พูดคุย:พระพุทธสิหิงค์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงพระธรรมจักร
ธงพระพุทธศาสนาสากล
พระพุทธสิหิงค์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระพุทธศาสนา และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

พระพุทธสิหิงค์[แก้]

เนื้อหาของบทความนี้ ผมเห็นว่า เหมือนๆ กับหลายๆ เวป ยังมีความสับสนอยู่มาก ว่าพระพุทธสิหิงค์ องค์ไหนใน 3 องค์ คือ องค์จริงที่สร้างมาจากกรุงลังกา และองค์ไหนที่สร้างขึ้นในเมืองไทย ผมหามาหลายต่อหลายเวป ข้อมูลจะคล้ายๆ กันหมด เหมือนกับที่ Post ไว้ แต่ไม่มีความชัดเจน ของทั้ง 3 องค์ จนมาพบเวปหนึ่ง ทางเข้าของเวป ไม่ได้ระบุว่าได้ข้อมูลมาจากที่ไหน อย่างไร แต่อยากเอามาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันเพื่อเป็นข้อมูล ละเอียดดีมากทีเดียวครับ

ผมเขียน WikiPedia ไม่เป็น รบกวนเพื่อนๆ ที่เขียนเป็นนำข้อความเหล่าไปไปเขียนที่หน้าเวปด้วยนะครับ

ข้อมูลต้นฉบับ

http://www.pantown.com/board.php?id=15133&area=1&name=board7&topic=7&action=view

เนื้อความ (เผื่อ Link ถูกลบ หรือ หายไป)

"พระพุทธสิหิงค์เมื่อประทับอยู่ในที่ใดๆ ย่อมทรงนำให้พระพุทธศาสนา รุ่งเรืองดังดวงประทีป เหมือนหนึ่งว่าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่"

"ตำนานพระพุทธสิหิงค์"

เรื่อง ตำนานหรือประวัติของพระพุทธสิหิงค์ ได้มีท่านผู้เรียบเรียงไว้แล้วหลายท่าน เช่น พระโพธิรังษี ปราชญ์เชียงใหม่ ได้เขียนเป็นภาษามคธราว พ.ศ. ๑๙๖๐ และบรรยายเรื่องราวมาจนถึง พ.ศ. ๑๙๕๔ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ต่อจากพระโพธิรังษี มาจนถึงปัจจุบันสมัยหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ได้เรียบเรียงใหม่ เป็นตำนานย่อและกล่าวข้อวิจารณ์ในทางโบราณคดี

พระพุทธสิหิงค์เป็นพระ พุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ลังกาได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๗๐๐ ได้เข้าสู่สยามในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นสมัยต้นที่ประเทศสยามได้กำเนิดขึ้น ฉะนั้น จึงต้องนับว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของสยามอย่างแท้ จริง

แต่ในเมืองไทยเรา พระพุทธรูปที่ทรงพระนามว่าพระพุทธสิหิงค์นั้นมีอยู่ถึง ๓ องค์ คือ ๑. ในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพมหานคร ๒. ในหอพระสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ๓. ในวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อ เป็นดังนี้ ก็เกิดปัญหาว่า องค์ไหนเป็นพระพุทธสิหิงค์ที่พระมหากษัตริย์ลังกาได้ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๗๐๐ และเข้ามาสู่สยามในสมัยพ่อขุนรามคำแหง

หลวงบริบาลบุริภัณฑ์ได้ เรียบเรียงข้อวิจารณ์ไว้ว่า โดยอาศัยเหตุผลในลักษณะของศิลปกรรมและโบราณคดี และเมื่อเอาลักษณะพระพุทธรูปลังกาเข้ามาเทียบเคียงกันแล้ว ได้เสนอว่าพระพุทธสิหิงค์ที่ได้ลักษณะอันควรเชื่อว่าสร้างในลังกานั้น คือพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เชิญเสด็จออกมาให้ประชาชนทำสักการบูชาและสรงน้ำ ตามจารีตประเพณีของไทยในวันนักขัตฤกษ์ขึ้นปีใหม่

พระพุทธสิหิงค์ พระองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบ ส่วนสูง วัดจากพื้นที่ประทับถึงรัศมีได้ ๗๙ เซนติเมตร ส่วนกว้างวัดตามหน้าตัดได้ ๖๓ เซนติเมตร พระสรีระได้ส่วนและงามที่สุด ซึ่งเมื่อยกพระพุทธชินราชจังหวัดพิษณุโลก เสียแล้ว ยากจะหาพระพุทธรูปโบราณในเมืองไทยงดงามได้ส่วนเทียบเทียมพระพุทธสิหิงค์องค์ นี้

ตำนานของพระโพธิรังษีกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์นี้เจ้าลังกา ๓ องค์ได้ร่วมพระทัยกันพร้อมด้วยพระอรหันต์ในเกาะลังกาสร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๗๐๐ ก่อนจะสร้างก็ได้ปรึกษาสอบสวนถึงพระพุทธลักษณะอย่างถี่ถ้วน โดยหมายจะให้ได้พระรูปเหมือนองค์พระพุทธเจ้าจริงๆ ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าพญานาคซึ่งเคยเห็นองค์พระพุทธเจ้ามาแปลงกายให้ดูเป็น ตัวอย่าง ในขณะทำการหล่อช่างคนหนึ่งทำไม่ถูกพระทัยเจ้าองค์หนึ่งเจ้าองค์นั้นทรงพระ พิโรธหวดด้วยไม้ ถูกนิ้วมือช่างเจ็บปวด ครั้นเมื่อหล่อพระพุทธสิหิงค์แล้วนิ้วพระหัตถ์พระพุทธสิหิงค์ก็มีรอยพิรุธไป นิ้วหนึ่ง

มาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. ๑๘๒๐-๑๘๖๐) มีพระภิกษุลังกาเข้ามาสู่ประเทศสยาม พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงทราบถึงลักษณะที่งดงามของพระพุทธสิหิงค์ ก็โปรดเกล้าฯ ให้พระยานครศรีธรรมราชแต่งทูตเชิญพระราชสาส์นไปขอประทานพระพุทธสิหิงค์ จากพระเจ้ากรุงลังกา พระเจ้ากรุงลังกาก็ถวายมาตามพระราชประสงค์ พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปรับพระพุทธสิหิงค์ถึงนครศรีธรรมราช แล้วเชิญมาประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัยนั้นโดยตลอดเวลาที่เคลื่อนขบวนเดินทางไป พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประคององค์พระพุทธสิหิงค์ไปตลอดทาง

พระมหา กษัตริย์กรุงสุโขทัยทุกพระองค์ได้ทรงเคารพบูชาพระพุทธสิหิงค์ตลอดมา ครั้นเมื่อได้ตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้น ทางสุโขทัยอ่อนกำลัง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) เจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้สุโขทัยไว้ในอำนาจเมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๐ พระยาไสยลือไทย เจ้ากรุงสุโขทัย ถูกลดตำแหน่งเป็นพระเจ้าประเทศราชลงมาครองพิษณุโลก ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ที่พิษณุโลกด้วย เมื่อพระยาไสยลือไทยสิ้นพระชนม์แล้วสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ก็โปรดให้เชิญพระพุทธสิหิงค์โดยทางเรือลงมาไว้กรุงศรีอยุธยา

พระยาไสลือไทยจะสิ้นพระชนม์ปีใดไม่แน่ ฉะนั้นจึงไม่ทราบแน่นอนว่า พระพุทธสิหิงค์ได้ประดิษฐานอยู่พิษณุโลกนานเท่าใด

