พูดคุย:ประเพณีสารทเดือนสิบ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ประเพณีสารทเดือนสิบ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

สาทร?[แก้]

สาทร หรือ สารท ครับ ? - ('-' )( '-' )( '-') - 19:25, 18 กันยายน 2007 (ICT)

ประเพณีสารทเดือนสิบ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ[แก้]

ความเป็นมา ประเพณีสารทเดือนสิบของชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดศรีสะเกษ มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ด้วยสาเหตุหลัก ๆ คือ ได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษและการบูชาเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องการบูชาตามคติทางพระพุทธศาสนา และได้รับคติความเชื่อโบราณที่เกี่ยวกับอำนาจการให้คุณให้โทษของผีบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในชุมชน เพราะชาวไทยเชื้อสายเขมรเชื่อว่าเมื่อถึงช่วงเทศกาลสารทเดือนสิบ ประตูยมโลกจะเปิด เปรตจะเดินทางมาเยี่ยมญาติเพื่อขอส่วนบุญจากญาติพี่น้องของตน ชาวไทยเขมรจึงต้องมีการจัดทำอาหาร ขนมข้าวต้ม เพื่อต้อนรับผีบรรพบุรุษเหล่านั้น เมื่อถึงรุ่งเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ก็จะนำอาหารขนมข้าวต้มไปถวายพระสงฆ์ที่วัดเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษของตน พิธีดังกล่าวเรียกว่า “การทำบุญวันสารทเล็ก” และเชื่ออีกว่าผีบรรพบุรุษจะออกมาจากยมโลกได้ ๑๕ วัน หลังจากนั้น ต้องกลับไปรับกรรมในยมโลกตามเดิม

เวลางานบุญเดือนสิบ

การประกอบพิธีสารทของชาวจังหวัดศรีสะเกษนั้น มีระยะเวลาการทำบุญ ๑) ช่วงสารทเล็ก (เบณฑ์ตูจ) ประกอบพิธีวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ๒) ช่วงสารทใหญ่ (เบณฑ์ทม) นับไปอีก ๑๔ วัน จากวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ถึง วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ สาเหตุที่ต้องเตรียมตัวทำบุญตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เพราะเชื่อกันว่าผีบรรพบุรุษถูกปล่อยมาตั้งแต่ช่วงสารทเล็ก และเดินทางมาไกลเกิดความเหน็ดเหนื่อยหิวกระหาย เมื่อมาถึงก็จะอยู่ที่วัดรอคอยว่าญาติหรือลูกหลานจะมาทำบุญอุทิศส่วนบุญให้หรือไม่ ตอนนี้เองหากญาติหรือลูกหลานทำบุญให้ผีบรรพบุรุษก็จะดีใจ และได้รับผลบุญจากที่ได้มีการทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ นอกจากจะเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุแล้ว ยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ การสร้างปฏิสัมพันธ์ความรักความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ จนถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย


