พูดคุย:มาตรแวร์นีเย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หมายเหตุเรื่องชื่อบทความ[แก้]

ชื่อบทความที่เปลี่ยนใหม่ถูกตามหลักการถอดเสียงแบบที่ออกใหม่ล่าสุด ทั้งนี้ใคร่ขอชี้แจงในหน้าพูดคุยว่า ชื่อดังกล่าวไม่นิยมใช้ในวงการวิทยาศาสตร์ (อ่านตามภาษาอังกฤษ) อาจก่อให้เกิดความสับสนหากนำไปใช้งาน (พูดเวอร์เนียร์เข้าใจ แต่พูดแวร์นีเยไม่มีใครรู้ เช่นเดียวกับทฤษฎีวงจรไฟฟ้าของเลยง เตเวอแน็ง (Léon Thévenin) กลับรู้กันในชื่อเทเวนิน) และตามปกติบทความที่ข้าพเจ้าเขียน แม้แต่บทความชีวประวัติของผู้นับถือศาสนาอื่น จะใช้พุทธศักราชเป็นหลัก ดังนั้นจึงใคร่ขอแก้เป็นพุทธศักราชทุกแห่ง

อันที่จริง แม้จะเรียกเครื่องมือนี้ว่า scale แต่มันคือ มาตรวัด หาใช่มาตราสำหรับการแปลงหน่วยหรือมาตราคูณพิกัดเชิงมุมไม่ เครื่องมือนี้เรียกอีกอย่างว่า เวอร์เนียร์/แวร์นีเยคาลิปเปอร์

ทั้งนี้หากบทความด้านมาตรวิทยาแก้ไขหมดแล้ว ข้าพเจ้าอาจพิจารณาแก้กลับไปเป็น มาตรวัดแวร์นีเย หรือ มาตรวัดเวอร์เนียร์ แล้วทำหมายเหตุชื่อตามหลักการถอดเสียงไว้ท้ายหน้าแทน คำ แวร์นีเย ขอสงวนไว้เฉพาะบทความชีวประวัติ เพื่อป้องกันความสับสนของผู้อ่านและผู้เชี่ยวชาญที่พบบทความเป็นสำคัญ ทำนองเดียวกับ แอมแปร์/อ็องแปร์ --Char 03:48, 14 พฤศจิกายน 2557 (ICT)

  1. ตกลงครับ เช่นนั้นขอยกแหล่งอ้างอิงที่พบใช้ด้วยครับ จะได้เปลี่ยนไปตามนั้น ตอนนี้ใช้ศัพท์บัญญัติและทับศัพท์ราชบัณฑิตยสถานอยู่
  2. ผมสังเกตว่าคุณแปล sextant ด้วย คือ ผมค้นคำนี้แล้วมีผู้แปลว่า เครื่องวัดแดดด้วย ปัญหาเดียวกันครับ
  3. ขอชี้แจงเหตุที่ใช้ ค.ศ. เนื่องจากมีความคาดเคลื่อนในการนับ พ.ศ. (เช่น มีปีหนึ่งที่มี 3 เดือน หรือบางช่วงนับวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่) ฉะนั้น จึงเลี่ยงไปใช้ ค.ศ. แทนครับ ไม่เช่นนั้นอาจต้องกำกับไว้ว่า นับแบบใหม่ หรือเทียบจากคริสต์ศักราช จะได้เข้าใจว่ามาจาก ค.ศ. + 543 --Horus | พูดคุย 10:05, 14 พฤศจิกายน 2557 (ICT)

คุณฮอรัสเข้าใจผิดไป scale แปลได้หลายอย่าง ในที่นี้แปลว่า "มาตร" คือเครื่องมือวัดที่มีขีดบอกระดับ เช่นไม้บรรทัดเป็นต้น แต่คำว่า "มาตรา" หมายถึง ระบบการวัด เช่นมาตราริกเตอร์ มาตราส่วน มาตราเล็ก มาตราใหญ่ เครื่องมือนี้แวร์นีเยเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น ไม่ได้สร้างระบบการวัดใหม่ขึ้นมา ดังนั้นการเอาคำว่ามาตรามาเป็นแทนไม้บรรทัด เพราะเห็นว่าเป็นคำว่า scale เหมือนกันจึงผิดความหมายครับ ขอให้เปลี่ยนโดยด่วน --Octra Bond 19:01, 14 พฤศจิกายน 2557 (ICT)

คำว่า sextant ผมเป็นคนใส่ภาษาไทยเองครับ เอามาจากศัพท์บัญญัติภูมิศาสตร์ว่า เครื่องวัดมุมแนวนอน, เครื่องวัดแดด --Potapt (พูดคุย) 19:26, 14 พฤศจิกายน 2557 (ICT)
ขอบคุณที่ทักท้วงครับ --Horus | พูดคุย 20:21, 14 พฤศจิกายน 2557 (ICT)


เรียนท่านผู้ใช้ทั้งหมดที่สนทนาในที่นี้ ผมใคร่ขออภัยหากข้อความไม่เหมาะสม เหตุผลที่ผมใช้ พ.ศ. ก็อย่างที่บอก คือ เพื่อให้เป็นระเบียบเดียวกันกับบทความที่กระผมเขียนมาแล้ว และไม่ให้ฝืดเกินไปเวลาคนส่วนมากอ่าน แต่อาจบอกไปว่า ใช้แบบใหม่ ขึ้นต้นวันที่ 1 มกราคม (คือ พ.ศ.2484 และปีหลังจากนั้น เป็นต้นมา) ไม่ได้ใช้แบบเก่าที่ขึ้นต้นวันที่ 1 เมษายน นัยตาม พ.ร.บ.ปีปฏิทิน พ.ศ.2483 เพื่อให้ไม่รู้สึกปวดหัวสำหรับผู้อ่านส่วนมากที่คุ้นกับระบบ พ.ศ. ทั้งนี้ อาจพิจารณาใส่หมายเหตุไว้ ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม

อนึ่ง การบัญญัติศัพท์และถอดเสียงของทางราชบัณฑิตยสถาน หลายศัพท์และหลายชื่อไม่ตรงกับที่ทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ใช้ในตำราและสิ่งพิมพ์ของตน รวมไปถึงสิ่งพิมพ์วิชาการที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดทำ แม้จะออกใหม่หลังปี พ.ศ. 2554 แล้วก็ตาม ด้วยเหตุนี้ผมจึงได้หมายเหตุเอาไว้ท้ายบทว่า นิยมอ่าน เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์/เวอร์เนียร์ (แต่ผมก็ชอบแวร์นีเยตลอดถึงชื่อที่ใกล้เสียงจริงมากกว่า แค่ขัดที่คนส่วนมากในสายเดียวกันเขาไม่รู้เรื่องเท่านั้นเอง ยิ่งถ้าพูดกับวิศวกรว่าแวร์นีเย คงต้องมีปัญหาแน่นอน)

อย่างไรก็ดีกระผมขอกลับไปทำการสร้างอีกสักบทความ คือ ไมโครมิเตอร์ (คนละอันกับ ไมโครเมตร เป็นเครื่องวัดชนิดสกรูหนีบวัตถุ) หากไม่มีบทความดังกล่าวบทความนี้ย่อม "ขาดรส" แน่นอน :) --Char 09:06, 15 พฤศจิกายน 2557 (ICT)

แก้ไขย่อหน้าแรกเล็กน้อย เยื้องมากไป --Char 09:07, 15 พฤศจิกายน 2557 (ICT)