เมื่อ ทางกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยไว้ในอำนาจแล้ว ได้จัดการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองมณฑลคือ เมืองตาก เมืองกำแพงเพชร และเมืองนครสวรรค์ เป็นมณฑลหนึ่ง มีเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองหลวง ให้พระยายุธิษฐานระเป็นผู้ปกครอง และเมืองสุโขทัย สวรรคโลก กับพิษณุโลกเป็นอีกมณฑลหนึ่ง ให้เจ้านายในวงศ์พระร่วมปกครอง เมื่อสิ้นเจ้านายในวงศ์พระร่วงแล้ว ตามธรรมดารัชทายาทแห่งกรุงศรีอยุธยาขึ้นไปปกครองเอง พระยายุธิษฐานระผู้ครองกำแพงเพชรนั้น ปรากฏว่าเป็นราชบุตรเลี้ยงของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ โดยพระมเหสีของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ นั้นไม่สามีและมีบุตรชายคนหนึ่งก่อนที่จะได้เป็นพระมเหสี พระยายุธิษฐิระปรารถนาจะได้พระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานไว้ที่เมืองกำแพงเพชร จึงให้พระมเหสีผู้เป็นมารดาของตนขอพระพุทธรูปองค์หนึ่ง พระบรมราชาธิราชที่ ๑ พระราชทานและโปรดให้ขุนพุทธบาลผู้รักษาพระ เลือกพระพุทธรูปส่งไปองค์หนึ่ง พระมเหสีได้ให้สินบนขุนพุทธบาล เลือกพระพุทธสิหิงค์ส่งไปทั้งนี้จะเป็นปีใดไม่แน่ แต่ต้องก่อน พ.ศ. ๑๙๓๑ เพราะสมเด็จพระบรมราชาธิราชสวรรคตใน พ.ศ.๑๙๓๑ และมีเรื่องต่อไปว่า ใน พ.ศ. ๑๙๓๑ นี้เองมีภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในเมืองกำแพงเพชร ปั้นรูปจำลองพระพุทธสิหิงค์ด้วยขี้ผึ้งแล้วนำพระรูปจำลองนี้ไปเชียงราย เจ้ามหาพรหมผู้ปกครองนครเชียงรายได้เห็นก็ชวนเจ้ากือนาพี่ชาย ผู้ครองนครเชียงใหม่ยกกองทัพไปกำแพงเพชรและขู่ขอพระพุทธสิหิงค์ พระยายุธิษฐระต้องยอมยกพระพุทธสิหิงค์ให้ไปพระพุทธสิหิงค์จึงได้ไปประดิษฐาน อยู่เชียงรายใน พ.ศ. ๑๙๓๑

พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่เชียงรายราว ๒๐ ปี ในขณะอยู่เชียงรายนี้ เจ้ามหาพรหมให้ช่างตัดนิ้วพระหัตถ์พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งพิรุธมาแต่เดิมนั้นออกเสีย แล้วปั้นหุ่นขี้ผึ้งหล่อเนื้อทองสัมฤทธิ์เทติดเข้าใหม่จนนิ้วพระหัตถ์ บริสุทธิ์ดี พอถึง พ.ศ. ๑๙๕๐ เชียงใหม่กับเชียงรายเกิดวิวาทถึงกับรบกัน เชียงรายแพ้ เจ้าแสนเมืองมาเจ้าครองนครเชียงใหม่ก็เชิญพระพุทธสิหิงค์ไว้เชียงใหม่ พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่เชียงใหม่ราว ๒๕๕ ปี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้ใน พ.ศ. ๒๒๐๕ โปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานไว้ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ กรุงศรีอยุธยาครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ ๒ เชียงใหม่เป็นพวกพ้องพม่า จึงสามารถเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับเชียงใหม่ได้ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐

มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองเชียงใหม่ได้รวมอยู่กับไทยแล้วพม่ายกกองทัพล้อมเชียงใหม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทยกกองทัพไปขับไล่กองทัพพม่าไปพ้นเมือง เชียงใหม่ ครั้นแล้วสมเด็จฯ กรมพระราชวังบวร จึงทรงเชิญพระพุทธสิหิงค์มากรุงเทพฯ (พ.ศ. ๒๓๓๘) ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานอยู่จนบัดนี้

เมื่อ สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคตแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระพุทธสิหิงค์ลงไปไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) พรพุทธสิหิงค์ได้ประดิษฐานอยู่ในที่นั้นมาตลอดรัชกาลที่ ๑-๒-๓ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดพระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชิญกลับมาไว้วัง หน้าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะประดิษฐานพระพุทธ สิหิงค์ไว้ ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) จึงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างเขียนตำนานพระพุทธสิหิงค์ที่ฝาผนังข้างในพระอุโบสถ ยังมิทันสำเร็จก็เสด็จสวรรคตเสียก่อนความคิดที่จะให้ประดิษฐานพระพุทธสิ หิงค์ไว้ ณ วัดบวรสถานสุทธาวาสก็เป็นอันเลิกล้มไป พระพุทธสิหิงค์คงประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์จนทุกวันนี้

ตาม ประวัติที่กล่าวมาแล้วนั้น อาจสรุปได้ว่า พระพุทธสิหิงค์สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๗๐๐ มีอายุนับถึงเวลานี้ราว พ.ศ. ๗๐๐ มีอายุนับถึงเวลานี้ราว ๑,๗๘๓ ปี และประดิษฐานราว พ.ศ. ๑๘๕๐ ได้เสด็จเข้ามาสู่สยามประเทศ และประดิษฐานอยู่ที่กรุงสุโขทัย ราชธานีแรกของประเทศสยาม ราว ๗๐ ปี

ราว พ.ศ. ๑๙๒๐ ได้ประดิษฐานที่พิษณุโลก ราว ๕ ปี ราว พ.ศ. ๑๙๒๕ ได้ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ราว ๕ ปี ราว พ.ศ. ๑๙๓๐ ได้ประดิษฐานที่กำแพงเพชร ราว ๑ ปี ราว พ.ศ. ๑๙๕๐ ได้ประดิษฐานที่เชียงราย ราว ๒๐ ปี ราว พ.ศ. ๒๒๐๕ ได้ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ราว ๑๐๕ ปี ราว พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้ประดิษฐานที่เชียงใหม่ ราว ๒๘ ปี ราว พ.ศ. ๒๓๓๔ ได้ประดิษฐานที่กรุงเทพฯ จนถึงบัดนี้ ๑๔๔ ปี

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์เรื่องราวของพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์กรุงเพทมหานคร ไว้ความว่า

"เรื่อง ตำนานของพระพุทธสิหิงค์นี้ว่า เดิมพระเจ้ากรุงลังกาองค์ ๑ ทรงสร้างขึ้นไว้ พระเจ้านครศรีธรรมราชไปขอมาถวายสมเด็จพระร่วง(รามราช) พระเจ้ากรุงสุโขทัยๆ ทรงปฏิบัติบูชามาหลายรัชกาลจนสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ กรุงศรีอยุธยาได้เมืองสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาไว้ในกรุงศรีอยุธยา อยู่ได้หน่อยหนึ่งพระมเหสีคิดอุบายทูลขอให้พระยาญาณดิศผู้เป็นบุตร ไปไว้ ณ เมืองกำแพงเพชร อยู่นั่นไม่ช้าพระยามหาพรหม เจ้าเมืองเชียงรายกองทัพมาตีเมืองกำแพงเพชรพระยาญาณดิศสู้ไม่ได้ยอมเป็น ไมตรี พระยามหาพรหมจึงขอพระพุทธสิหิงค์ไปไว้เมืองเชียงราย ต่อมาพระยามหาพรหมเกิดวิวาทกับพระเจ้าแสนเมืองมาเจ้านครเชียงใหม่ผู้เป็น หลาน พระเจ้าแสนเมืองมายกกองทัพไปตีได้เมืองเชียงราย จึงเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมากับพระแก้วมรกตด้วยกัน พระพุทธสิหิงค์อยู่มาในเมืองเชียงใหม่ จนสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ได้ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๒๐๕ จึงเชิญพระ พุทธสิหิงค์ลงมากรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานไว้ในวัดพระศรีสรรเพชญ พระพุทธสิหิงค์อยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อมาตลอด ๑๐๕ ปี จนเสียพระนครแก่พม่าข้าศึก สมัยนั้นชาวเชียงใหม่ยังเป็นพวกพม่า จึงเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปไว้เมืองเชียงใหม่

