ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ (อังกฤษ: English for Integrated Studies, EIS) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสองภาษารูปแบบหนึ่งในประเทศไทย โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการจัดการเรียนการสอนจำนวน 4 รายวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษ[1] การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้แตกต่างจากการจัดการเรียนการสอนสองภาษารูปแบบอื่นที่ใช้ครูชาวไทยเป็นผู้จัดการเรียนการสอน[2]: 353  มีจุดมุ่งหมายสำคัญให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้[3] การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้เริ่มทดลองขึ้นที่โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา[1] ก่อนที่จะขยายไปตามโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศมากกว่า 500 โรงเรียนด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏจัดฝึกอบรมครูเพื่อเพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษให้สูงขึ้น[4] ใน พ.ศ. 2556 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดให้มีการอบรมครูแกนนำเพื่อขยายผลการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการให้กับครูของโรงเรียนต่าง ๆ[5] จนกระทั่ง พ.ศ. 2557 กระทรวงศึกษาธิการได้ร่างแนวทางปฏิบัตินโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยจัดให้มีการขยายโครงการพิเศษด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึงโครงการ EIS อีกด้วย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "EIS : การจัดการเรียนรู้ด้วยภาษาอังกฤษ โดยครูไทยเพื่อเด็กไทยสู่สากล". โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
  2. จำปาศักดิ์, สาโรจน์; วิเศษศิริ, ปองสิน (2014). "สภาพการบริหารวิชาการโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนรู้โดยครูไทย (EIS) โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา". An Online Journal of Education. 9 (3): 351–360.
  3. "ตรวจเยี่ยมโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร จ.หนองบัวลำภู". สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
  4. "โรงเรียนเครือข่าย EIS". กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
  5. "สพฐ. จัดตั้งศูนย์อาเซียนขึ้นในกระทรวงศึกษาฯ". สื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
  6. "ศธ.จ่อยกเครื่องหลักสูตร 'ภาษาอังกฤษเด็กไทย'". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.