คติธรรมทางพระพุทธศาสนา


คติความเชื่อในพระพุทธศาสนา

คือ หลักปฏิบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ได้แก่ การทำพลีกรรม ๕ อย่าง คือ ญาติพลี คือการสงเคราะห์ช่วยเหลือญาติ อติถิพลี คือการต้อนรับแขก การเสียสละของบางอย่างเพื่อต้อนรับแขก ราชพลี คือการถวายทานเป็นของหลวง เช่นการเสียภาษีอากรเป็นต้น เทวตาพลี คือทำบุญอุทิศให้เทวดา เปตพลี คือทำบุญอุทิศให้ ดังเช่น ปุพพเปตพลีที่พระเจ้าพิมพสารทรงกระทำ ซึ่งอาจจะมีความเกี่ยวเนื่องกับเครื่องเซ่นสังเวยตามคติของพราหมณ์ เช่น อาหารและผ้าก็ได้ โดยมีรายละเอียดว่า “ลำดับนั้น พระราชาถวายผ้าและเสนาสนะ เป็นต้น ทรงอุทิศให้เครื่องอลังการ ต่าง ๆ มีผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาดและที่นอนเป็นต้น ก็บังเกิดแก่ เปรตพวกนั้น สมบัติแม้นั้นของเปรตพวกนั้น ปรากฏทุกอย่างโดยประการใด พระผู้มี พระภาคเจ้า ก็ทรงอธิษฐาน ให้พระราชาทรงเห็นโดยประการนั้น พระราชาทรงดี พระทัยยิ่ง แต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ได้ตรัส พระคาถาเหล่านี้ว่า ติโรกุฑฺเฑสุ ติฎฺฐนฺติ เป็นต้น เพื่อทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้ามคธ รัฐ” เช่นเดียวกับเรื่องของนางติสสาที่อุทิศส่วนบุญให้นางเปรตที่เป็นญาติของนาง คืออุทิศ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม ผลแห่งทักษิณานั้น นางเปรตมีร่างกายหมดจด นุ่งผ้าสะอาดสวมใส่ผ้าเนื้อดีกว่าผ้าแคว้นกาสีมี เครื่องอาภรณ์ หรือ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับวิจิตรงดงาม ปุพพเปตพลีในพระพุทธศาสนาในคัมภีร์ต่าง ๆ ว่าโดยหลักก็คือการทำกุศลกรรมบางอย่าง แล้วอุทิศส่วนบุญที่เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นนั่นเอง หลายครั้งที่การอุทิศส่วนบุญ มุ่งไปยังเปรตและบรรพชนซึ่งเชื่อกันว่า บัดนี้อาจจะกำลังประสบความทุกข์อยู่ในทุคติภูมิ การกระทำดังกล่าวนับว่ามีประโยชน์ในเชิงปฏิบัติต่อการระงับความหิวของเปรตนั้นเป็นอย่างยิ่ง และเป็นเครื่องรับประกันว่า พวกเขาจะไม่สร้างความเดือดร้อนต่อมนุษย์อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นหากพิจารณาถึงประโยชน์ที่สังคมจะพึงได้จากการบูชาคุณของญาติที่ล่วงลับไปแล้วนี้ ก็สามารถมองเห็นช่องทางที่จะขยายประโยชน์ออกไปได้อย่างกว้างขวาง กล่าวคือ เมื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเคยสร้างคุณงามความดีไว้มากจนเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม สังคมก็จะช่วยกันยกย่องเชิดชูคุณงามความดีของเขา การกระทำอย่างนี้นับว่าเป็นผลดีแก่สังคม ในการที่จะดำรงรักษาสังคมนั้นให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น ทำให้สังคมมีความสงบสุขมีความสามัคคีกลมเกลียวกัน นอกจากนั้นยังเห็นหลักธรรมที่ได้จากประเพณีสารทเดือนสิบคือการเคารพผู้ใหญ่ที่เป็นบรรพบุรุษในวงศ์ตระกูล และการแสดงออกซึ่งความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดาและบรรพบุรุษ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้อยู่ครองเรือนทั่วไปจะพึงกระทำ และไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะต้องทำให้แก่ผู้ที่เป็นสมาชิกภายในครอบครัว หรือผู้ที่เป็นเครือญาติของตนเท่านั้น แต่ให้กระทำแก่ผู้อื่นที่เป็นมิตรสหายหรือผู้ที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน ผู้วิจัยจึงมีความประสงค์จะศึกษาวิเคราะห์คติธรรมจากประเพณีสารทเดือนสิบของชาวไทนเชื้อสายเขมรในตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่ออธิบายประเพณีสารทเดือนสิบให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถเชื่อมโยงแนวคิดให้สอดคล้องกันกับคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา เพื่อช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ระหว่างคนในครอบครัว เครือญาติ ตลอดถึงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมให้ดียิ่งขึ้น โดยมีพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมในการเชื่อมโยงสายสัมพันธ์อันดีงาม


ศัพท์ทางประเพณี


ปุพพเปตพลี หมายถึง การให้ทานหรือเครื่องเซ่นสรวงที่กระทำให้แก่ผู้ตายไปแล้ว คติ หมายถึง แบบแผน แบบอย่าง วิธี แนวทาง ความเป็นไป ของประเพณีสารทเดือนสิบของชาวไทยเชื้อสายเขมรในตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ธรรม หมายถึง หลักธรรมที่ได้จากประเพณีสารทเดือนสิบของชาวไทยเชื้อสายเขมรในตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ สารท หมายถึง เทศกาลทำบุญในเดือนสิบเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษและผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีสารทเดือนสิบ หมายถึง ประเพณีที่เนื่องในพระพุทธศาสนา ซึ่งกระทำกันตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ (สารทเล็ก) จนถึง แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ (สารทใหญ่) เพื่ออุทิศส่วนบุญให้กับบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง และบริวารที่ล่วงลับไปแล้ว ผีบรรพบุรุษ หมายถึง ผีของบุคคลในตระกูลหนึ่ง ๆ ซึ่งญาติพี่น้องมีความรู้สึกว่า ผีนั้นยังคงมีความผูกพันกับครอบครัว และสามารถบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านดีและไม่ดี แซนโฎนตา หมายถึง การเซ่นไหว้บูชาผีบรรพบุรุษผู้เป็นต้นตระกูลที่ล่วงลับไปแล้ว เป็น ภาษาท้องถิ่นของชาวไทยเชื้อสายเขมร มี ๓ พยางค์ คำว่า “แซน” แปลว่า การเซ่นไหว้ คำว่า “โฎน” แปลว่า โคตรตระกูล ส่วนคำว่า “ตา” แปลว่า บรรพบุรุษทุกชนชั้นที่ล่วงลับไปแล้ว พลี หมายถึง การเซ่นไหว้และการบูชา ตามคติทางพระพุทธศาสนา เพื่อสงเคราะห์ญาติ และอุทิศส่วนบุญให้ผู้ที่ล่วงไปแล้ว (เพื่มชาวไทยเชื้อสายเขมร พลี เอาออก) อย่างน้อยมี สามถึง ห้าคำ)


วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง


แนวทางการอนุรักษ์สืบต่อไป --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 27.55.23.217 (พูดคุย | ตรวจ) 10:46, 4 มีนาคม 2560 (ICT)