ฟ้อนกลายลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟ้อนกลายลาย (อ่านฟ้อนก๋ายลาย)หรือฟ้อนเมืองกลายลาย ชื่อของการฟ้อนแบบนี้ น่าจะหมายถึงฟ้อนพื้นบ้านที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนท่าฟ้อนโดยนำลีลาท่าฟ้อนเชิง (ลาย) เข้าไปผสมผสานกับท่าฟ้อนรำ ทั้งนี้เพระ ฟ้อนเมือง หมายถึง การฟ้อนพื้นเมืองล้านนากลายหมายถึงการเปลี่ยนแปลง (ลีลาท่าฟ้อน) และ ลาย มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า เชิง ในที่นี้หมายถึงลีลาการร่ายรำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวล้านนา

ประวัติ[แก้]

ฟ้อนลายได้มีการค้นพบโดยนายสุชาติ กันชัย และนายสนั่นธรรมธิ อดีตสมาชิกของชมรมพื้นบ้านล้านนาสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ที่ บ้านแสนตอง ตำบลสะเมิงใต้ จังหวัดเชียงใหม่

ฟ้อนเมืองลายนี้ ไม่ได้มีหลักฐานอ้างอิงแน่ชัดว่าเป็นฟ้อนของกลุ่มชาวไทลื้อ บ้านแสนตองที่มีมาแต่เดิมหรือไมเท่าที่ทราบกันในบรรดาช่างฟ้อนที่เหลือในปัจจุบัน จึงมีการสันนิษฐานกันว่าคงมีมานานกว่า ๑๒๐ ปีมาแล้ว ยุคที่จำความกันได้ก็คือ ยุคแม่หม่อนดี (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งได้สอนฟ้อนชนิดนี้ให้กับลูกหลานชาวบ้านแสนตองในสมัยนั้น (ปัจจุบันนี้ผู้ที่ฟ้อนเป็นเหลือไม่ถึง ๑๐ คน) คาดว่าฟ้อนดังกล่าวคงมีมาก่อนสมัยแม่หม่อนดี และคงเป็นฟ้อนที่ได้รับการยอมรับกันในสังคมมาก่อนแล้ว ที่สำคัญก็คือ แม่หม่อนดีและเพื่อน ๆ ช่างฟ้อนในยุคนั้นได้เคยไปฟ้อนต้อนรับการเสด็จเลียบมณฑลพายัพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มาแล้ว จากรุ่นหม่อนมาจนถึงรุ่นหลานในปัจจุบันนี้ชาวบ้านเหล่าแสนตองยังคงสืบสานฮีตฮอยที่เป็นแก่นแท้ของตนเอง เป็นที่น่าภูมิใจที่ปัจจุบันนี้ยังมีลูกหลานที่ยังสืบทอดตำนานฟ้อน ลาย ที่เป็นลายแท้ ไม่ได้แต่งเติมให้ออกมาสวยตามยุคตามสมัย ในช่วงเวลาที่วัดแสนตองมีงานตอนเย็นๆจะมีเด็กมาซ้อมฟ้อนลาย มีเสียงกลองจากเด็กผู้ชายที่มาเล่นที่วัด มีชาวบ้านที่อยู่ใกล้ๆออกมาดู มาคุยกันตามประสาของคนที่ยึดเอาวัดเป็นศูนย์กลาง ภาพเหล่านี้เรามักไม่ค่อยได้เห็นกันนักในสังคมเมือง แต่ที่นี่ ที่บ้านเหล่าแสนตอง ยังคงรักษาไว้ไม่เสื่อมคลาย สมกับคำพูดที่ว่า " ฮ่อมหนูก่หนูไต่ ฮ่อมไหน่ก๋ไหน่เตียว "

ท่าฟ้อน[แก้]

