พิพิธภัณฑ์มูเตอร์

พิกัด: 39°57′12″N 75°10′36″W / 39.95333°N 75.17667°W / 39.95333; -75.17667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์มูเตอร์
พิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยแพทย์ฟิลาเดลเฟีย
แผนที่
ก่อตั้งค.ศ. 1863 (1863) (ที่ตั้งเดิม)
ค.ศ. 1909 (1909) (ที่ตั้งปัจจุบัน)
ที่ตั้ง19 S. 22nd Street
ฟิลาเดลเฟีย
พิกัดภูมิศาสตร์39°57′12″N 75°10′36″W / 39.95333°N 75.17667°W / 39.95333; -75.17667
ประเภทพิพิธภัณฑ์การแพทย์
ขนาดผลงาน25,000+[1]
จำนวนผู้เยี่ยมชม180,000+
ผู้ก่อตั้งทอมัส เด็นต์ มูเตอร์
ประธานGeorge Wohlreich (ประธานบริหารวิทยาลัยแพทย์ฟิลาเดลเฟีย)
ภัณฑารักษ์แอนนา โดดี
เจ้าของวิทยาลัยแพทย์ฟิลาเดลเฟีย
ขนส่งมวลชน 22nd Street: ข้อผิดพลาด Lua: expandTemplate: template "SEPTA color" does not exist Bus transport SEPTA bus: แม่แบบ:SEPTA bus link
Bus transport Philly PHLASH (at 20th and Market streets)
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

พิพิธภัณฑ์มูเตอร์ (อังกฤษ: Mütter Museum, /ˈmtər/) เป็นพิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์ในย่านเซ็นเตอร์ซิตีของเมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ภายในพิพิธภัณฑ์มีงานสะสมอย่างชิ้นส่วนทางกายวิภาคศาสตร์และพยาธิวิทยา, รูปหล่อขี้ผึ้ง และเครื่องมือแพทย์โบราณเป็นต้น พิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยแพทย์ฟิลาเดลเฟีย ของสะสมเริ่มแรกเป็นของที่นายแพทย์ทอมัส เด็นต์ มูเตอร์ (Thomas Dent Mütter) บริจาคในปี ค.ศ. 1858 เพื่อให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาและงานวิจัยทางการแพทย์[2]

ของสะสม[แก้]

ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์อ้างว่ามีวัตถุในสะสมทั้งหมดมากกว่า 20,000 ชิ้น แต่มีเพียงราว 13% เท่านั้นที่นำจัดแสดงถาวร นอกจากนี้ยังมีงานสะสมจำพวกวรรณกรรมและคู่มือทางการแพทย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยแพทย์ฟิลาเดลเฟีย

กระดูกและโครงกระดูก[แก้]

พิพิธภัณฑ์มีชิ้นส่วนทางกระดูกราว 3,000 ชิ้น ในจำนวนนี้รวมถึงโครงกระดูกมนุษย์จำนวนหนึ่งด้วย ในบรรดากระดูกมนุษย์ที่จัดแสดงมีชิ้นที่มีเชื่อเสียงคือโครงกระดูกของแฮร์รี เรย์มันด์ อีสต์แล็ก และแครอล ออร์เซิล ผู้ป่วยด้วยโรค FOP, โครงกระดูกมนุษย์ยักษ์อเมริกันที่มูเตอร์ (The Mütter American Giant) โครงกระดูกมนุษย์ที่ตัวสูงที่สุดที่จัดแสดงในอเมริกาเหนือ ด้วยความสูง 228.6 เซนติเมตร และชุดงานสะสมกะโหลกศีรษะมนุษย์ของเฮียร์เทิล (The Hyrtl Skull Collection) ซึ่งประกอบด้วยกะโหลกศีรษะมนุษย์รวม 139 ชิ้น ของสะสมโดยโยเซ็ฟ เฮียร์เทิล นักกายวิภาคศาสตร์ชาวออสเตรีย

ตัวอย่างเปียก[แก้]

พิพิธภัณฑ์มีของสะสมเป็นตัวอย่างเปียก (wet specimen) ราว 1,500 ชิ้น ซึ่งสะสมมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ตัวอย่างชิ้นสำคัญ เช่น ความผิดปกติของร่างกาย, ถุงน้ำ, เนื้องอก จากแทบทุกอวัยวะของร่างกาย

ของสะสมชิ้นอื่น ๆ[แก้]

ของสะสมที่มีชื่อเสียงชิ้นอื่น ๆ ของพิพิธภัณฑ์ได้แก่:

อ้างอิง[แก้]

  1. "FAQ". The Mütter Museum. สืบค้นเมื่อ 11 December 2014.
  2. "The Mütter Museum". The Mütter Museum. The College of Physicians of Philadelphia. สืบค้นเมื่อ 11 October 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]