มือปืนกราดยิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผลการศึกษาของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า ผลจากการโจมตีของมือปืนกราดยิงนั้น แตกต่างกันไปตามปฏิกิริยาของผู้ก่อเหตุ ซึ่งผู้ถูกโจมตีประกอบไปด้วย ตำรวจ (42% ของเหตุการณ์ทั้งหมด) และกลุ่มคนมุง (ซึ่งรวมไปถึง "คนดีที่มีปืน" คิดเป็นใน 5.1% ในเหตุการณ์ทั้งหมด)[1]

มือปืนกราดยิง (อังกฤษ: Active Shooter) เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่ที่กำลังก่อเหตุอยู่ ซึ่งคำนี้ใช้สำหรับอธิบายลักษณะเฉพาะของมือปืนที่มุ่งเป้าไปที่เหยื่อโดยไม่เลือกเป้าหมายและไม่จำกัดขอบเขตซึ่งหลายครั้งมีจุดประสงค์ที่ต้องการจะฆ่าตัวตายหรือต้องการฆ่าตัวตายโดยตั้งใจให้ตำรวจสังหาร โดยทั่วไปแล้ว ผู้ก่อเหตุที่กระทำความผิดในคดีฆาตกรรมหมู่ที่ยังก่อเหตุอยู่ อาจเรียกอีกอย่างว่า นักฆ่าที่ยังก่อเหตุอยู่ (Active killer)

สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (เอฟบีไอ) ให้คำจำกัดความของมือปืนกราดยิงว่า "บุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปที่มีส่วนร่วมในการฆ่าหรือพยามฆ่าผู้อื่นในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น" โดยไม่นับรวมการป้องกันตนเอง เหตุรุนแรงที่เกิดจากแก๊งค์หรือขบวนการค้ายาเสพติด การเสียชีวิตจากลูกหลง และความขัดแย้งภายในครอบครัว โดยกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ ได้ให้คำจำกัดความของมือปืนกราดยิงว่า "บุคคลที่มีส่วนร่วมในการฆ่าหรือพยายามฆ่าผู้อื่นในพื้นที่ที่จำกัดและมีประชากรหนาแน่น ซึ่งในกรณีที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มือปืนกราดยิงจะใช้อาวุธปืนและไม่มีรูปแบบหรือวิธีการในการเลือกเหยื่อ"

เหตุการณ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสถานที่ที่ฆาตกรคิดว่าตนเองได้เปรียบในการก่อเหตุโดยไร้แรงกดดัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นเป้าหมายอ่อน (soft targets) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มาตรการรักษาความปลอดภัยในการปกป้องความปลอดภัยสาธารณะอาจไม่ครอบคลุมถึง ในกรณีส่วนใหญ่ มือปืนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็ถูกตำรวจยิง หรือยอมจำนนเมื่อไม่เหลือทางเลือกอื่นนอกจากต้องปะทะกับหน่วยบังคับใช้กฎหมาย และเหตุการณ์มือปืนกราดยิงมักจะจบลงภายในระยะเวลา 10 ถึง 15 นาที[2] "ตามสถิติของกรมตำรวจนิวยอร์ก (NYPD) ร้อยละ 46 ของมือปืนกราดยิงที่ก่อเหตุจะยุติลงด้วยการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยรักษาความปลอดภัย ร้อยละ 40 ยุติลงด้วยการฆ่าตัวตายของมือปืน ร้อยละ 14 มือปืนยอมมอบตัว และน้อยกว่า 1 จบลงด้วยการหลบหนีของผู้ก่อเหตุ"[3]

คำศัพท์เฉพาะทาง[แก้]

สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) ได้ให้คำจำกัดความของมือปืนกราดยิงว่า "บุคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปที่มีส่วนร่วมในการฆ่าหรือพยามฆ่าผู้อื่นในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น" โดยไม่นับรวมการป้องกันตนเอง เหตุรุนแรงที่เกิดจากแก๊งค์หรือขบวนการค้ายาเสพติด การเสียชีวิตจากลูกหลง และความขัดแย้งภายในครอบครัว

