วัดพระพุทธไสยาสน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระพุทธไสยาสน์
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระพุทธไสยาสน์, วัดพระนอน
ที่ตั้งตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธไสยาสน์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระพุทธไสยาสน์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

วัดพระพุทธไสยาสน์ สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ข้อมูลกรมการศาสนาระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2200 มีพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 43 เมตร ซึ่งมีประวัติว่าเดิมสร้างไว้กลางแจ้ง

วัดแห่งนี้ได้ถูกปล่อยทิ้งจนกลายเป็นวัดร้างจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเห็นองค์พระนอนที่ทรุดโทรมมากจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลังคาสังกะสีคลุมไว้ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสร้างหลังคากระเบื้องคลุมองค์พระนอนไว้และกลายเป็นวิหารพระพุทธไสยาสน์ดังที่เห็นในปัจจุบัน[1] ในการบูรณะองค์พระนอนเมื่อ พ.ศ. 2540 พบอุโมงค์ภายในองค์พระ มีโบราณวัตถุอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปทำจากวัสดุตาง ๆ ได้แก่ สำริด ดินเผา ปูนปั้น หินทราย และไม้บุเงิน ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย[2]

จุดเด่นของพระนอนองค์นี้ที่แตกต่างจากที่อื่นกล่าวคือ ที่เศียรขององค์พระมีหมอนบรรทมรูปดอกบัวรองพระเศียรอยู่สองก้อน องค์พระพุทธรูปนอนประทับในอิริยาบถตะแคงขวา พระเศียรหันไปทางทิศตะวันตก[3] เป็นพระนอนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในประเทศไทย[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน)". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).
  2. "โบราณสถาน วัดพระพุทธไสยาสน์(วัดพระนอน)". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  3. "พระพุทธไสยาสน์วัดพระพุทธไสยาสน์ : คอลัมน์คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม". ข่าวสด.
  4. "วัดพระพุทธไสยาสน์, เพชรบุรี". เอ็มไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-06. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.