การฟ้อนเมืองลาย ในสมัยก่อนไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัวว่าต้องฟ้อนท่าไหนก่อน หรือท่าไหนหลัง ผู้ฟ้อนแต่ละคนจะฟ้อนท่าไหนก่อนก็ได้ แต่เมื่อจะแลกลาย(ใส่ลีลาลูกเล่น)กับผู้ฟ้อนอื่น ก็อาจเปลี่ยนท่าฟ้อนให้เหมือน ๆ กัน แต่ก็ไม่ได้เคล่งคัดมากนัก ท่าฟ้อนมีดังนี้

  1. ไหว้
  2. บิดบัวบาน
  3. เสือลากหาง
  4. ลากลง
  5. แทงบ่วง
  6. กาตากปีก
  7. ใต้ศอก
  8. เท้าแอว
  9. ยกเข่า
  10. ยกแอว
  11. เต็กลาย(แลกลาย)
  12. เล่นศอก
  13. เต็กลายลุกยืน
  14. บัวบานกว้าง

ส่วนท่าฟ้อนที่ชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรสักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ไปสัมภาษณ์จากบุคลากรในท้องถิ่น พบว่ามีทั้งหมด ๒๐ ท่า ท่าฟ้อนบางท่าก็มีชื่อเรียกอยู่ มีหลายท่าที่ศิลปฺนท้องถิ่นลืมชือ จึงเรียกตามลักษณะท่าฟ้อน ซึ่งทางชมรมพื้นบ้านล้านนาได้นำมาตั้งชื่อขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงกับท่าฟ้อน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและฝึกซ้อม โดยมีท่าต่าง ๆ ดังนี้

  1. ไหว้
  2. บิดบัวบาน
  3. เสือลากหาง
  4. แทงบ่วง
  5. กาตากปีก
  6. ใต้ศอก
  7. ไล่ศอก
  8. จีบข้างเอวหมุน
  9. บัวบานคว่ำหงาย
  10. ยกเอวสูง
  11. แลกลาย
  12. ใต้ศอก(นั่ง-ยืน)
  13. แลกลาย
  14. ยกเอวต่ำ
  15. บัวบานคว่ำหงาย
  16. ม้วนไหม(เข่า)
  17. ใต้ศอกนั่ง
  18. ตวัดเกล้า
  19. ใต้ศอกลุก
  20. ไหว้

การแต่งกาย[แก้]

เนื่องจากฟ้อนเมืองกลายลาย เป็นฟ้อนที่สันนิษฐานกันว่ากำเนิดมาจากการฟ้อน อันเกิดมาจากความปีติยินดีของชาวบ้านในโอกาสงานบุญ เช่น ฟ้อนนำขบวนแห่ครัวทาน เข้าวัดในขณะที่แห่ครัวทานผู้ที่ชอบฟ้อนก็จะฟ้อนเต็มที่ ส่วนคนอื่น ๆ ที่ฟ้อนเมืองได้ก็จะถูกขอร้องให้ฟ้อนร่มขบวนด้วย ดังนั้นการแต่งกายแบบชาวบ้านสมัยก่อนจะไม่มีรูปแบบ สวมเสือมาอย่างไรก็ฟ้อนชุดนั้นเลย


ดนตรีประกอบการฟ้อน[แก้]

ฟ้อนเมืองกลายลายในอดีตนั้นใช้กลองสิ้งหม้องแห่ประโคมประกอบการฟ้อนนำขบวนครัวทาน บางทีเรียก "แห่มองซิงมอง"บางครั้งก็ใช้กลองกลองตึ่งนง(กลองแอว) ปัจจุบันใช้กลองมองเซิงแห่ประโคมการฟ้อน ซึ่งเริ่มมาประมาณ ๔๐ ปีมานี้เอง

ปัจจุบันฟ้อนเมืองกลายลายได้เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายให้อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่ในระดับท้องถิ่นเท่านั้น ยังไม่เป็นที่แพร่หลายกันทั่วไป

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • สายสม ธรรมธิ