วงศ์งูงวงช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์งูงวงช้าง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: กลางยุคไมโอซีน-ปัจจุบัน[1]
งูงวงช้าง (Acrochordus javanicus) ซึ่งเป็นชนิดต้นแบบของวงศ์นี้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
อันดับฐาน: Alethinophidia
วงศ์: Acrochordidae
Bonaparte, 1831
สกุล: Acrochordus
Hornstedt, 1787
ชื่อพ้อง
  • Acrochordina - Bonaparte, 1831
  • Acrochordidae - Bonaparte, 1840
  • Acrochorniens - A.M.C. Duméril, 1853
  • Acrochordidae - Jan, 1863
  • Acrochordinae - Boulenger, 1893
  • Acrochordoidae - McDowell, 1975
  • Acrochordini - Dowling & Duellman, 1978[2]

  • Acrochordus - Hornstedt, 1787
  • Chersydrus - Cuvier, 1817
  • Chersidrus - Oken, 1817
  • Acrochordus - Gray, 1825
  • Chersydreas - Gray, 1825
  • Chershydrus - Bonaparte, 1831
  • Verrucator - Schlegel, 1837
  • Chersydraeas - Gray, 1849
  • Potamophis - Schmidt, 1852
  • Chersydraeus - Duméril, Bibron & Duméril, 1854
  • Acrochordus - Boulenger, 1893[2]

วงศ์งูงวงช้าง (อังกฤษ: File snakes, Elephant trunk snakes, Dogface snakes) เป็นวงศ์ของงูที่ไม่มีพิษวงศ์หนึ่ง ที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Acrochordidae

มีรูปร่างโดยรวม คือ มีหัวเล็กแต่มีลำตัวขนาดใหญ่ ผิวหนังไม่ยิดติดกับกล้ามเนื้อลำตัวและพับเป็นรอยย่นมาก เกล็ดตามลำตัวเป็นตุ่มนูนและเรียงตัวต่อเนื่องกัน โดยมีตุ่มหนามเจริญขึ้นมาจากผิวหนังลำตัวระหว่างเกล็ด เป็นงูที่อาศัยและหากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีส่วนหางที่แบนเพื่อใช้ในการว่ายน้ำ ไม่มีแผ่นปิดช่องจมูกภายนอกแต่ในอุ้งปากมีแผ่นเนื้อเพื่อใช้ปิดโพรงจมูกด้านใน หากินปลาเป็นอาหารหลัก ด้วยการใช้ลำตัวส่วนท้ายที่เป็นตุ่มหนามยึดและรัดไว้ รอให้ปลาเข้ามาใกล้ เมื่อปลาสัมผัสกับผิวหนังลำตัวจะโบกรอยพับที่ย่นของลำตัวนั้นไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักตัวปลาไปข้างหน้าแล้วใช้ปากงับไว้อย่างรวดเร็ว

เป็นงูที่มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 80-100 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงหมู่เกาะฟิลิปปินและออสเตรเลีย มีทั้งหมดเพียง 3 ชนิด และสกุลเดียวเท่านั้นคือ Acrochordus ทุกชนิดออกลูกเป็นตัว โดยในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ งูงวงช้าง (A. javanicus) และงูผ้าขี้ริ้ว (A. granulatus) [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera (Reptilia entry)". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-02. สืบค้นเมื่อ 2007-12-25.
  2. 2.0 2.1 McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, vol. 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  3. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 409 (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Acrochordus ที่วิกิสปีชีส์