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ ได้ให้คำจำกัดความของมือปืนกราดยิงว่า "บุคคลที่มีส่วนร่วมในการฆ่าหรือพยายามฆ่าผู้อื่นในพื้นที่ที่จำกัดและมีประชากรหนาแน่น ซึ่งในกรณีที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มือปืนกราดยิงจะใช้อาวุธปืนและไม่มีรูปแบบหรือวิธีการในการเลือกเหยื่อ"[2]

นักวิชาการบางคนวิพากษ์วิจารณ์คำศัพท์เฉพาะทางว่า "active shooter" ว่ามีการใช้อาวุธแทงหมู่จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเช่นกัน เช่น ในเบลเยี่ยม (การโจมตีในสถานรับเลี้ยงเด็กเดนเดอร์มอนด์ มีผู้ใหญ่เสียชีวิต 1 ราย และทารก 2 ราย) ในแคนาดา (ทางแทงกันที่คาลการีในปี พ.ศ. 2557) ในจีน (การแทงกันในปักกิง พ.ศ. 2551 ผู้ใหญ่เสียชีวิต 1 ราย) ในญี่ปุ่น (การสังหารหมู่ที่โรงเรียนโอซากาและเหตุแทงคนในซางามิฮาระ มีเด็กเสียชีวิต 8 ราย และผู้ใหญ่เสียชีวิตขณะนอนหลับ 19 ราย) และที่เพนซีเวเนีย (โรงเรียนมัธยมภูมิภาคแฟรงคลิน ไม่มีผู้เสียชีวิต) รอน บอร์ช แนะนำว่า การสังหารหมู่อย่างรวดเร็วนั้น เนื่องจากการโจมตีด้วยทั้งอาวุธปืนและไม่ใช่อาวุธเปิดเกิดเพิ่มมากยิ่งขึ้นทั่วโลก รวมถึงการใช้การโจมตีด้วยยานพาหนะ วัตถุระเบิด อุปกรณ์ในการก่อความไม่สงบ การแทง การฟัน และการโจมตีด้วยสารที่เป็นกรด ซึ่ง เทา เบราน์ และ หน่วยงานป้องกันความรุนแรง (Violence Prevention Agency: VPA) ได้สนับสนุนการใช้คำอธิบายที่สามารถให้ความหมายแม่นยำมากยิ่งขึ้นสำหรับการโจมทีที่ทำให้เกิดผู้เสียชีวิตจำนวนมาก (mass casualty attacker: MCA)[4]

ในคู่มือการฝึกของตำรวจ ตำรวจจะตอบสนองต่อเหตุการณ์มือปืนกราดยิงแตกต่างจากการช่วยเหลือตัวประกันและการปิดล้อมผู้ต้องสงสัย[5][6] โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะตอบสนองต่อผู้ต้องสงสัยติดอาวุธ โดยจะเคลื่อนกำลังเพื่อบีบวงให้ผู้ต้องสงสัยอยู่ในขอบเขตที่กำหนด รับข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พยายามเจรจากับผู้ต้องสงสัย และรอทีมปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญ เช่นหน่วยสวาต

หากเจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อว่ามือปืนตั้งใจจะสังหารผู้คนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนจะฆ่าตัวตาย พวกเขาอาจจะใช้ยุทธวิธีในการจัดการ เช่น การปรับใช้กำลังและดำเนินการในทันที (Immediate action rapid deployment)[7][8]

คำจำกัดความของรัฐบาลกลางสหรัฐ[แก้]

