พระยาฤทธิภิญโญยศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาฤทธิภิญโญยศ
เจ้าหนานมหาวงศ์
เจ้าหลวงเมืองงาว
เจ้าผู้ครองเมืองงาว
ครองราชย์พ.ศ. 2387 - พ.ศ. 2413
รัชสมัย26 ปี
ถัดไปเจ้าอุปราชหนานยศ
เจ้าหลวงพระยาน้อยอินท์
เจ้าวรญาณรังษี
พิราลัยพ.ศ. 2413
ชายาธิดาเจ้าหลวงน้อยอินท์
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลณ ลำปาง
พระบิดาพระเจ้าดวงทิพย์
พระมารดาแม่เจ้าสะหลีบุญนำ

พระยาฤทธิภิญโญยศ หรือ พญาฤทธิภิญโญยศ นามเดิม เจ้าหนานมหาวงศ์ ณ ลำปาง เป็นโอรสลำดับที่ 4 ของพระเจ้าดวงทิพย์ พระเจ้านครลำปาง องค์ที่ 5 ตำแหน่งเดิมเป็นพระไชยสงครามหรือเจ้าไชยสงคราม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ตั้งเป็น พระยาเจ้าผู้ครองเมืองงาวคนแรก ขึ้นกับเมืองนครลำปาง นาม ฤทธิภิญโญยศ เป็นพระนามคล้องจองกับ รัตนอาณาเขตร์ เจ้าเมืองเชียงราย ประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองนครพะเยา พระยาประเทศอุดรทิศ ได้รับการแต่งตั้งพร้อมกันในปี 2387

อ้างอิง[แก้]

  • คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ 100 ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช 2387 - 2456. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., 2546 (หนังสือครบรอบ๑๐๐ปีแม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์หรือหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ที่วัดศรีโคมคำ เมืองพะเยา ซึ่งพระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาสท่านได้เก็บรวบรวมไว้ และที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั้งในกรุงเทพฯ และที่เมืองนครลำปาง)
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) . เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
  • ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) .
  • คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ 100 ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช 2387 - 2456. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., 2546