ครั้นถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ ไทยได้มณฑลภาคพายัพกลับมาเป็นของไทย แต่ในสมัยนั้นผู้คนร่อยหรอไม่พอจะตั้งรักษาเมืองเชียงใหม่ไว้ต่อสู้พม่าได้ ต้องทิ้งเมืองเชียงใหม่ให้ร้าง คงรักษาแต่นครลำปางเป็นที่มั่นอยู่คราว ๑ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงพระดำริว่า พระพุทธสิหิงค์เคยเป็นพระพุทธรูปสำคัญในกรุงศรีอยุธยา โดยมีตำนานดังแสดงมา จึงได้โปรดให้เชิญลงมายังกรุงเทพฯ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๓๘

นอกจากนี้ยังมีบันทึกตำนานพระพุทธสิหิงค์ในพระราชพงศาวดารไว้ด้วย ดังปรากฏความว่า

ตำนานพระพุทธสิหิงค์ ตามพระราชพงศาวดาร ตำนาน พระพุทธสิหิงค์ที่พระโพธิรังสีแต่ง กล่าวความตั้งแต่สร้างพระพุทธสิหิงค์ในลังกาทวีป แล้วสมเด็จพระร่วงเจ้าได้มาไว้ในกรุงสุโขทัยประมาณว่าในรัชกาลพระเจ้าราม คำแหงในระหว่าง พ.ศ. ๑๙๒๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ตีได้อาณาเขตสุโขทัย จึงเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาไว้ ณ กรุงศรีอยุธยาในรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ นั้นเอง ราว พ.ศ. ๑๙๒๕ พระยาญาณดิศ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้พระพุทธสิหิงค์ขึ้นไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชร ต่อมาถึง พ.ศ. ๑๙๓๑ ท้าวมหาพรหมได้พระพุทธสิหิงค์เชิญขึ้นไปไว้เมืองเชียงราย พระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ตีเมืองเชียงรายได้พระพุทธสิหิงค์มาไว้เมืองนครเชียงใหม่ เมื่อราว พ.ศ. ๑๙๕๐ ปี เรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ที่พระโพธิรังสีแต่งมาจบอยู่เพียงนี้ ยังมีเรื่องตำนานของพระพุทธสิหิงค์ต่อนั้นมาปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุต่างๆ มีหนังสือพระราชพงศาวดารเป็นต้น จะรวบรวมเนื้อความมาสาธกไว้ต่อไปนี้


การอัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์ จ.เชียงใหม่ ออกให้ประชาชนสรงน้ำในวันสงกรานต์

พระ พุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ประมาณ ๒๕๕ ปี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อปีขาล จุลศักราช ๑๐๒๔ พ.ศ. ๒๒๐๕ โปรดให้เชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมากรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานไว้ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จนตลอดสมัยกรุงเก่า มีเนื้อความปรากฏครั้งราชทูตลังกาเข้ามาขอพระสงฆ์ไปอุปสมบทตั้งศาสนวงศ์ใน ลังกาทวีป ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๙ ว่าได้ไปบูชาพระพุทธสิหิงค์กล่าวไว้ในศุภอักษณตอบไปยังเมืองลังกาดังนี้

" อนึ่ง ทูตานุทูต อำมาตย์ได้เห็นพระพุทธสิหิงค์ในมณฑปหน้ามโนรมย์ บรมพุทธารามวิหารประดับทองเงิน รัตนงามวิจิตร จึงพากันเจรจาเหตุที่ไม่ทราบเรื่องนั้นให้กันฟัง ราชบุรุษจึงนำเรื่องนั้นมาเล่าให้ทูตานุทูตทราบชัด ทูตานุทูตอำมาตย์ทั้งหลายต่างพากันพูดว่าตำนานพระพุทธสิหิงค์นิทานนนี้ ในกรุงศรีวัฒนนครไม่มี เราให้ราชบุรุษจาฤกตำนานพระพุทธสิหิงค์นิทานส่งมาให้ ขอให้ท่านอรรคมหาเสนาบดีได้นำตำนานพระพุทธสิหิงค์นิทานนี้ทูลพระเจ้ากรุง ศิริวัฒน แล้วทูลว่า ขอให้ทรงหวงแหนพระตำนานนี้ไว้ในกรุงศิริวัฒนบุรีด้วย"

พระ พุทธสิหิงค์อยู่ในกรุงศรีอยุธยาตลอดเวลา ๑๐๕ ปี จนเมื่อกรุงเสียแก่พม่าข้าศึก ครั้งนั้นพวกเมืองเชียงใหม่เข้ากับพม่า จึงเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับขึ้นไปไว้เมืองเชียงใหม่เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐

ถึง รัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๓๘ เวลานั้นไทยได้เมืองเชียงใหม่ไว้เป็นเมืองขึ้นแล้ว พม่ายกกองทัพมาล้อมเมืองเชียงใหม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชรังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จยกกองทัพหลวงขึ้นไปรบพม่าข้าศึก ตีกองทัพพม่าแตกยับเยินไป จับตัวอุบากองแม่ทัพพม่าได้ ครั้งเสร็จการศึกแล้ว กรมพระราชวังบวรฯ ทรงพระราชดำริว่า พระพุทธสิหิงค์เคยเป็นประพุทธรูปสำคับสำหรับพระนครอยู่ในกรุงเก่า ข้าศึกมาชิงเอาไปเมื่อกรุงเสีย จึงโปรดให้เชิญพระพุทธสิหิงค์กลับลงมากรุงเทพฯ และทูลขอไว้ในพระราชวังบวรฯ ทรงอุทิศพระราชมณเฑียร์องค์ ๑ ถวายเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระราชนามว่า "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์" ฝาผนังข้างในให้เขียนเรื่องปฐมสมโพธิกับเทพชุมนุม ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

เมื่อ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคตแล้วที่พระราชวังบวรฯว่าง ไม่มีผู้ปฏิบัติบูชา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดให้เชิญพระพุทธสิหิงค์ มาไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งบนฐานชุกชีข้างด้านหน้าตรงที่ตั้งพระสัมพุทธพรรณีทุกวันนี้ อยู่ตลอดรัชกาลที่ ๑ ๒ และที่ ๓ จนถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชิฐพระพุทธสิหิงค์กลับขึ้นไปไว้ พระราชวังบวรฯ เมื่อวันที่ ๑ ฯ๙ ค่ำ ปีกุน ตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ ทรงพระราชดำริจะให้ไปประดิษฐานไว้เป็นพระประธานในวัดบวรสถานสุทธาวาส ซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ทรงสร้างไว้ในพระราชวังบวรฯ ทำนองอย่างวัดพระแก้ววังหน้า ทราบว่าได้โปรดให้เจ้าฟ้าอิศราพงษ์ทรงบัญชาการบูรณะวัดบวรสถานสุทธาวาสข้าง ในพระอุโบสถ ฝาผนังให้เขียนเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ การยังไม่ทันสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้วเสียก่อน เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปประทับที่พระราชวังบวรฯ เนืองๆ ด้วยมีพระราชประสงค์จะมิให้เป็นวังว่างดังในรัชกาลก่อนๆ พระพุทธสิหิงค์จึงคงประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ มิได้เชิญลงมาไว้วังหลวงเหมือนอย่างเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑

พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนับถือพระพุทธสิหิงค์มาก ชอบพระทัยว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีสิริลักษณะงามอย่างยิ่งพระองค์ ๑ และได้โปรดให้จำลองหล่อขนาดใหญ่กว่าเดิม ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์พระองค์ ๑ ประดิษฐานไว้ในซุ้มที่องค์พระปฐมเจดีย์พระองค์ ๑ และจำลองขนาดน้อยหล่อด้วยทองคำ ประดิษฐานไว้ในพระพุทธมณเฑียรในพระบรมมหาราชวังอีกพระองค์ ๑ ส่วนพระพุทธสิหิงค์พระองค์เดิมนั้นยังตั้งเป็นประธานอยู่ที่พระที่นั่งพุ ทไธสวรรย์ จนตราบเท่าทุกวันนี้

พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กรุงเทพ

พระ พุทธสิหิงค์ แม้ในเวลาปัจจุบันนี้ยังเป็นที่นับถือของชาวเมืองนครศรีธรรมราชและเมือง เชียงใหม่ ทั้งสองแห่งนั้นยังมีพระพุทธรูป ซึ่งเรียกว่าพระพุทธสิหิงค์ พระองค์ที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นพระขนาดย่อมหน้าตัก ๑๔ นิ้ว รักษาไว้ในหอพระสิหิงค์ ที่จวนเดิมกลางเมืองนครศรีธรรมราชพระองค์ที่เมืองเชียงใหม่หน้าตัก ๒ ศอก ตั้งไว้ในซุ้มคูหาวิหารพระสิหิงค์เดิมในวัดพระสิหิงค์กลางเมืองเชียงใหม่ ยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้

พระพุทธสิหิงค์ หอพระสิหิงค์ นครศรีธรรมราช

ส่วน พระพุทธสิหิงค์ที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏหลักฐานตามเหตุการณ์และประวัติที่ถูกบันทึกไว้เป็นภาษาบาลี ซึ่งพระโพธิรังษี ชาวเมืองหริภุญชัย ผู้รจนาคัมภีร์จามเทวีวงศ์ จารึกเรื่องราวเป็นภาษาบาลีไว้ มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งพระรัตนปัญญาเถระรจนาไว้เป็นภาษาบาลีเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีอยู่ในตำนานเมืองเชียงใหม่ เรื่องพระสีหลปฏิมา หรือพระพุทธสิหิงค์ ในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ มีข้อความว่า

พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ "ได้ ยินว่า เมื่อพระศาสดาปรินิพานล่วงแล้วได้ ๗๐๐ ปี พระเถระที่เป็นขีณาสพ (พระอรหันต์) ยังมีอยู่ในลังกาทวีป ๒๐ องค์ ครั้งนั้นพระเจ้าสีหลใคร่จะทอดพระเนตร รูปของพระพุทธ จึงเสด็จไปยังวิหาร ตรัสถามพระสังฆเถระว่า ทราบว่าพระพุทธของเราทั้งหลาย เมื่อทรงพระชนม์อยู่ ได้เสด็จมาลังกาทวีปนี้ถึงสามครั้ง ผู้ที่ได้เห็นพระพุทธนั้นเดี๋ยวนี้จะยังมีอยู่หรือหามิได้ ทันใดนั้นด้วยอานุภาพของพระขีณาสพ ราชาแห่งนาคได้แปลงรูปมาเป็นคน แล้วเนรมิตตนเป็นรูปพระพุทธ เพื่อจะเปลื้องความสงสัยของพระเจ้าสีหล พระราชาทรงบูชาพระพุทธรูปเจ็ดวันเจ็ดคืน ครั้งนั้นพระราชาตรัสหาช่างปฏิมากรรมขั้นอาจารย์มาแล้ว โปรดให้เอาขี้ผึ้งปั้นถ่ายแบบพระพุทธรูป แบบพระพุทธ มีอาการดั่งที่นาคราชเนรมิตและทำให้แม่พิมพ์ถ่ายแบบพระพุทธนั้นด้วย แล้วให้เททองซึ่งผสมด้วยดีบุก ทองคำ และเงิน อันหลอมละลายเทลงในแม่พิมพ์นั้น พระพุทธปฏิมานั้นเมื่อขัดและชักเงาเสร็จแล้วงามเปล่งปลั่ง เหมือนองค์พระพุทธยังทรงพระชนม์อยู่

ฝ่ายพระเจ้าสีหลทรงบูชาด้วย เครื่องสักการะและความนับถือเป็นอันมาก โดยเคารพ แม้ว่าพระราชบุตร พระราชนัดดา พระราชปนัดดา (เหลน) ของพระองค์ก็ได้ทรงบูชาพระสีหลปฏิมาสืบๆ กันมา

ต่อจากนั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธปรินิพานได้ ๑,๘๐๐ ปี จุลศักราช ๖๑๘ (ตรงกับ พ.ศ. ๑๗๙๙) มีกษัตริย์องค์หนึ่งทรงพระนามว่า "โรจราช" ครองราชสมบัติอยู่ในเมืองสุโขทัยประเทศสยาม ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของชมภูทวีป (อินเดีย) ได้ยินว่า ครั้งหนึ่ง พระเจ้าโรจราชใคร่จะทอดพระเนตรมหาสมุทร แวดล้อมด้วยทหารหลายหมื่น เสด็จล่องใต้ไปตามลำแม่น้ำน่านจนกระทั่งถึงสิริธรรมนคร (นครศรีธรรมราช) พระเจ้าสิริธรรมครองราชสมบัติอยู่มนเมืองนั้น ได้ทรงต้อนรับเป็นอย่างดี แล้วตรัสเล่าให้พระเจ้าโรจราชฟังถึงความอัศจรรย์ของพระสีหลปฏิมาในลังกาทวีป ตามที่ได้ทรงสดับมา พระเจ้าโรจราชตรัสถามว่าเราจะไปที่นั่นได้ไหม พระเจ้าสิริธรรมตอบว่าไปไม่ได้ เพราะมีเทวดาอยู่สี่ตน ชื่อสุมมเทวราช ๑ รามเทวราช ๑ ลักขณเทวราช ๑ ขัตตคามเทวราช ๑ มีฤทธิ์เดชมาก รักษาเกาะลังกาวีไว้เป็นอย่างดี

เมื่อเป็นดังนั้นสองกษัตริย์จึง ส่งทูตไป ครั้นแล้วพระเจ้าโรจราชก็เสด็จกลับเมืองสุโขทัย ราชทูตไปถึงลังกาทวีป แล้วกราบทูลเรื่องราวให้พระเจ้าสีหลทรงทราบ พระเจ้าสีหลทรงบูชาพระสีหลปฏิมาเจ็ดวันเจ็ดคืน แล้วพระราชทานให้แก่ทูตซึ่งได้อัญเชิญพระสีหลปฏิมาลงเรือกลับ แต่เรือนั้นถูกพายุพัดพาไปกระทบกับหินในท้องทะเลเข้าก็แตกไป ส ่วนพระสีหลปฏิมาประดิษฐานอยู่บนกระดานแผ่นหนึ่งลอยไปได้สามวันถึงสถานที่ แห่งหนึ่งใกล้สิริธรรมนคร ด้วยอานุภาพนาคราชครั้นนั้น เทวดามาเข้าฝัน พระเจ้าสิริธรรมให้เห็นพระสีหลปฏิมาอย่างชัดเจนรุ่งเช้าจึงส่งเรือหลายลำไป ในทิศต่าง ๆ แม้พระองค์ก็ทรงเรือพระที่นั่งเด็จไปทรงค้นพระสีหลปฏิมาด้วยการอธิษฐานของ พระอินทร์ พระเจ้าสิริธรรมทรงพบพระสีหลปฏิมาประดิษฐานบนกระดานแก้วนั่นแล้ว ทรงนำมาสักการบูชา ครั้นแล้วพระเจ้าสิริธรรมจึงส่งพระราชสาสน์ถึงพระเจ้าโรจราชแจ้งว่าได้พระ พุทธปฏิมาแล้ว พระเจ้าโรจราชจึงเสด็จไปสิริธรรมนคร แล้วจึงอัญชิญพระสีหลปฏิมาประดิษฐานยังเมืองสุโขทัย ทรงสักการบูชาแล้วโปรดให้สร้างพระปรางค์ขึ้นองค์หนึ่งในเมืองสัชชนาลัย ล้วนแล้วด้วยศิลาและอิฐโบกปูนขาวหุ้มแผ่นทองแดงแน่นหนา ปิดทองไม่ได้แลเห็นเป็นหินเมื่อสร้างเสร็จแล้วโปรดให้ฉลองมหาวิหารเป็นการ ใหญ่ พร้อมกับมหาชนที่มาประชุมกันกันจากนครต่าง ๆ มีสัชชนาลัย กำแพงเพชร สุโขทัย และชัยนาท เป็นต้น เมื่อพระเจ้าโรจราชทรงสะสมบุญเป็นเอนกแล้วสวรรคต"

