ลาลบาฆ

พิกัด: 12°57′N 77°35′E / 12.95°N 77.59°E / 12.95; 77.59
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลาลบาฆ
Lalbagh
สวนพกษศาสตร์
บ้านกระจกแห่งลาลบาฆ
บ้านกระจกแห่งลาลบาฆ
ลาลบาฆ Lalbaghตั้งอยู่ในบังคาลอร์
ลาลบาฆ Lalbagh
ลาลบาฆ
Lalbagh
ที่ตั้งในเบงคลูรู
พิกัด: 12°57′N 77°35′E / 12.95°N 77.59°E / 12.95; 77.59
ประเทศอินเดีย
รัฐกรณาฏกะ
เขตนครเบงคลูรู (Bengaluru Urban)
ผู้ก่อตั้งไฮเดอร์ อาลี (Hyder Ali)
พื้นที่
 • ทั้งหมด0.971246 ตร.กม. (0.375000 ตร.ไมล์)

สวนพฤกษศาสตร์ลาลบาฆ (อังกฤษ: Lalbagh Botanical Gardens) หรือ ลาลบาฆ (Lalbagh) เป็นสวนพฤกษศาสตร์เก่าแก่ในเบงคลูรู ประเทศอินเดีย เริ่มวางแผนสร้างในยุคของไฮเดอร์ อาลี (Hyder Ali) และต่อมาบุตรของเขา ติปูสุลต่าน (Tipu Sultan) ก็ได้นำพันธุ์พืชแปลก ๆ มาเพิ่มเติมในสวน ต่อมาสวนนี้ถูกนำมาอยู่ภายใต้การบริหารของผู้ดูแลชาวบริเตน (British Superintendents) หลายคนจนกระทั่งอินเดียได้รับเอกราช นอกจากสวนนี้จะมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลพันธุ์พืชต่าง ๆ และมูลค่าของพันธุ์พืชแล้ว ยังเป็นสวนและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ด้วยบ้านกระจก (glass house) จากทศวรรษ 1890s ที่ใช้จัดแสดงดอกไม้ต่าง ๆ ในปัจจุบันสวนลาลบาฆจัดการแสดงดอกไม้สองครั้ง คือในช่วงวันสาธารณรัฐ (26 มกราคม) และวันเอกราช (15 สิงหาคม)

ประวัติ[แก้]

ไฮเดอร์ อาลี (Hyder Ali) ได้วางแผนการก่อสร้างสวนนี้เมื่อปี 1760 แต่เป็นบุตรของเขา ติปูสุลต่าน (Tipu Sultan) ที่เป็นผู้ก่อสร้างจนสำเร็จ คำว่า บาฆ (Bagh) เป็นภาษาฮินดูสถานแปลว่า สวน (garden) ส่วนที่มาของคำว่า ลาล (Lal) นั้นเป็นที่ถกเถียง อาจหมายถึงสีแดง หรือ เป็นที่รัก ("beloved") ไฮเดอร์ อาลี ตัดสินใจว่าจะสร้างสวนนี้ขึ้นเพื่อเทียบเท่ากับสวนโมกุล (Mughal Gardens) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในยุคนั้น หลังการก่อสร้างเสร็จในสมัยของติปู สวนได้อยู่ภายใต้การบริหารของโมฮัมเม็ด อาลี (Mohammed Ali) และบุตร อับดุล เกเดอร์ (Abdul Khader) สวนแห่งนี้ได้แบบอย่างมาจากหมู่สวนโมกุลซึ่งเคยตั้งอยู่ที่เมือง Sira ห่างออกไป 120 กิโลเมตรจากเบงคลูรู[1]

ลาลบาฆนั้นก่อสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเป็นที่ตั้งของนาฬิกาสวน (lawn-clock) เรือนแรกในประเทศอินเดีย และยังเป็นที่เก็บรวมรวมพืชหายากที่ใหญ่ที่สุดของอนุทวีปอินเดียอีกด้วย[2]

สมุดภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Benjamin Rice, Lewis (1897). Mysore: A Gazetteer Compiled for the Government, Volume I, Mysore In General, 1897a. Westminster: Archibald Constable and Company. p. 834.
  2. "History of Lalbagh Botanical Garden". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]