พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) เป็นหลานปู่ในหลวงรักษ์เสนา (จำรัส) ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดาของ เจ้าพระยามหาเสนา ต้นสกุลบุนนาค และหลานตาของเจ้าพระยารามจตุรงค์ หรือพระยารามัญวงษ์ (รามัญวงศ์) พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) จึงมีเชื้อสายแขกเปอร์เซียทางบิดา และมีเชื้อสายมอญทางมารดา

พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) เป็นต้นสกุล ศรีเพ็ญ เป็นขุนคลังแก้วในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 มีบทบาทสำคัญในการทำสัมปทานไม้สักขอน สร้างรายได้เข้าคลังหลวงมากมายมหาศาล

ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ศรีเพ็ญ ผู้นำชาวมอญ ซึ่งตั้งบ้านเรื่อนอยู่บริเวณสี่แยกพระยาศรี ที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘สี่กั๊กพระยาศรี[1] ได้รวบรวมแรงงานชาวมอญก่อสร้างสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม และอยู่ในละแวกเดียวกัน จึงเรียกสะพานดังกล่าวว่า ‘สะพานมอญ[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, ที่มาของชื่อ สี่กั๊กพระยาศรี เก็บถาวร 26 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บทความ-สารคดี, ฉบับที่ 2617 ปีที่ 51 ประจำวันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2547
  2. องค์ บรรจุน (14 พฤษภาคม 2006), "สะพานมอญ กรุงเทพฯ", monstudies.com, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2013, สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2008

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]