มือชี้ปากย้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พนักงานขับรถไฟกำลังชี้
มือชี้ปากย้ำจำเป็นต้องใช้การกระทำร่วมกัน (co-action) และ ปฏิกิริยาร่วมกัน (co-reaction) ของสมอง, ตา, มือ, ปาก และหูของผู้ควบคุม

มือชี้ปากย้ำ บ้างเรียก นิ้วชี้ปากย้ำ (อังกฤษ: Pointing and Calling) เป็นขั้นตอนในความปลอดภัยในอาชีพสำหรับการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดโดยการชี้เป็นที่เครื่องบ่งชี้สำคัญและกล่าวขานถึงสภาพของเครื่องบ่งชี้นั้น มือชี้ปากย้ำเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในระบบรางรถไฟญี่ปุ่น ซึ่งจะเรียกขั้นตอนนี้ว่า "ชินซะคันโก" (指差喚呼, shinsa kanko[a]) และในระบบรางรถไฟจีน การทำสัญญาณและการพูดย้ำเครื่องบ่งชี้เหล่านี้ช่วยให้มีสมาธิได้มากยิ่งขึ้น ระบบนี้ถูกใช้ครั้งแรกโดยพนักงานขับรถไฟและนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมญี่ปุ่น มือชี้ปากย้ำไม่ได้เป็นที่นิยมในประเทศอื่น แม้ว่าจะมีการใช้ระบบนี้ในรถไฟใต้ดินนครนิวยอร์กและรถไฟใต้ดินโทรอนโตก็ตาม สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยญี่ปุ่น [ja] แนะนำให้ใช้ระบบมือชี้ปากย้ำ ตามการศึกษา ค.ศ. 1994 ของสถาบันวิจัยวิศวกรรมระบบรางแสดงให้เห็นว่ามือชี้ปากย้ำช่วยลดความผิดพลาดได้เกือบ 85% เมื่อทำงานง่าย ๆ[1][2] อีกทั้งระบบนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดการบริหารรางรถไฟในประเทศจีน[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. อาจใช้คำอื่น เช่น ญี่ปุ่น: 指差確認喚呼โรมาจิShinsa Kakunin Kanko หรือ ญี่ปุ่น: 指差呼称โรมาจิYubisashi Koshõ
  1. Gordenker, Alice (October 21, 2008). "JR gestures". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
  2. "Pointing and Calling: A Unique Japanese Method in Transit Safety". convergence (ภาษาอังกฤษ). 2017-06-29. สืบค้นเมื่อ 2022-09-30.
  3. "铁路技术管理规程(电子版) - 百度文库". wenku.baidu.com. สืบค้นเมื่อ 2019-01-19.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]