ในสหรัฐ พระราชบัญญัติให้ความช่วยเหลือการสืบสวนสำหรับอาชญากรรมรุนแรง ค.ศ. 2012 ได้ผ่านหลังจากเหตุยิงกันในโรงเรียนประถมแซนดีฮุก ในนิวทาวน์ รัฐคอนเนตทิคัต โดยพระราชบัญญัตินี้ได้ชี้แจงอำนาจตามกฎหมายสำหรับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลกลางเพื่อให้ความช่วยเหลือในการสืบสวนแก่หน่วยงานระดับรัฐ[9][10][11][12] คำจำกัดความของ "active shooter" ได้รับการอนุมัติในเวลาต่อมาโดยทำเนียบขาว กระทรวงยุติธรรม รวมไปถึงสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ รวมถึงสำนักจัดการภาวะฉุกเฉินกลาง (ฟีมา) และกระทรวงศึกษาธิการ คือ:

...บุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปมีส่วนร่วมในการฆ่าหรือพยายามฆ่าผู้อื่นในพื้นที่ที่ประชากรหนาแน่น โดยในคำจำกัดความนี้คือการใช้อาวุธปืนหนึ่งหรือหรายกระบอกของมือปืน[13][14]

ตรงกันข้ามกับคำจำกัดความของการสังหารหมู่หรือการฆาตกรรมหมู่ คำจำกัดความของมือปืนกราดยิงนั้นประกอบด้วยการใช้อาวุธปืน แต่ไม่รวมถึงเกณฑ์ขั้นต่ำในการเสียชีวิต (ซึ่งอาจไม่มีผู้เสียชีวิตเลยก็ได้)[10]

โครงการศึกษาเกี่ยวกับมือมือปืนกราดยิงของเอฟบีไอ[แก้]

ตามความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมตามพระราชบัญญัติ เอฟบีไอได้เริ่มโครงการซึ่งรวมถึงการวิจัยเกี่ยวกับมือปืนกราดยิงและพัฒนาทรัพยากรสำหรับการฝึกในการสนับสนุนการช่วยเหลือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระดับชาติ ระดับมลรัฐ และระดับท้องถิ่น เพื่อตอบสนอง และฟื้นตัวจากการโจมตี[13][14] โดยขอบเขตของโครงการนี้ไม่ใช่เฉพาะเกี่ยวกับการสังหารหมู่หรือการกราดยิงหมู่เท่านั้น แต่เป็น "การศึกษาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์การกราดยิงและสิ่งที่สาธารณชนอาจต้องเผชิญ"[15] คือเหตุการณ์เกี่ยวกับชาวแก๊งค์และยาเสพติดที่อยู่นอกขอบเขตเริ่มต้นของโครงการนี้[15][16] ซึ่งรายงานฉบับแรกของเอฟบีไอได้รับการเผยแพร่เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเอฟบีไอได้เผยแพร่รายงานความคืบหน้าประจำปีและแผนทบทบทวนระยะ 20 ปี[17][15][18][19][20][21]

รายงานของเอฟบีไอ ประจำปี พ.ศ. 2557 เกี่ยวกับเหตุการณ์มือปืนกราดยิงครอบคลุมช่วงปี พ.ศ. 2543 ถึง 2556 และเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลกลางสหรัฐระบุและศึกษาเหตุการณ์มือปืนกราดยิงที่เกิดขึ้นอย่างทั่วถึงในช่วงเวลาสำคัญ ๆ โดยมีเหตุการณ์เกิดขึ้น 160 ครั้ง และมีผู้เสียชีวิต 486 รายรวมอยู่ในการศึกษานี้ โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิด 6.4 เหตุการณ์ต่อปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปี 2549 และเกิดเหตุการณ์ 16.4 ครั้งต่อปีระหว่างปี พ.ศ. 2550 ถึง 2556[20]

