พูดคุย:สัตว์หาง

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัตว์หาง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการ์ตูนญี่ปุ่นและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการ์ตูนญี่ปุ่น ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สัตว์หาง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

การก่อกวน[แก้]

ผมขอย้อนการแก้ไขของกลุ่มไอพี 125.27.251.46 , 125.27.251.46 , 124.121.66.125 , 125.27.246.52 , 124.121.66.125 เกือบทั้งหมดเลยนะครับ เพราะเท่าที่อ่านเป็นการแก้ตามใจชอบ และไม่มี ref อะไรเลย ไม่อ้างอิงหลักการแปลอะไรเลย นอกจากนี้ยังแย่มากๆด้วย (ผมรู้ครับว่าหน้าอภิปรายไม่ควรใช้ในการต่อว่าใคร แต่เห็นแล้วรู้สึกแย่มากๆ กับการแก้wikiอย่างคึกคะนองไม่มีจิตสำนึก)

ตัวอย่าง
หิหายะ โนะ โยโคยะ (Hihaaya no Yokoya) สัตว์หางในรูปแบบเหี้ย เชื่อว่เป็นสัตว์หางตัวใหม่ซึ่งมีอานุภาพและจักระที่มหาศาลมากกว่าจิ้งจอก เก้าหาง และเชื่อกันว่าเหี้ย 10 หางนั้นเพียงหายใจก็สามารถถล่มแคว้นทั้งแคว้นได้
แล้วยังกลายเป็นว่ามีคนอื่นเข้าไปช่วยขัดเกลาสำนวนให้เหมือนกับว่ามันมีอยู่จริงๆ

ขอเสนอให้ moderator กึ่งล็อก จากการก่อกวนครับ--ไม่มีชื่อ 02:01, 15 สิงหาคม 2551 (ICT)

ข้อมูลที่ไม่แน่ใจ[แก้]

เสนอให้ไม่ควรแก้ข้อมูลที่ไม่แน่ใจ หรือเป็นความเห็นหรือการคาดการณ์ล่วงหน้าเอาเองลงในwiki และน่าจะใช้หน้าอภิปรายครับ

ตัวอย่าง "ฮัจจิบิ โนะ ยามาตะ (八尾, Hachibi)สัตว์หางมีแปดหาง มีบางคนบอกว่าคล้ายกิ้งก่าไม่ใช่งู 8หัว 8หาง มีปริมาณจักระและลำดับของวิชาคาถาอยู่ในลำดับที่ 2"--ไม่มีชื่อ 02:01, 15 สิงหาคม 2551 (ICT)

พิธีกรรมการสิงสถิต[แก้]

"เป็นพิธีกรรมเฉพาะตามรูปแบบของสัตว์หางและวิชาที่ผู้ผนึกมีอยู่ในอัญเชิญหรือกักขังสัตว์หางเข้าไปในร่างมนุษย์ มีทั้งผลดีและผลเสียต่อผู้ใช้เองบ้างครั้งต้องสังเวยเลือดและกายให้กับการอัญเชิญหรือกักขังนั้น โดนรวมแล้ว จะเป็นการผลึกไว้ในร่างทารกเพื่อให้ดวงวัญญาญจักระและความสามารถที่มีในร่างสัตว์หางสามารถรวมกับร่างมนุษย์ธรรมดาได้ให้สามารถดึงพลังแฝงของสัตว์หาวในระยะเวลาที่โตพอที่จะใช้จักระได้ บางครั้งสัตว์หางอาจจะไม่อยู่ในการควบคุมก็เป็นได้ หรือ แม้จะควบคุมได้ จิตทั้งสองของมนุษย์และสัตว์หางไม่สามารถรวมกันได้พลังที่ได้มาก็มิอาจนะไปใช้ได้เช่น กาอาระ ที่ควบคุมสัตว์หางไม่ได้ เป็นต้น แต่มีจุดที่เหมือนกันคือ ยามที่ถูกดึงจิตวิญญาญแกง้สัตว์หางออกมาจากจิตมนุษย์จะต้องถูกจิตสัตว์หางดูดกลืนจนหมดและสินชีพไป"

