2521–ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดพันธุวงษ์".
  2. "อุโบสถวัดพันธุวงษ์". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  3. "วัดพันธุวงษ์". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.