รายงานของเอฟบีไอ ประจำปี พ.ศ. 2565 ความถี่ของเหตุการณ์มือปืนกราดยิงเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 โดยมี 61 เหตุการณ์ เพิ่มขึ้น 40 จากปี พ.ศ. 2563 และ 30 จากปี พ.ศ. 2561 และ 2562 มีผู้เสียชีวิต 103 รายและบาดเจ็บ 140 รายในเหตุการณ์ปี พ.ศ. 2564 (ไม่รวมผู้ก่อเหตุ) โดยในปี พ.ศ. 2564 เหตุการณ์มือปืนกราดยิงที่เกิดขึ้นมากขึ้นนั้นเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่หลากหลายมากขึ้น และมือปืนกราดยิงในปี พ.ศ. 2564 เป็นผู้ชายเกือบทั้งหมด (ยกเว้น 1 ราย) โดยแบ่งเป็นทั้งหมด 61 ราย ถูกหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจับกุม 30 ราย ถูกหน่วยบังคับใช้กฎหมายสังหาร 14 ราย ฆ่าตัวตายด้วยตนเอง 11 ราย และถูกพลเมืองดีติดอาวุธสังหาร 4 ราย[19][21]

รายงานของเอฟบีไอ ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์มือปืนกราดยิงเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 โดยมีผู้เสียชีวิต 100 ราย บาดเจ็บ 213 ราย (ไม่รวมผู้ก่อเหตุ) โดยเกิดเหตุการณ์ขึ้น 50 ครั้ง ถูกหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจับกุม 29 ราย ถูกหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสังหาร 7 ราย ถูกพลเมืองดีติดอาวุธสังหาร 2 ราย ฆ่าตัวตายด้วยตนเอง 9 ราย และหลบหนีไปได้ 3 ราย[22]

ผลกระทบทางยุทธวิธี[แก้]

ตามคำกล่าวของ รอน บอร์ช มือปืนกราดยิงมักมีแนวโน้มที่จะไม่ยอมเจรจาต่อรอง โดยมือปืนมักจะฆ่าคนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และมักจะได้รับความโด่งดังในทางลบ โดยทั่วไปแล้วมือปืนกราดยิงจะไม่ปักหลักต่อสู้กับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่ตอบสนองและตอบโต้ ทำให้มีเพียงเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายเพียงไม่กี่คนที่ได้รับบาดเจ็บจากการตอบสนองเหตุมือปืนกราดยิง และการโต้ตอบนี้เองข้องเจ้าหน้าที่ทำให้มีคนถูกสังหารน้อยลง[23] จากที่กล่าวข้างต้น เมือมือปืนกราดยิงต้องเผชิญหน้ากับหน่วยบังคับใช้กฎหมายที่จัดกำลังมาตอบโต้และเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่สามารถหลบหนีได้ มือปืนกราดยิงมักจะฆ่าตัวตาย และเมื่อพลเรือน หรือแม้แต้พลเรือนไร้อาวุธต่อต้านมือปืนกราดยิงก็จะต้องเผชิญหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้[24]

การวิเคราะห์ทางสถิติของบอร์ช ได้แนะนำกลยุทธ์: การตอบโต้เชิงรุก สำหรับหน่วยบังคับใช้กฎหมาย ยุทธวิธีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการตอบสนองเหตุและติดตามมือปืนโดยไม่ชักช้า โดยการจัดทีมตอบสนองที่ยุ่งยากทำให้เกิดความล้มเหลวในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ซึ่งผู้ก่อเหตุมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว รวมถึงล้มเหลวในการเข้าใจลักษณะของภัยคุกคามที่อาจเกี่ยวข้อง

สำหรับพลเรือน เมื่อมีความจำเป็นหรือไม่สามารถละจากไปได้ทัน อาณัติทางยุทธวิธีคือการโจมตีผู้โจมตี ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ถูกพิสูจน์มาแล้วว่าประสบความสำเร็จในเหตุการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ นอรินา เบนท์เซล (วิลเลียม มิคาเอล สแตนเควิคซ์) ใน เพนซิลเวเนีย และ บิล แบดเจอร์ ใน แอริโซนา (เหตุยิงกันในทูซอน พ.ศ. 2554) ไปจนถึง เดวิด เบนเก ใน โคโลราโด

สาเหตุ[แก้]

การพิจารณาถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ประเภทนี้มีหลายปัจจัยแตกต่างกันไป บางคนแย้งว่าแรงจูงใจไม่มากก็น้อยเกี่ยวข้องกับการแก้แค้น[25] ในขณะที่อีกความเห็นแย้งว่าการกลั่นแกล้งข่มเหงรังแก (Bullying) เป็นสาเหตุของปัญหา และบางครั้งมือปืนกราดยิงก็เคยเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้งไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม[26] ยังมีความเห็นอื่น ๆ อีก เช่น กรอสแมน และ เดเกโตนา แย้งว่าการเผยแพร่ภาพของความรุนแรงในวัฒนธรรมสมัยใหม่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์นี้[27] ข้อเสนออีกข้อคือการตีความมุมมองของโลกตามรูปแบบของภววิทยาโดยที่ยังมีสติหรืออยู่ในระดับจิตใต้สำนึก ก็ถูกนำมาอธิบายปรากฏการณ์นี้[28] โดยผู้ที่เสนอแนวคิดนี้ระบุว่ามือปืนกราดยิงอาศัยอยู่ในโลกของเหยื่อและผู้ตกเป็นเหยื่อ ซึ่งอาจจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ในโลกของภววิทยานั้นไม่มีการแบ่งแยกระหว่างความเมตตา มิตรภาพ หรือการปะปนกันของความดีและความชั่ว การตีความโลกของพวกเขาอาจจะเกิดจากการโดนกลั่นแกล้งหรือจิตนภาพที่รุนแรง (อาจเป็นความหลงไหลในความรุนแรงบนภาพยนตร์ หนังสือ หรือวีดีโอเกม) แต่การตีความแบบสัมบูรณ์ขับเคลื่อนให้พวกเขาก่อเหตุในการฆ่าและก้าวไปสู่ความตาย

