พูดคุย:โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการศึกษา ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
วิทยาศาสตร์ โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิวิทยาศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ทฤษฏีวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ขาดความสำคัญ ?[แก้]

ผมคิดว่าเรื่องนี้มีควาสำคัญนะครับ เพราะว่าไทยเรามีนักวิจัย 2-3 คน ต่อประชากร 10,000 คน เทียบกับประเทศพัฒนาแล้วที่มีถึง ~50 เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีโครงการต่างๆ เหล่านี้เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากร เพียงแต่ว่าโครงการนี้เพิ่งเกิดจะไปรอดหรือไม่ ก็ต้องมารอลุ้นกันกับนโยบายของรัฐบาลแต่ละชุดที่เขามาบริหาร --taweethaも 20:11, 2 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ฝากรบกวนนำแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมาเพิ่มด้วยนะครับ ที่ไม่ใช่แหล่งของโครงการเอง (อาจจะเป็นข่าว หรือสื่ออื่น) เพราะก่อนหน้านี้ก็มีหลายรอบที่โครงการจัดตั้งต่างๆ มีขึ้นมาแล้วก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย เป็นโครงการที่โดนทิ้ง --Manop | พูดคุย - (irc) 20:48, 2 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เห็นด้วยครับ มีโอกาสหาย ก็แล้วแต่ว่านักเรียนที่เรียนอยู่จะทำให้มันมีชื่อเสียงและไปรอดหรือไม่ การที่มีข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องโครงการหรือการที่ นร.ในโครงการไปทำชื่อเสียงต่างๆ จึงมีความสำคัญมากในช่วงตั้งต้นโครงการ ผมเพิ่มให้อีกแหล่งข้อมูลครับ และแก้ไขให้อีกนิดหน่อย แต่คงต้องรอคนเขียนท่านแรกมาช่วยเติมครับ อย่างไรก็กรุณาอย่าเพิ่งรีบลบไปแล้วกันครับ นักเรียนรุ่นแรกปี 2551 เรียนไปได้ครบปี เขาอาจทำอะไรที่ทำให้โครงการมันรุ่งขึ้นมาเร็วๆนี้ก็ได้ แต่ถ้าครบสามปีจบออกมารุ่นแรกแล้วยังเงียบ ก็คงจบจริงๆ (ขออย่าเป็นอย่างนั้นเลย) --taweethaも 21:41, 2 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ส่วนตัวผม ผมเองก็อยากจะให้โครงการนี้สำเร็จไปด้วยดีนะครับ แต่ว่า นโยบายก็คือนโยบายหล่ะครับ มันขาดความสำคัญ เราก็ต้องแจ้งไปตามนั้นครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 21:49, 2 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เรื่องการขาดความสำคัญผมคิดว่าขึ้นกับวิจารณญาณของแต่ละท่านครับ และผมขอเคารพในการตัดสินใจของทุกท่าน ถ้าให้ผมไปอ่านประวัติดารานางแบบนายแบบ ผมก็คงใส่ขาดความสำคัญไปทั่ว สำหรับข้อมูลที่ผมเพิ่มเข้ามาให้พิจารณาในบทความคือ โครงการนี้มีเด็ก ม.3 ร่วมสอบกันเข้ามาปีละกว่าหมื่นคน หรืออาจกล่าวว่ากว่า 1% ของประชากรไทยในช่วงอายุดังกล่าวเข้าร่วมการสอบครับ โครงการจะไปรอดหรือเปล่าก็ต้องลุ้นกันครับ แต่ยอดหมื่นคิดว่าคงไม่ลด เพราะว่ายอดของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์อย่างเดียวก็เกือบสองหมื่นแล้วครับ โครงการนี้ไม่ได้เพิ่มยอดรวมขึ้นอีกสักเท่าไหร่ ปล. ผมเห็นคุณ Manop นำป้ายออกแล้วนะครับ คุณ Brandy Frisky จะพิจารณาอีกทีอย่างไรก็ได้นะครับไม่ว่ากัน แต่ผมแค่กลัวโดนลบ เดี๋ยวคนสร้างจะเสียใจ--taweethaも 22:14, 2 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เรื่องขาดความสำคัญก็แล้วแต่กลุ่มคนสนใจนะครับ ส่วนตัวแล้วผมเองก็ใส่ป้าย {{ขาดความสำคัญ}} เข้าไปเพิ่มเหมือนกันตอนแรก (เพราะก่อนหน้านี้มีคนมาเขียนโครงการจัดตั้งเต็มไปหมด ที่ไม่มีใครสนใจเว้นแต่กลุ่มจัดตั้ง) แต่ไม่แน่ใจเลยลองกูเกิลดูพอดีเจอสื่ออื่นที่กล่าวถึง เลยคิดว่าถ้ามีสื่ออื่นมากกว่าสองสื่อกล่าว เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญของบุคคลมากกว่า ซึ่งถ้าผมกูเกิลไม่เจอผมก็คงปล่อยป้าย {{ขาดความสำคัญ}} ทิ้งไว้เหมือนเดิมหรืออาจจะติดป้าย {{ลบ}} แทนที่นะครับ --Manop | พูดคุย - (irc) 22:25, 2 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ผมเขาใจความรู้สึกคุณนะครับ ส่วนตัวผม ผมก็รำคาญพวกบทความดารานักร้องคนเด่นคนดังเหมือนกันแหละครับ เพราะผมว่ามันไร้ประโยชน์ บางบทความในไร้สาระนุกรมยังมีประโยชน์เสียกว่าเลย แต่มันก็ช่วยไม่ได้จริงจริงแหละครับ เพราะคนส่วนใหญ่เขานับว่าเป้นคนดัง มีความสำคัญ และนโยบายของวิกิพีเดียก็ยอมรับว่าพวกนั้นมีความสำคัญ มันเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้จริงจริง สิ่งที่เราทำได้ในวิกิพีเดียก็คงมีแต่ทำใจ และก้มหน้าก้มตาทำในสิ่งที่เราคิดว่าเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไปแหละครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 22:48, 2 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ที่จริงแล้ว ผมเป็นนักเรียนในโครงการรุ่นที่ 1 ปัญหาในโครงการอยากจะบอกว่ามีเยอะมาก ๆ โครงการนี้ถูกร่างไว้ตั้งปีพ.ศ.2547 แล้วแต่ติดปัญหาหลาย ๆ อย่างกว่าจะผ่านก็ปีพ.ศ.2550 พอเริ่มโครงการก็เจอปัญหาตั้งแต่รุ่นแรกคือ

