ภิรมย์ พลวิเศษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภิรมย์ พลวิเศษ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2508
อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
เสียชีวิต15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (54 ปี)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
พรรคการเมืองความหวังใหม่
ชาติไทย
พลังประชาชน
ภูมิใจไทย
พลังประชารัฐ
คู่สมรสอรทัย พลวิเศษ
ศิษย์เก่าวิทยาลัยครูนครราชสีมา

ภิรมย์ พลวิเศษ (7 สิงหาคม 2508 - 15 พฤษภาคม 2563) อดีตนักการเมืองชาวไทย อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา พรรคพลังประชาชน และ พรรคภูมิใจไทย และอดีตเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ประวัติ[แก้]

นายภิรมย์ พลวิเศษ เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ที่ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนาง อรทัย พลวิเศษ มีบุตร 4 คนคือ

  1. นางสาวพีรยา พลวิเศษ
  2. นายนวกิจ พลวิเศษ
  3. เด็กหญิงรมย์นลิน พลวิเศษ
  4. เด็กหญิงรมย์ธีรา พลวิเศษ

นายภิรมย์เสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตภายหลังจากผ่าตัดส้นเท้าเมื่อช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ที่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สิริรวมอายุได้ 54 ปี[1]

การศึกษา[แก้]

ภิรมย์จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ปก.ศ.สูง) และ ระดับปริญญาตรี ด้านบริหารการศึกษา จากวิทยาลัยครูนครราชสีมา จากนั้นสอบเข้ารับราชการครูได้เมื่อปี พ.ศ. 2529 ที่อำเภอประทาย ซึ่งเป็นอำเภอบ้านเกิด ก่อนลาออกจากราชการครูมาทำงานการเมืองแบบเต็มตัว โดยตำแหน่งสุดท้ายทางราชการคือตำแหน่งหัวหน้าการประถมศึกษา อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา [2]

งานการเมือง[แก้]

ภายหลังจากลาออกจากราชการนายภิรมย์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชนและได้รับเลือกตั้งในปีนั้นโดยสามารถเอาชนะนาย วัชรา ณ วังขนาย เจ้าของตำแหน่งจาก พรรครวมชาติพัฒนา ไปได้ แต่หลังจากที่พรรคพลังประชาชนถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคในปี พ.ศ. 2551 นายภิรมย์จึงย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย

จากนั้นในปี พ.ศ. 2561 นายภิรมย์พร้อมด้วยนางอรทัยผู้เป็นภรรยาได้ย้ายมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ โดยนายภิรมย์ถือเป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มสามมิตรทำหน้าที่ชักชวนบรรดา อดีต ส.ส. นักการเมืองท้องถิ่น ให้ย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายภิรมย์ได้ขยับขึ้นไปอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 24 พร้อมกับส่งนางอรทัยลงสมัครในเขต 5 แทนนายภิรมย์

หลังการเลือกตั้งนายภิรมย์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นาย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562 [3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

นายภิรมย์ พลวิเศษ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัยคือ

1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนครราชสีมา สังกัด พรรคพลังประชาชนพรรคภูมิใจไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สิ้น 'ภิรมย์ พลวิเศษ' ขุนพลสามมิตรแห่ง พปชร.
  2. "ภิรมย์ พลวิเศษ" แกนนำกลุ่มสามมิตร ติดเชื้อหลังผ่าตัดส้นเท้า เสียชีวิตกะทันหัน
  3. คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๒๔๒/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