วงบัวลอย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วงบัวลอย เป็นชื่อของการบรรเลงดนตรีอีกลักษณะหนึ่ง ประกอบด้วยปี่ชวา กลองมลายู และฆ้องเหม่ง เล่นในงานอวมงคล

แต่เดิมนั้นวงบัวลอยประกอบด้วยปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 2 คู่และฆ้องเหม่ง ภายหลังใช้กลองมลายูเพียง 1 คู่เท่านั้น[1]

การใช้บรรเลง[แก้]

วงบัวลอยจะบรรเลงในสามโอกาสดังนี้

  1. การประโคมย่ำยาม เป็นการประโคมหลังจากพระสวดพระอภิธรรมเสร็จแล้ว และบรรเลงเป็นระยะด้วย โดยจะประโคมทั้งหมดสี่ยามด้วยกันได้แก่ยามหนึ่ง(สามทุ่ม) ยามสอง(เที่ยงคืน) ยามสาม(ตีสาม)และย่ำรุ่ง(รุ่งเช้า) และการประโคมแต่ละครั้งจะเริ่มต้นด้วยเพลงบัวลอย นางหน่าย กระดี้รี นางหงส์ หกคะเมน ไต่ลวด หลังจากนั้นอาจจะเล่นเพลงอื่นๆก็ได้
  2. การประชุมเพลิง จะบรรเลงในตอนที่ประธานทำพิธีประชุมเพลิง โดยเพลงใช้คือ รัวสามลา บัวลอย นางหน่าย รัวคั่น ไฟชุม เพลงเร็ว รัวคั่นและออกเพลงนางหงส์เป็นเพลงสุดท้าย[2]
  3. เผาจริง จะใช้เพลงทุบมะพร้าว แร้งกระพือปีก กาจับฝาโลง ชักฟืนสามดุ้นและไฟชุม

ความเชื่อ[แก้]

เนื่องจากวงบัวลอยเป็นเพลงที่ใช้ในงานอวมงคลโดยเฉพาะ เพลงบัวลอยมักจะเรียนกันในเขตวัดและไม่ให้เล่นพร่ำเพรื่อ ทำให้วงบัวลอยเป็นวงที่สืบทอดกันในวงแคบ[3]

การประสมกับวงปี่พาทย์[แก้]

ดูที่วงปี่พาทย์นางหงส์

อ้างอิง[แก้]

  1. เก็บตกงานพระเมรุ...วงปี่พาทย์และวงบัวลอย[ลิงก์เสีย]
  2. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ครูพริ้ง กาญจนผลิน ต.ม.
  3. "ลักษณะเด่นของ"วงบัวลอย"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-20. สืบค้นเมื่อ 2010-09-05.