  1. การขาดการประชาสัมพันธ์ พอดีตอนนั้นมาเข้าค่ายที่คณะวิทย์ มช. ถึงได้รู้ว่ามีโครงการเริ่มเป็นปีแรก ก็เลยชวนเพื่อน ๆ ทั้งที่โรงเรียน ในเว็บไซต์ คือคนรู้จักน้อยมาก ๆ คนก็ยังกลัว ๆ ไม่กล้ามา + มันต้องเลือกว่าจะเข้าโครงการหรือว่าไปมหิดลวิทย์ มาถึงรุ่น 2 พวกเราก็ต้องดิ้นกันประชาสัมพันธ์กันเอง รัฐไม่โปรโมตอะไรให้เลย ทีเถียงกันในสภาเก่งกันจัง เด็กโครงการ (โดยเฉพาะ มช.) น้อยใจมาก ๆ ยิ่งตอกให้โครงการกลายเป็นเหมือนตัวสำรองของมหิดลวิทย์ไปอีก
  2. งบประมาณปีแรกกว่าจะโอนมาถึงมหาวิทยาลัยก็ช้ามาก ๆ (กรกฎาคม 2551) ทั้งที่เปิดเทอมไปแล้ว
  3. มหาวิทยาลัยก็หยิ่งใส่กัน (มั่นใจว่ามหาลัยฉันแน่) ทั้งที่วัตถุประสงค์ข้อที่สาม ก็ต้องการให้เกิดความร่วมมือ ตอนที่อาจารย์ทั้ง 4 ศูนย์มาเยี่ยมก็เจออาจารย์จากมหาลัยหนึ่งดูถูกเด็กโครงการ มช.กลางที่ประชุมค่ายที่จะให้นักเรียนทั้ง 4 ศูนย์ได้แลกเปลี่ยนกันก็ล่มอย่างไม่เป็นท่า ทั้งที่ถ้าร่วมมือกันเอาจุดเด่นมารวมกันพัฒนาเด็กก็ไม่ยอม
  4. หลักสูตรก็ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้
  5. การบริหารยังไม่ชัด โครงการไม่รู้จะไปอยู่สังกัดไหนในคณะวิทย์ ไม่รู้จะไปอยู่สังกัดไหนในโรงเรียน
  6. โครงการต้องการลดเวลาการเรียน ป.ตรี เรียนอัดมาก ๆ ตอนนี้(ม.5)จะเริ่ม calculus ของปี 1 แล้วที่จริงอยากสร้างชื่อเสียงทางด้านวิจัยมากกว่าจะแข่งโอลิมปิก แต่ไม่มีเวลา(แต่ศูนย์อื่นก็ติดโอลิมปิกหลายคน ยังไม่ได้ถามว่าติดตัวประเทศหรือเปล่า)

