พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดูบทความหลักที่ พระแม่มารีและพระบุตร

พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย
ศิลปินเลโอนาร์โด ดา วินชี
ปีราว ค.ศ. 1501
ประเภทภาพเขียนสีน้ำมัน
สถานที่งานสะสมส่วนบุคคล นครนิวยอร์ก

พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย (ภาษาอังกฤษ: Madonna of the Yarnwinder) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่เป็นงานสะสมส่วนบุคคล

“พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” ราว ค.ศ. 1501 เป็นหัวเรื่องของภาพสีน้ำมันหลายภาพที่เขียนหลังจากที่ภาพเขียนต้นฉบับสูญหายไป เป็นภาพของพระแม่มารีและพระบุตรที่ต่างมองไม้ปั่นด้ายที่พระแม่มารีใช้ด้วยความละห้อย ไม้ปั่นด้ายเป็นทั้งสัญลักษณ์ของความอยู่กับเรือนและสัตยกางเขน (True Cross) ที่พระเยซูจะทรงถูกตรึงต่อมา หรืออาจจะเป็นนัยถึงชะตาซึ่งในตำนานสมัยโบราณใช้ไม้ปั่นด้ายเป็นสัญลักษณ์ ภาพนี้มีด้วยกันอย่างน้อยสามภาพที่เป็นของส่วนบุคคล สองภาพอยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งภาพหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ “พระแม่มารีแลนด์สดาวน์” (The Landsdowne Madonna)

ภาพเขียนต้นฉบับอาจจะเป็นงานที่จ้างโดยฟลอริมุนด์ โรแบร์เตท์องคมนตรีต่างประเทศในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส

ฉบับบุคคล็อยช์[แก้]

ภาพที่เชื่อกันว่าน่าจะเป็นงานของดา วินชิมากที่สุดเป็นของริชาร์ด สกอตต์ ดยุคแห่งบุคคล็อยช์ที่ 10 (Richard Scott, 10th Duke of Buccleuch) ที่แขวนอยู่ที่ปราสาทดรัมแลนริก (Drumlanrig Castle) ที่ดัมฟรีย์สและกาลลาเวย์ในสกอตแลนด์จนกระทั่งถูกขโมย

ในปี ค.ศ. 2003 ภาพเขียนถูกขโมยโดยโจรสองคนที่ทำตัวกลืนกับนักท่องเที่ยว[1] แต่ก็ได้คืนมาหลังจากตำรวจเข้าบุกค้นสำนักงานทนายความในกลาสโกว์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งทางสำนักงานทนายความกล่าวว่าไม่มีอะไรที่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายนอกไปจากคำอธิบายที่ไม่น่าตื่นเต้นอะไร[2] มีผู้ถูกจับสี่คนรวมทั้งทนายสองคนจากสองสำนักงานซึ่งกล่าวว่าเป็นแต่เพียงตัวแทนตรวจดูสัญญาระหว่างลูกค้าสองฝ่ายเท่านั้น[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Guardian article on the 2003 theft
  2. The (London) Times, citing the Glasgow Daily Record, October 5, 2007.
  3. Scotsman และ Times online, October 5th, 2007 และ BBC

ดูเพิ่ม[แก้]