พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 4 รอบ 28 กรกฎาคม 2543

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ
วันที่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
ประเทศประเทศไทย ไทย
เหตุการณ์ก่อนหน้าพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 รอบ 28 กรกฎาคม 2531
เหตุการณ์ถัดไปพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555
จัดโดยรัฐบาลไทย ไทย

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ 28 กรกฎาคม 2543 ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เจริญพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ 48 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 โดยการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีศุภมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ดังนี้[1]

พระราชพิธี[แก้]

วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2543[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พร้อมด้วย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ไปยังพระบรมมหาราชวัง ทางประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ ประตูราชสำราญ เทียบรถยนต์พระที่นั่งที่ประตูอัฒจันทร์ขึ้นสู่ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ด้านตะวันออก เสด็จออก ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) ทรงจุดเทียนพระมหามงคล เทียนเท่าพระองค์และธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป เทวรูปนพเคราะห์ แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ พระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วถวายพัดรองที่ระลึกพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 4 รอบ แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ 25 รูป แล้วประทับพระราชอาสน์ เจ้าพนักงานอาราธนาพระปริตร พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบาทสเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม ทรงศีล พระธรรมกวี วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนา จบแล้ว พระบาทสเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) ถวายจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์และถวายผ้าไตรแด่พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์แล้ว พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ ทรงเจิม พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา จบแล้ว ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เสด็จพระราชดำเนินกลับ[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แม่แบบ:เฉลิมพระชนมพรรษา 4 รอบ แม่แบบ:พระราชพิธีสำคัญในรัชกาลที่ 10