และมีอีกหลายอย่างที่ไม่อยากจะเอ๋ย ที่จริงทำไมไม่ตั้งเป็นโรงเรียนเลยก็ไม่รู้งบประมาณส่งมาที่มหาวิทยาลัยเยอะมาก ๆ (ประมาณ 12 ล้านต่อปี และปีต่อไปก็เกือบ 30 ล้าน ศูนย์อื่นเยอะกว่านี้อีก) เพราะคาดการว่าคงไม่มีชื่อเสียงเหมือนมหิดลวิทย์หรอก คงโดนกลืนชื่อเสียงไม่ดังคล้าย ๆ กับ พสวท.นั้นแหละ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Kankawee (พูดคุยหน้าที่เขียน) 06:24, 3 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ขอบคุณคุณ Kankawee ที่มาให้ข้อมูลครับ ตั้งใจเรียนให้ดีๆ แล้วกันครับ สักวันคงจะรุ่งแน่ๆ ผมขอเสนอแนะอย่างนี้

  1. การเขียนวิกิพีเดีย เป็นการเขียนให้สาธารณชนอ่าน ต้องยืนในมุมมองคนภายนอกแล้วมาเขียนครับ ผู้ใข้ท่านอื่นหรือผู้อ่านจะได้เห็นความสำคัญ ตัวย่อโครงการหรืออะไรที่คนทั่วไปไม่รู้จักก็ต้องอธิบายหรือใส่ลิงค์
  2. ถ้า นร ในโครงการได้ไปทำชื่อเสียงอะไร เวลาสัมภาษณ์อย่าลืมให้เครดิตโครงการด้วย เมื่อสื่อนำไปลงแล้ว ต่อไปโครงการก็มีเครดิตเอาไปอ้างอิงต่อได้

เนื่องจากบทความนี้ ผมก็เลยมีแรงบันดาลใจเอาโครงการอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จแล้วขึ้นมาเขียนด้วยไปเลย ลองดูได้ที่ พสวท และ jstp --taweethaも 13:44, 3 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • ผมคิดว่าป้าย {{ขาดความสำคัญ}} ไม่ได้บอกแต่เพียงว่า บทความนั้นขาดความสำคัญ นะครับ แต่ยังมีอีกกรณีหนึ่ง คือ บทความนั้นไม่ได้ระบุความสำคัญของมันในหน้าบทความ (หมายความว่า ไม่ได้บอกประโยชน์ถึงความน่าศึกษาของมันครับ) จึงขอแจ้งมา --Horus 19:10, 23 มิถุนายน 2552 (ICT)