ตามเรื่องที่ ว่าพระเจ้าโรจราชครองราชย์กรุงสุโขทัยเมื่อจุลศักราช๖๑๘ หรือ พ.ศ. ๑๗๙๙ นั้น ตามประวัติศาสตร์ว่า คือพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง มาตีเมืองสุโขทัยได้จากขอมแล้ว ตั้งพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และอาจเป็นคนเดียวกับ พระร่วงส่วยน้ำบุตรนายคงเครา พ่อเมืองละโว้ก็ได้ อนึ่ง พระมหากษัตริย์สุโขทัยที่ทรงแต่งทูตไปขอพระสีหลปฏิมาหริอพระพุทธสิหิงค์นั้จ ผู้เรียบเรียงเชื่อตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ไม่ใช่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระพุทธสิงหิงค์มาถึงเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ ไม่ใช่ พ.ศ. ๑๘๐๐

พระพุทธสิหิงค์คงประดิษฐานอยู่ ที่กรุงสุโขทัยจนกระทั่งเสียอิสรภาพแก่สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๑ สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมากรุงศรีอยุธยาด้วย และได้ทรงแต่ตั้งให้ติปัญญา หรือตรีปัญญาอำมาตย์หรือพระยาญาณดิส เป็นเจ้าเมืองวชิรปราการ หรือเมืองกำแพงเพชร เนื่องจากทรงเห็นว่าเป็นเชื้อสายของราชวงศ์พระร่วง ตามคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ว่า อนึ่ง ติปัญญาอำมาตย์ครงสมบัติอยู่ในเมืองกำแพงเพชร ได้ส่งมารดาของท่านถวายแก่พระเจ้าอโยชฆปุระ (อโยชฆปุระ คือกรุงศรีอยุธยา) และมารดาของท่านนั้นได้เป็นที่รักใตร่โปรดปรานของพระเจ้าอโยชฆปุระ ครั้นหนึ่งนางได้ทูลด้วยถ้อยคำเป็นที่รัก ทำทีเป็นทูลขอพระพุทธรูปทองแดงธรรมดา แล้วอัญเชิญพระสีหลปฏิมาส่งมาเมืองกำแพงเพชรโดยเรือเร็ว ฝ่ายติปัญญาอำมาตย์ดีใจยิ่งนักบูชาพระสีหลปฏิมาด้วยเครื่องสักการะอันวิเศษ เป็นอันมาก ด้วยความเคารพสักการะ

อยู่มาวันหนึ่งเจ้ามหาพรหม ผู้เป็นใหญ่ในเชียงรายทรงทราบความมหัศจรรย์ของพระพุทธรูปสีหลจากพระภิกษุ ซึ่งมาจากแคว้นใต้ ทั้งได้ทอดพระเนตรเห็นรูปขี้ผึ้งซึ่งพระภิกษุนั้นปั้นไว้มีลักษณะเหมือนพระ สีหลปฏิมา ทรงดีพระทัย แต่แล้วก็กลับเสียพระทัยครั้งใคร่จะทอดพระสีหลปฏิมาองค์จริง จึงตระเตรียมพลนิกายเสด็จ มาเมืองเชียงใหม่ทูไปโดยลำดับ บรรลุถึงสถานที่ใกล้เมืองกำแพงเพชร ตรัสสั่งให้พักกองทัพแล้วส่งทูตเข้าไปเฝ้าพระเจ้าติปัญญา ลำดับนั้นเจ้านครวชิรปราการก็ส่งราชสาสน์ไปสำนักพระเจ้าอโยชฆปุระ พระเจ้าวัตติเดชกษัตริย์กรุงศรีอยุธยารับตระเตรียมพลนิกายเสด็จมาแค่มหานที มุขัง (ปากน้ำโพ) เจ้ามหาพรมหมได้ส่งอำมาตย์ทูตกับพระมหาสุคนธเถระไปพร้อมด้วยเครื่องบรรณาการ เข้าไปในนคร ได้กระทำปฏิสันฐานด้วยถ้อยคำสุภาพไพเราะ

มหาบพิตรทั้ง สองทรงมีบุญมาก มีปัญญามาก มีกำลังรี้พลมาก ทรงตั้งอยู่ในความสัตย์ ทรงนับถือพระพุทธศาสนา ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นบิดาของราษฎรทั้งหลาย ทรงเป็นผู้มีศีล เป็นที่รักใคร่ของประชาชนทั้งหลาย ขอมหาบพิตรทั้งสององค์จงสามัคคี อย่าทรงพิโรธแก่กันเลยนี่ก็เมืองกำแพงเพชร โน่นก็นครเชียงใหม่ขอให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่าแบ่งแยกกันเลย ขอให้นครทั้งสองนั้นจงมัดไว้ด้วยเชือกคือพระราชไมตรีเถิด

กษัตริย์ ทั้งสองพระองค์ได้ทรงถ้อยคำของพระมหาเถระสุคนธนั้นแล้ว ต่างก็น้อมรับไว้เป็นอันดี พระเจ้าติปัญญาได้ประทานเครื่องราชบรรณาการมีพญาช้างอันเป็นของกำนัล เป็นต้น แก่เจ้าอุปราชมหาพรหมพระเจ้ามหาพรหมก็ประทานม้า เป็นต้น กับเครื่องราชาภิเษกแก่พระเจ้าติปัญญา แล้วจึงทูลขอพระสีหลปฏิมา พระเจ้าติปัญญาก็ประทานพระสีหลปฏิมาแก่เจ้าอนุราชมหาพรหมตามพระประสงค์ เจ้ามหาพรหมทรงอัญเชิญพระสีหลปฏิมาไปถึงเมืองเชียงใหม่ ทรงประดิษฐานไว้ในพระวิหารหลวงภายในนคร ครั้นนั้นพระเจ้ากือนา เชษฐาของเจ้าอุปราชมหาพรหม ทรงปรารภจะสร้างซุ้มจรนำขึ้นใหม่ ให้เป็นที่ประดิษฐานพระสีหลปฏิมาที่มุขด้านทิศใต้ เจดีย์หลวง (น่าสงสัยว่าจะไม่ใช่พระเจดีย์หลวง เพราะพระเจดีย์หลวงเริ่มสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา ราชโอรสของพระเจ้ากือนา และมาสำเร็จในรัชกาลของพระเจ้าสามฝั่งแกน ราชนัดดาของพระเจ้ากือนา แต่องค์เจดีย์ก็สูงเพียงสิบสองวา ไม่ใหญ่โตอะไรนัก มาสร้างใหญ่โตเอาในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช ปนัดดาพระเจ้ากือนาเมือง พ.ศ. ๑๙๙๘) แต่เพิ่มซุ้มจรนำทำไม่เสร็จ เจ้ามหาพรหมได้อัญเชิญพระสีหลปฏิมาไปเมืองเชียงราย โดยพระประสงค์จะเอาไปทำแบบสร้างอีกองค์หนึ่งด้วยทองสัมฤทธิ์ ให้เหมือนองค์นั้นแล้ว เลยอัญเชิญพระสีหลปฏิมานั้นไปถึงนครเชียงแสน ทรงกระทำอภิเษก(ทำพิธีสวดพุทธาภิเษก) พระปฏิมาองค์นั้นเกาะตอนแท่นด้วยสักการะเป็นอันมาก แล้วอัญเชิญมาเมืองเชียงรายอีก ประดิษฐานในวิหารหลวงที่ไว้พระพุทธรูปแล้วเอาทองเหลือง ดีบุก ทองคำ เงิน ผสมกันหล่อพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง มีขนาดและรูปร่างเท่าและเหมือนพระสีหลปฏิมา แล้วทรงทำการฉลองพระพุทธรูปเป็นการใหญ่"

