รถยานเกราะป้องกันทุ่นระเบิดมหินทรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอ็มพีวี-I
ชนิดรถลำเลียงพลหุ้มเกราะประเภทเอ็มแรป
แหล่งกำเนิดอินเดีย
บทบาท
ประจำการค.ศ. 2010 – ปัจจุบัน
ประวัติการผลิต
บริษัทผู้ผลิตดีเฟนส์แลนด์ซิสเต็มส์อินเดียลิมิเต็ด
ข้อมูลจำเพาะ
ผู้โดยสาร18 นาย

เกราะตัวถังรูปตัววีเหล็กกล้ามอโนค็อก
อาวุธหลัก
ไม่มี
เครื่องยนต์ดีเซล
230 แรงม้า

รถยานเกราะป้องกันทุ่นระเบิดมหินทรา-I (อังกฤษ: Mahindra Mine Protected Vehicle-I; อักษรย่อ: MPV-I) เป็นรถลำเลียงพลหุ้มเกราะประเภทเอ็มแรปสัญชาติอินเดียที่ผลิตโดยดีเฟนส์แลนด์ซิสเต็มส์ ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าระหว่างมหินทราแอนด์มหินทราลิมิเต็ด และบีเออี ซิสเต็มส์ นับเป็นยานพาหนะคันแรกที่ได้รับการผลิตภายใต้การร่วมทุน[1] โดยเป็นรุ่นของแคสเปอร์ที่ได้รับการปรับปรุงซึ่งสร้างขึ้นภายใต้สัญญาอนุญาต[2]

การออกแบบ[แก้]

รถยานเกราะป้องกันทุ่นระเบิดนี้ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 2010 ด้วยการออกแบบที่มุ่งปกป้องกองกำลังความมั่นคงของอินเดียที่ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย และต่อต้านนักซาไลต์ในพื้นที่ป่าทึบและเนินเขาของอินเดีย[3] ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล 230 แรงม้าที่ทนทาน จับคู่กับเกียร์ขับเคลื่อนหกล้อ[4]

รถยานเกราะป้องกันทุ่นระเบิดดังกล่าวมีเกราะป้องกันต่อลูกเรือและผู้โดยสารจากภัยคุกคามเชิงวิถีศาสตร์และทุ่นระเบิด โดยใช้ตัวถังรูปตัววีเหล็กกล้าและโครงสร้างแบบมอโนค็อกเพื่อบังคับแรงระเบิดออกจากผู้โดยสารใต้โครงรถบรรทุกยูรัล[4] มันได้รับการทดสอบเพื่อป้องกันกระสุน 7.62×51 มม. นาโต, 7.62×39 มม. ของโซเวียต และ 5.56×45 มม. นาโต จากระยะ 10 ม.[4] รวมถึงสามารถทนต่อการระเบิดที่สมมูลทีเอ็นที 21 กก. ได้โดยตรงภายใต้ล้อใด ๆ และ 14 กก. ของการระเบิดที่สมมูลทีเอ็นทีโดยตรงภายใต้ห้องลูกเรือ[5]

มันสามารถลำเลียงกำลังพลรักษาความมั่นคงและกำลังกึ่งทหารได้ถึง 18 นายพร้อมอุปกรณ์ครบครันรวมไปถึงลูกเรือ[5]

รถยานเกราะป้องกันทุ่นระเบิดนี้สามารถติดอาวุธด้วยสถานีอาวุธควบคุมระยะไกลเพื่อวัตถุประสงค์ด้านอาวุธพื้นฐาน[6]

ผู้ใช้งาน[แก้]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011 รถยนต์ซีรีส์การผลิตชุดแรกได้รับการส่งสู่ตำรวจรัฐฌารขัณฑ์[7][8]

ส่วนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 กองกำลังตำรวจสำรองกลางรายงานว่าได้ลดการใช้รถยานเกราะป้องกันทุ่นระเบิดในปฏิบัติการปะทะกับนักซาไลต์ เนื่องจากระเบิดแสวงเครื่องบางตัวมีน้ำหนักมากถึง 80 กก. ซึ่งสูงกว่าขีดจำกัด 21 กก. ที่ยานพาหนะได้รับการออกแบบมาให้ทนต่อระเบิดแสวงเครื่อง[9][10] และไม่ปกป้องจากทุ่นระเบิดต่อต้านรถถัง[11] โดยพวกเขาใช้เฉพาะในบทบาทที่จำกัด เช่น การอพยพผู้บาดเจ็บ[12]

ในช่วงต้น ค.ศ. 2015 กองทัพบกพม่าได้รับเอ็มพีวี-1 จำนวน 10 คันจากประเทศอินเดีย และเอ็มแรปอทิตยา 10 คัน ด้วยความช่วยเหลือจากอินเดียใน ค.ศ. 2006 สำหรับใช้ปกป้องจากกบฏอัสสัมของอินเดียที่ปฏิบัติการจากประเทศพม่า

อ้างอิง[แก้]

  1. "A Success Story - SP's Land Forces".[ลิงก์เสีย]
  2. Camp, Steve; Helmoed-Römer, Heitman (November 2014). Surviving the Ride: A pictorial history of South African Manufactured Mine-Protected vehicles. Pinetown: 30 Degrees South. p. 240. ISBN 978-1928211-17-4.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-03.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Mahindra Defence Systems MPV-I : First Drive".
  5. 5.0 5.1 "Mine Protected Vehicle displayed". 15 February 2010.
  6. "MPVI Mahindra Defence 4x4 wheeled mine protected vehicle | India Indian army wheeled armoured vehicle UK | India Indian army military equipment vehicle UK".
  7. "Mahindra anti-mine vehicles for Naxal ops". Business Standard. 2011-08-26. สืบค้นเมื่อ 2011-09-04.
  8. "Mine-resistant Ambush Protected Vehicles - SP's Land Forces".[ลิงก์เสีย]
  9. "Security forces asked to shun armoured vehicles in Naxal areas | India News - Times of India".
  10. "Anti-mine vehicles reduced to 'coffin on wheels'". 11 October 2011.
  11. Camp & Heitman, p. 239
  12. "CRPF shifts MPVS from Naxal grid to Kashmir for better convoy security". The Economic Times. 13 July 2018.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Surviving the Ride: A Pictorial History of South African-Manufactured Mine-Protected Vehicles by Steve Camp & Helmoed Römer Heitman.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]