ในหนังสือ The Psychology of the Active Killer แดเนียล โมเดล ได้เขียนเอาไว้ว่า "โลกที่คิดขึ้นโดยมือปืนกราดยิงนั้น เป็นการต่อสู้กัน (วิภาษวิธี) ในด้านมืดระหว่างการเป็นเหยื่อและการตกเป็นเหยื่อ ซึ่งภววิทยาที่เสื่อมถอยของเขามีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย จนเหมือนไม่มีขอยุติ พวกเขาเป็นทั้งสองประเภท โดดเดี่ยวและเด็ดขาด และขาดคำอธิบายในโลกของพวกเขา ด้วยตรรกะที่แปลกประหลาดที่คลับเคลื่อนวิภาษวิธีทำให้เกิดการอนุมานที่รุนแรง: ในโลกของเหยื่อและผู้ตกเป็นเหยื่อ ความสำเร็จหมายถึงการตกเป็นเหยื่อ"[28]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Buchanan, Larry; Leatherby, Lauren (June 22, 2022). "Who Stops a 'Bad Guy With a Gun'?". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2022. Data source: Advanced Law Enforcement Rapid Response Training Center
  2. 2.0 2.1 "Active Shooter: How to Respond" (PDF). U.S. Department of Homeland Security.
  3. "The Active Shooter Threat" (PDF). MSA Special Analysis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-19. สืบค้นเมื่อ 2023-10-02.
  4. "2016 Preparedness Summit". eventscribe.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-04. สืบค้นเมื่อ 2017-10-04.
  5. Williams, John. "Active Shooter Response & Tactics" (PDF). publicintelligence.net. Los Angeles County Sheriff Department. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 28 October 2022.
  6. "Tactical Response Magazine" (PDF). ncbrt.lsu.edu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). National Center for Biomedical Research and Training. 8 February 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 October 2016. สืบค้นเมื่อ 28 October 2022.
  7. "Abstracts Database - National Criminal Justice Reference Service". www.ncjrs.gov.
  8. Communications, Government of Canada, RCMP, Public Affairs and Communication Services Directorate, Corporate. "Immediate Action Rapid Deployment (IARD) Program". www.rcmp-grc.gc.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-27. สืบค้นเมื่อ 2023-10-02.
  9. Krouse, William J.; Richardson, Daniel J. (July 30, 2015). Mass Murder with Firearms: Incidents and Victims, 1999–2013 (PDF) (Report). Congressional Research Service. p. 26.
  10. 10.0 10.1 Booty, Marisa; O’Dwyer, Jayne; Webster, Daniel; McCourt, Alex; Crifasi, Cassandra (2019). "Describing a "mass shooting": the role of databases in understanding burden". Injury Epidemiology. 6 (47): 47. doi:10.1186/s40621-019-0226-7. PMC 6889601. PMID 31828004.
  11. Ye Hee Lee, Michelle (December 3, 2015). "Obama's inconsistent claim on the 'frequency' of mass shootings in the U.S. compared to other countries". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2021. สืบค้นเมื่อ April 9, 2021.
  12. Albright, Mandi (March 17, 2021). "Spa killings another grisly chapter in Georgia history". The Atlanta Journal-Constitution.
  13. 13.0 13.1 Blair, J. Pete; Schweit, Katherine W. (2014). A study of active shooter incidents in the United States between 2000 and 2013 (Report). Federal Bureau of Investigation.
  14. 14.0 14.1 Silver, James M.; Craun, Sarah W.; Wyman, John V.; Simons, Andre B. (April 26, 2021). "A coproduction research model between academia and law enforcement responsible for investigating threats". Journal of Policing, Intelligence and Counter Terrorism. 16 (1): 32–43. doi:10.1080/18335330.2021.1880018. S2CID 233402612.
  15. 15.0 15.1 15.2 Active shooter incidents 20-year review, 2000–2019 (Report). Federal Bureau of Investigation. 2021.
  16. Follman, Mark (October 21, 2014). "Yes, Mass Shootings Are Occurring More Often". Mother Jones.
  17. "Active Shooter Safety Resources". Federal Bureau of Investigation.
  18. Ryan, Shannon (June 11, 2021). "FBI releases report examining 20 years of active shooter incidents". Austin, Texas: KTBC.
  19. 19.0 19.1 Thrush, Glenn (May 24, 2022). "The F.B.I. released a report showing a steep rise in 'active' shooters on Monday". The New York Times.
  20. 20.0 20.1 Schmidt, Michael S. (September 25, 2014). "F.B.I. Confirms a Sharp Rise in Mass Shootings Since 2000". The New York Times. p. A.19.
  21. 21.0 21.1 Berman, Mark (May 23, 2022). "'Active shooter' attacks in 2021 doubled over recent years, FBI says". The Washington Post.
  22. Salahieh, Nouran; Rabinowitz, Hannah; Lybrand, Holmes (April 26, 2023). "The US in 2022 saw highest number of 'active shooter' casualties – deaths or injuries – of the past 5 years, FBI report finds". CNN.
  23. Ron, Borsch. "Solo Officer Entry for Active Shooters: Ron Borsch Q&A Part 1". Spartan Cops. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 3, 2015. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.
  24. Ayoob, Massad (2017). "Chapter 9, Lone Citizen Heroes, Ron Borsch". Straight Talk on Armed Defense: What the Experts Want You to Know (ภาษาอังกฤษ). Gun Digest Media. ISBN 978-1-4402-4754-5.
  25. McGee, J.P.; DeBernardo, C.R. "The Classroom Avenger" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 30, 2007.
  26. Vossekuil, B.; Fein, R.; Reddy, M.; Borum, R.; Modzeleski, W. (2002). "The Final Report and Findings of the Safe School Initiative". US Secret Service and US Department of Education.
  27. Grossman, D.; DeGaetano, G. (1999). Stop Teaching our Kids to Kill. New York: Crown Publishers.
  28. 28.0 28.1 Modell, Daniel (December 2013). "The Psychology of the Active Killer". Law Enforcement Executive Forum. 13 (4). สืบค้นเมื่อ 2021-03-11 – โดยทาง Ares Tactics.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]