ตามพงศาวดารโยนกและตำนาน เมืองเชียงใหม่ ปรากฏข้อความว่า "เรื่องเหตุการณ์ที่เจ้ามหาพรหมไปได้พระพุทธสิหิงค์ตามที่กล่าวมาแล้วใน ตำนานเมืองเชียงใหม่ กล่าวแต่ว่าเมื่อพระเจ้ากือนาพระมหากษัตริย์อันดับที่ ๘ ของลานนาไทยเสด็จสวรรคตลงใน พ.ศ. ๑๙๓๑ แล้วเสนาอำนาตย์ในนครเชียงใหม่อัญเชิญเจ้าชายแสนเมืองมาหรือเจ้าชายลักขปุรา คม (ในพงศาวดารโยนกว่าลักษณปุราคม) พระชนม์ ๒๓ พรรษา ขึ้นครองราชสมบัติในนครเชียงใหม่ต่อไป

เจ้าอุปราชมหาพรหม ซึ่งทรงปกครองเมืองเชียงรายทรงขัดเคืองพระทัยอย่างยิ่ง ที่อำนาตย์ราชมนตรีละเลยต่อราชขนบประเพณี กล่าวคือไม่มอบราชสมบัติให้แก่เจ้าอุปราชตามที่ได้ปฏิบัติกันมา ก็ทรงคุมกองทัพลงมาตีเมืองเชียงใหม่ แม่ทัพแสนผานองก็แต่งกองทัพสองกอง กองหนึ่งยกไปทำศึกกับเจ้าอุปราชมหาพรหม ส่วนอีกกองหนึ่งให้ไปตั้งสกัดทางเจ้ามหาพรหม มิให้ถอยทัพกลับไปเมืองเชียงรายได้ ดังนั้น เมืองเจ้าอุปราชมหาพรหม ปราชัยแก่ขุนพลแสนผานองแล้ว ทรงพารี้พลไปแดงเชลียงแล้วเลยลงไปพึ่งบารมีพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายเสนาบดีนครเชียงใหม่ก็ประชุมปรึกษากันว่าเจ้าอุปราชมหาพรหมหนีลงไป เมืองใต้ครั้งนี้ ดีร้ายคงจะนำกองทัพกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาตีบ้านเมืองเราเป็นแม่นมั่น จึงเตรียมการป้องกันไว้อย่างแข็งขัน เจ้าอุปราชมหาพรหมหนีไปครั้งนั้นได้ไปอาศัยอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร ได้เป็นสหายรักใคร่กับเจ้าเมืองกำแพงเพชร ครั้นภายหลังได้ลอบสมัครรักใคร่กับมารดาเจ้าเมืองกำแพงเพชร (ชื่อนางจันทร์) และมารดาเจ้าเมืองกำแพงเพชรได้ให้พระพุทธสิหิงค์แก่เจ้ามหาพรหม เจ้ามหาพรหมจะอยู่ในกำแพงเพชรต่อไปมิได้ จึงกลับคืนมาหาพระเจ้าแสนเมืองหา ผู้เป็นหลาน ซึ่งครองนครพิงค์เชียงใหม่ และได้ถวายพระพุทธสิหิงค์แก่พระเจ้าแสนเมืองมา ให้เชิญพระพุทธสิหิงค์ขึ้นรถบุษบกตั้งกระบวนแห่ชักรถไปเพื่อประดิษฐานพระ พุทธสิหิงค์ไว้ ณ วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) ครั้นชักรถไปถึงสนามหน้า วัดลีเชียงพระ รถก็ติดขัดอยู่ ณ ที่นั้น ชักต่อไปมิได้ พระเจ้าแสนเมืองมาดำรัสว่าพระพุทธสิหิงค์จะพอพระทัยอยู่วัดนี้ จึงให้เชิญพระพุทธสิหิงค์เข้าประดิษฐานไว้ในวิหารวัดลีเชียงพระนั้นวัดนี้ จึงได้เปลี่ยนเรียกว่าวัดพระสิงห์สืบมาจนกาลบัดนี้ พระเจ้าแสนเมืองมานั้นเป็นพระราชโอรสองค์เดียวของพระเจ้ากือนาและทรงเป็น กษัตริย์อันดับที่ ๙ ของราชอาณาจักรลานนาไทย ได้ครองราชย์สืบแทนพระชนกนาถ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๓๑ และสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๔"

ในรัชสมัยของพระเจ้า ศิริธรรมจักพรรดิราช หรือพระเมืองแก้วราชปนัดดาของพระเจ้าติโลกราช และทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่เข้มแข็งอีกพระองค์หนึ่งในราชวงศ์เม็งราย ได้ทรงสร้างพระอุโบสถ พระวิหารลายคำขึ้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๖๓ พระวิหารหลังนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ในสมัยราชวงศ์ทิพย์ช้าง ได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และเมื่อไม่นานมานี้ กรมศิลปากรก็ได้ทำการบูรณะพระวิหารลายคำ และตกแต่งภาพผนังที่ลบเลือนเนื่องจากถูกน้ำฝนชะเพราะหลังคารั่วให้กลับงดงาม ขึ้น

ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่ามีพระพุทธสิหิงค์อยู่ในราชอาณาจักรไทยถึง สามองค์ด้วยกัน คือองค์หนึ่งอยู่ที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ องค์หนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานครสำหรับพระพุทธสิหิงค์องค์นี้ ปรากฏตามหลักฐานในประวัติศาสตร์ว่าสมเด็จพระบวรราชเจ้าในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงอัญเชิญจากนครเชียงใหม่ไปประดิษฐาน ณ พระราชวังบวร คือที่เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๐ ส่วนพระพุทธสิหิงค์อีกองค์หนึ่งนั้นอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวกันว่า พระเจ้าศิริธรรม กษัตริย์แห่งศิริธรรมนคร โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อได้พระพุทธสิหิงค์มาจากประเทศลังกา

โดย: น้าชัย (เจ้าบ้าน ) [9 ธ.ค. 48 16:37] ( IP A:203.149.7.148 X: )