ผมไม่คิดว่ามีการอ้างอิงในเรื่องว่าเป็นการทำพิธีกับร่างสถิตทั้งหมดครับ โดยเฉพาะเรื่องวิธีการใช้คาถาสี่มหาวิถีของรุ่นที่4กับนารูโตะให้ผนึกค่อยๆคลายออกจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ ไม่มีตรงไหนบอกเลยว่าร่างสถิตคนอื่นมีการใช้สี่มหาวิถีแบบที่คลายออกได้แบบรุ่นที่4 แม้แต่กาอาระก็เป็นพลังสถิตที่ไม่ได้ค่อยๆคลายออก และไม่ใช่การผนึก แต่เป็นการเข้าสิงของสัตว์หางโดยตรงต่างจากการใช้ผนึกสี่มหาวิถีที่ขังสัตว์หางไว้ในร่างแบบนารูโตะ--ไม่มีชื่อ 02:01, 15 สิงหาคม 2551 (ICT)

อิจิบิ โนะ ชูคาคุ[แก้]

ชูคาคุ จากที่หาอ้างอิงได้ ตามตำนานเป็นสัตว์อสูรที่เป็น แรคคูน บางเวอร์ชั่นมีการสะพายไหเหล้า เล่นคำกับคำว่า shukaku ที่แปลว่าขี้เมาด้วย คิดว่ายังไงก็ไม่ใช่จิ้งจอกแดงครับ ในนารุโตะเองคงไม่บังอาจแผลงตำนาจเปลี่ยนจากสัตว์อีกชนิดเป็นคนละชนิดกันแน่ๆ--ไม่มีชื่อ 02:01, 15 สิงหาคม 2551 (ICT)

ผมได้ลองฝากเพื่อนค้นจากไกด์บุ๊คนารูโตะดู ตอนนี้แน่ใจเป็นอย่างยิ่งครับว่า ชูคาคุคือตัวแรคคูน ตรงนี้ได้รับการเสริมจากผู้รู้ว่าตัวทานูกิของญี่ปุ่นนั้นต่างจากแรคคูนของฝรั่งเล็กน้อย ตัวทานูกิ หรือเรียกว่า "หมาแรคคูน" เป็นต้นแบบของ ชูคาคุแน่นอนครับไม่ใช่จิ้งจอกแดง--ไม่มีชื่อ 01:07, 17 สิงหาคม 2551 (ICT)

ฮัจจิบิ โนะ ยามาตะ[แก้]

ตามตำนานแล้ว ยามาตะตัวนี้ คือตัวเดียวกับ ยามาตะโนะโอโรจิ ซึ่งแปลว่างู คิดว่าไม่น่าจะกลายเป็นปลาหมึกหรือกิ้งก่าครับ แม้ว่าตามเนื้อเรื่องจะมีงูแปดหัวที่เหมือนกับยามาตะโนะโอโรจิปรากฏตัวออกมาให้ที่อื่นและถูกปราบด้วยดาบของสึซาโนะโอะไปแล้วก็ตาม--ไม่มีชื่อ 02:01, 15 สิงหาคม 2551 (ICT)

จริงๆแล้วผมก็ยังไม่มีอะไรยืนยันนะครับเพราะตอนที่พิมพ์นี้ ตามเนื้อเรื่อง ยามาตะก็เพิ่งโผล่มาแค่เงาำดำๆ เพียงแต่อ้างอิงจากตำนานไว้ก่อนเท่านั้น--ไม่มีชื่อ 02:22, 15 สิงหาคม 2551 (ICT)
ตอนล่าสุดในโชเน็นจัมพ์ มีภาพร่างสถิตที่ขยายเต็มๆแล้วนะครับ ไม่ใช่ทั้งงู ทั้งกิ้งก่า แต่มีปลาหมึกผสมอยู่ เป็นร่างของอสูรที่มีหัวเป็นวัว และมีหางเป็นเหมือนกับปลาหมึกครับ--ไม่มีชื่อ 14:32, 24 สิงหาคม 2551 (ICT)

อ้างอิงประวัติศาสตร์[แก้]

ก่อนหน้านี้มีเขียนว่าโป๊ยเซียน เป็นคนจับสัตว์หางพวกนี้กับพวกเทพซูกากุ และเทพอิโซนาเดะ ปรากฏในตำนานญี่ปุ่น (แต่โป๊ยเซียนมันน่าจะเป็นจีน) เลยขอลบส่วนนั้นออกไปก่อนละกันครับ เหมือนกับเขียนเล่น แต่ถ้ามีปรากฏในประวัติศาสตร์จริง ฝากรบกวนคนเขียนเดิมนำข้อมูลแหล่งอ้างอิงมาเติมด้วยครับ --07:48, 6 พฤศจิกายน 2551 (ICT)