พระราชญาณโสภณ (จรัส เขมจารี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชญาณโสภณ วิ.

(จรัส เขมจารี)
ชื่ออื่นหลวงปู่ห้วย เขมจารี
ส่วนบุคคล
เกิด8 สิงหาคม พ.ศ. 2470
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก, ป.ธ.3
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดประชารังสรรค์ อำเภอห้วยทับทัน ศรีสะเกษ
อุปสมบทพ.ศ. 2491
ตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุติกนิกาย)

พระราชญาณโสภณ วิ. ( จรัส เขมจารี ) หรือ หลวงปู่ห้วย เขมจารี มีนามเดิมว่า จรัส ศรีสุข เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2470 ที่บ้านเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ บิดาชื่อนายมา ศรีสุข มารดาชื่อนางผุย ศรีสุข ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 7 คน ได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จบชั้น ป.3 เพราะมีสอนเท่านั้นในขณะนั้น อายุได้ 17 ปี จึงได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2487 ณ วัดหลวงสุมังคลาราม เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจนกระทั่งสอบได้นักธรรมชั้นตรี ต่อมาได้อุปสมบทในปี พ.ศ. 2491 ณ พัทธสีมาวัดหลวงสุมังคลาราม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพระครูสิริสารคุณ (ศรี ฐิตธมฺโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาธวัช วิมโล เป็นพระกรรมวาจารย์ พระมหาหน่วย ขันติโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “ เขมจารี ” เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมชั้นเอกในปี พ.ศ. 2498 ณ สำนักเรียนวัดหลวงสุมังคลาราม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และศึกษาแผนกบาลีสำนักเรียนวัดประชารังสรรค์ และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ในปีพ.ศ. 2515 สังกัดสำนักศาสนศึกษาวัดประชารังสรรค์ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ[1]

หลวงปู่ห้วย เป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ในปีพ.ศ. 2498 หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดประชารังสรรค์ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ หลวงปู่ห้วย ได้อบรมสั่งสอนประชาชนและพระภิกษุสามเณรในปกครองด้วยความเมตตาเป็นที่ตั้ง ท่านจึงมีสัทธิวิหาริก และอันเตวาสิกมากมาย ประกอบกับท่านวางตนเรียบง่ายสมถะ ชอบความสันโดษตามแบบศากยบุตร จึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของเหล่าประชาชนที่ได้พบเห็น[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชญาณโสภณ วิ. (จรัส เขมจารี ป.ธ.๓)".
  2. "พระราชญาณโสภณ (หลวงปู่ห้วย เขมจารี) พระผู้มีวาจาสิทธิ์'แห่งห้วยทับทัน".