มีเกร็ดพระพุทธสิหิงค์จากเชียงใหม่อีกเล็กน้อยจากเวปนี้ครับ

http://tinnaporn.multiply.com/photos/album/74/74

สถานที่ประดิษฐ์ฐาน วิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พุทธลักษณะ ศิลปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ปางมารวิชัย ขัดสมาธิ เพชรขนาด หน้าตักกว้าง ๑ เมตร วัสดุ สำริด ลงรักปิดทอง ตามตำนานพระพุทธสิหิงค์กล่าวว่า เมื่อพุทธศักราช ๑๙๕๐ ขณะเมื่อพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ ณ เมือง เชียงราย เชียงรายกับเชียงใหม่เกิดการรบพุ่งกันขึ้นเชียงใหม่ เป็นฝ่ายชนะ พระเจ้าแสนเมืองมาแห่งนครเชียงใหม่จึงโปรด ให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มายังเมืองเชียงใหม่โดยล่องเรือมา ตามลำน้ำปิง เรืออัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาเทียบท่าขึ้นฝั่งยังนคร เชียงใหม่ที่ท่าวังสิงห์คำขณะเชิญขึ้นประดิษฐานบนบุษบก

ปรากฏรัศมีจากองค์พระเรืองรองเป็นลำไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไกลถึง ๒,๐๐๐ วา ต่อมาจึงได้มีการสร้างวัดขึ้น ณ ที่นั่นได้ชื่อตามเหตุอัศจรรย์ในครั้งนั้นว่า วัดฟ้าฮ่าม ซึ่งหมายถึงฟ้าอร่ามนั่นเอง แต่แรกนั้นพระเจ้าแสนเมืองมาตั้งพระทัย จะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานยังวัดสวนดอกซึ่งตั้งอยู่นอกเวียงออกไปทางทิศตะวันตก แต่เมื่อชักลากบุษบกไป ถึงวัดลีเชียงพระก็มีอันติดขัดไม่อาจลากต่อไปได้ พระเจ้าแสนเมืองมาถือเป็นศุภมิตรจึง โปรดให้สร้างมณฑปขึ้น ณ วัดลี เชียงพระและประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ ณ วัดนั้น เมื่อพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ ณ วัดลีเชียงพระ ความศรัทธาเลื่อมใสของชาวเมืองที่มีต่อพระพุทธรูปองค์นี้ทำ ให้ ชาวเมืองเชียงใหม่พากันเรียกชื่อตามนามพระ แต่เนื่องจากชาวเมืองเรียกนามพระพุทธสิหิงค์กร่อนเป็นพระสิงห์ วัดพระพุทธสิหิงค์จึงกลายมาเป็นวัดพระสิงห์ดังเช่นทุกวันนี้ ในเทศกาลสงกรานต์จะมีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานบนบุษบกแห่รอบเมืองเชียงใหม่ให้ประชาชนสรง น้ำเพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นประจำทุกปี


"ตำนาน "พระพุทธสิหิงค์""[แก้]

อีกเวป เวปนี้อ้างอิงมาจาก พระเครื่องคมชัดลึก เนื้อหาคล้ายกันแต่อาจมีเพิ่มเติมในรายละเอียดบางส่วนครับ

http://www.shockfmclub.com/story_detail.php?historyshock_id=171

เนื้อเรื่อง :

ประวัติพระพุทธสิหิงค์ ตำนานพระพุทธสิหิงค์ ได้มีท่านผู้เรียบเรียงไว้หลายท่าน เรื่องตำนานหรือประวัติพระพุทธสิหิงค์ ได้มีท่านผู้เรียบเรียงไว้แล้วหลายท่าน เช่น พระโพธิรังสี ปราชญ์แห่งเมืองเชียงใหม่ ได้เขียนเป็นภาษามคธ ราว พ.ศ.๑๙๖๐ และบรรยายเรื่องราว จนมาถึง พ.ศ.๒๔๕๔ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ต่อจากพระโพธิรังสี มาจนถึงสมัย หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ได้เรียบเรียงใหม่เป็นตำนานย่อ และกล่าวข้อวิจารณ์ในทางโบราณคดี

ส่วนที่ผู้เขียนได้นำกล่าวมานี้ได้อ้างถึง"ตำนานพระพุทธสิหิงค์" ของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ เขียนขึ้นเนื่องด้วยได้มีการรวบรวมข้อเท็จจริง ที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายเหล่านั้นได้ค้นคว้าแล้วมาเรียบเรียงไว้ให้เป็นตำนาน ที่อ่านง่าย เพื่อความสะดวกและเข้าใจแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาทั่วไป

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่กษัตริย์ลังกาได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๗๐๐ ได้อัญเชิญเข้ามาสู่ประเทศสยาม ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ฉะนั้น จึงต้องนับว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศสยามอย่างแท้จริง แต่ในเมืองไทย พระพุทธรูปที่ทรงพระนามว่าพระพุทธสิหิงค์นั้นมีอยู่ ๓ องค์ ๓ แห่ง คือ

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๑ ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๓ ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ ข้างศาลากลาง จ.นครศรีธรรมราช

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๑ เป็นพระพุทธรูปปางนั่งขัดสมาธิสูง ๙๖ ซม. หน้าตักกว้าง ๖๖ ซม. หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ปิดทองคำเปลว พระสรีระได้สัดส่วนและงดงามที่สุดจะหา พระพุทธโบราณในเมืองไทยที่งดงาม และได้สัดส่วนเทียมพระพุทธสิหิงค์องค์นี้มิได้เลย ตามตำนานกล่าวว่าพระพุทธสิหิงค์ องค์นี้ศิลปะสุโขทัยประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ กรุงเทพมหานคร

พระพุทธสิหิงค์ เมืองนครศรีธรรมราช พระพุทธสิหิงค์ เมืองนครศรีธรรมราช

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๒ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ มีความสำคัญคู่กับพระพุทธสิหิงค์ในกรุงเทพฯ และเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปที่งดงามมาก องค์นี้ศิลปะเชียงแสน

พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสัมฤทธิ์ปิดทองคำเปลว หนักตักกว้าง ๔๐ นิ้ว ศิลปะเชียงแสนรุ่นแรก ปัจจุบันประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๓ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช มีความสำคัญคู่กับพระพุทธสิหิงค์เมืองเชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร แบบขนมต้ม มีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน หล่อด้วยสัมฤทธ์ ปิดทอง หน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๖.๘ นิ้ว นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล ประดิษฐานอยู่ในบุษบกไม้ ณ หอพระ ระหว่างศาลกับศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์นี้ศิลปะศรีวิชัย

พระพุทธสิหิงค์ทั้ง ๓ องค์ ๓ สมัย ๓ ภาค สร้างในสมัยเดียวกัน ผู้สร้างคือ มหากษัตริย์ลังกา ๓ พระองค์ ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ.๗๐๐

ตำนานของพระโพธิรังสีกล่าวว่าพระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่ เจ้าลังกา ๓ พระองค์ ได้ร่วมพระทัยกันพร้อมด้วยพระอรหันต์ใน เกาะลังกาสร้างขึ้นราว พ.ศ.๗๐๐ โดยหมายจะให้ได้พระพุทธรูปเหมือนองค์พระพุทธเจ้าจริงๆ ถึงกับตำนานกล่าวว่า พญานาคซึ่งเคยเห็นองค์พระพุทธเจ้ามาแปลงกายให้ดูเป็นตัวอย่าง

มาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ.๑๘๒๐-๑๘๖๐) มีพระภิกษุลังการ เข้าสู่ประเทศสยาม พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงทราบกิติศัพท์เลื่องชื่อ ว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีพุทธลักษณะที่งดงาม พ่อขุนรามคำแหง จึงทรงขอให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราช แต่งทูตเชิญพระสาส์นไปขอประทานพระพุทธสิหิงค์จากเจ้ากรุงลังกา

เนื่องด้วยว่าเป็นเมืองที่มีการติดต่อสัมพันธ์อยู่กับลังกาอย่างใกล้ชิด ซึ่งก็ได้ตามพระราชประสงค์ อัญเชิญมาประดิษฐานที่นครศรีธรรมราช จัดงานพิธีสมโภชใหญ่โตเป็นเวลา ๗ วัน พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ให้ช่างท้องถิ่นจำลองไว้บูชา ๑ องค์ โดยกล่าวไว้ว่าพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปรับ พระพุทธสิหิงค์ถึงนครศรีธรรมราช ด้วยพระองค์เอง แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัยทุกพระองค์ได้ทรงเคารพบูชาพระพุทธสิหิงค์ตลอดมา

พระพุทธสิหิงค์ ปี 2517 ในหลวงเททอง พระบูชาพระพุทธสิหิงค์ ปี 2517 นครศรีธรรมราช ในหลวงเททอง

พระพุทธสิหิงค์ ที่ประดิษฐานอยู่ที่นครศรีธรรมราชนี้ มีลักษณะ ตามแบบสกุลช่างท้องถิ่น เรียกว่า แบบขนมต้ม คือมีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาฏิสั้นระดับพระถัน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของ ชาวนครศรีธรรมราชเป็นพระพุทธรูปที่มีพระรูป และสัดส่วนที่งดงามมาก

ครั้งเมื่อได้ตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้น ทางสุโขทัยอ่อนกำลังลง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้สุโขทัยไว้ในอำนาจเมื่อปี พ.ศ.๑๙๒๐ พญาไสยลือไทย เจ้ากรุงสุโขทัย ถูกลดตำแหน่งเป็นเจ้าประเทศราช ลงมาครองพิษณุโลก จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานไว้ที่พิษณุโลกด้วย เมื่อพระยาไสยลือไทย สิ้นพระชนม์ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ก็โปรดให้เชิญพระพุทธสิหิงค์โดยมาทางเรือลงมาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา

เมื่อทางกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยไว้ในอำนาจแล้ว ได้จัดแบ่งการปกครอง ออกเป็นสองมณฑลคือเมืองตาก, สวรรคโลก กับพิษณุโลก เป็นมณฑลสอง ให้เจ้านายในราชวงศ์พระร่วงปกครอง พระยาธิษฐิระ ผู้ครองกำแพงเพชรนั้นปรากฏว่า ราชบุตรเลี้ยงของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ปรารถนาจะได้พระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานไว้เมืองกำแพงเพชร จึงให้มเหสีผู้เป็นมารดาตนขอพระพุทธรูปองค์หนึ่ง แล้วติดสินบนขุนพุทธบาลผู้รักษาพระ เลือกพระพุทธสิหิงค์ส่งไป

เรื่องมีต่อว่า ใน พ.ศ.๑๙๓๑ นี้เองมีพระภิกษุรูปหนึ่งในเมืองกำแพงเพชรปั้นรูปจำลองพระพุทธสิหิงค์ด้วย ขี้ผึ้ง และนำพระพุทธรูปจำลองนี้ไปเชียงราย เมื่อเจ้ามหาพรหมผู้ครองนครเชียงรายได้เห็นจึงชวนเจ้ากือนา พี่ชายผู้ครองนครเชียงใหม่ยกกองทัพไปกำแพงเพชรและ ขู่ขอพระพุทธสิหิงค์ พระยาธิษฐิระต้องยอมยกพระพุทธสิหิงค์ให้ไป พระพุทธสิหิงค์จึงได้ไปประดิษฐานอยู่เชียงราย ในปี พ.ศ.๑๙๓๑

พอถึง พ.ศ.๑๙๕๐ เชียงใหม่กับเชียงรายเกิดรบกัน เชียงรายแพ้ เจ้าแสนเมืองมาเจ้านครเชียงใหม่ก็อัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานอยู่เชียงใหม่ราว ๒๕๕ ปี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีเมืองเชียงใหม่ได้ใน พ.ศ.๒๒๐๕ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระศรีสรรเพชรกรุงศรีอยุธยา ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ ๒ เชียงใหม่เป็นพวกพ้องพม่า จึงสามารถอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐

มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเชียงใหม่ได้รวมอยู่กับคนไทยแล้ว พม่ายกกองทัพมาล้อมเชียงใหม่ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพไปขับไล่กองทัพพม่าพ้นเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระกรมพระราชวังบวรฯ จึงได้ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มากรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๓๓๔) ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยนัยนี้ นับว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของสยามประเทศ มาตั้งแต่ต้นประวัติกาล

ผู้แต่งตำนานคือพระโพธิรังสี ได้พรรณนาอานุภาพของพระพุทธสิหิงค์ไว้เป็นอันมาก มีข้อที่น่าฟังตอนหนึ่งกล่าวว่า "พระพุทธสิหิงค์หามีชีวิตได้ก็จริง แต่มีอิทธานุภาพด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ อธิษฐานพละของพระอรหันต์ อธิษฐานพละของเจ้าลังกาหลายพระองค์ และศาสนพละของพระพุทธเจ้า" ซึ่งหมายความว่ากำลังใจของพระอรหันต์ และกำลังใจของเจ้าลังกาพร้อมทั้งกำลังแห่งพระพุทธศาสนา กระทำให้พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธปฏิมากรที่ทรงอานุภาพ

อีกตอนหนึ่งพระโพธิรังสี กล่าวว่า "พระพุทธสิหิงค์เมื่อประทับอยู่ ณ ที่ใด ย่อมทรงทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองดั่งดวงประทีปชัชวาล เหมือนหนึ่งว่าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่"

ในส่วนของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ผู้ซึ่งได้รวบรวมตำนาน พระพุทธสิหิงค์เองมีความเชื่อมั่นในอานุภาพ ของพระพุทธสิหิงค์อยู่มาก "อย่างน้อยก็สามารถบำบัดทุกข์ร้อนในใจให้เหือดหาย ผู้ใดมีความทุกข์ร้อนในใจท้อถอยหมดมานะด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ถ้าได้มาจุดธูปเทียนบูชาและนั่งนิ่งๆ มองดูพระองค์สัก ๑๐ นาที ความทุกข์ร้อนในใจจะหายไป ดวงจิตที่เหี่ยวแห้งจะกลับมาสดชื่น หัวใจที่ท้อถอยหมดมานะจะกลับเข้มแข็งมีความมานะพยายาม ดวงจิตที่หวาดกลัวจะกลับกล้าหาญ ดวงจิตที่เกียจคร้านจะกลับขยัน ผู้ที่หมดหวังจะกลับมีความหวัง"

คุณานุภาพของพระพุทธสิหิงค์ดังกล่าวมานี้ กระทำให้ท่านเชื่อเหตุผลของ พระโพธิรังสีว่าอธิษฐานพละ คือกำลังใจของพระอรหันต์ และเจ้าลังกาผู้สร้างพระพุทธสิหิงค์ได้เข้าไปอยู่ในองค์พระพุทธสิ หิงค์พร้อมทั้งศาสนพละของพระพุทธเจ้า และข้อที่พระโพธิรังสีกล่าวว่า "พระพุทธสิหิงค์ประทับอยู่ใดก็เหมือนพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่นั้น"

ข้อนี้ก็สมจริง ใครที่ได้เห็น พระพุทธเจ้าแม้แต่ยังมิได้ฟังธรรมเทศนาเลย ก็มีความสบายใจในทันทีที่ได้เห็นผู้ใดที่ได้เห็น พระพุทธสิหิงค์ย่อมได้รับผลอย่างเดียวกัน พระพุทธสิหิงค์เป็นที่เคารพสักการบูชาของ องค์พระมหากษัตริย์ ของประชาชนชาวสยามมาเป็นเวลาช้านาน จึงกล่าวได้ว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของสยามประเทศเลยที เดียว

ที่มา : พระเครื่องคมชัดลึก


--58.10.103.192 15:55, 17 สิงหาคม 2552 (ICT) จักรกริช ค.