พระพุทธพยากรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธพยากรณ์
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
พระพุทธพยากรณ์ (สุคนธ์ สุคนฺธโร)

ตั้งแต่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557
การเรียกขานท่านเจ้าคุณ
จวนพระอารามหลวง หรือวัดราษฎร์
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระตลอดพระชีพ หรือ ได้รับสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้นราช
ผู้ประเดิมตำแหน่งพระครูพุทธพยากรณ์ (อ่อน)

พระพุทธพยากรณ์ เป็นสมณศักดิ์ของพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชทานแก่พระราชาคณะผู้มีความชำนาญด้านโหราศาสตร์และฤกษ์ยาม

ประวัติ[แก้]

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคุ้นเคยกับท่านขรัวอ่อนหรือกล่ำ วัดอัปสรสวรรค์ ซึ่งมีความชำนาญด้านโหราศาสตร์และฤกษ์ยาม คราวใดเมื่อเสด็จไปราชการทัพ มักจะเสด็จไปให้ท่านตรวจดูฤกษ์ยามสามตาเสมอ ต่อมา ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัปสรสวรรค์ว่างลง ท่านขรัวอ่อนหรือกล่ำ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส จึงพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรในราชทินนามที่ พระครูพุทธพยากรณ์ และทรงพระราชทินนามนี้ต่อมาอีกหลายรูป[1]

ถึงปี พ.ศ. 2464 พระครูพุทธพยากรณ์ (เจริญ อุปตสฺโส) ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระพุทธพยากรณ์ พระราชาคณะชั้นสามัญ เป็นรูปแรก กระทั่งท่านมรณภาพในปี พ.ศ. 2494 ก็มิได้แต่งตั้งอีกเลย จนว่างไปเป็นเวลา 63 ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2557 พระครูสุนทรสิทธิการ (สุคนธ์ สุคนฺธธโร) ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระพุทธพยากรณ์ เป็นรูปที่สอง[2]

ฐานานุกรม[แก้]

สมัยเป็นสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร พระครูพุทธพยากรณ์ มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 2 รูป ดังนี้

  • พระสมุห์
  • พระใบฎีกา

เมื่อเลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 3 รูป ดังนี้

  • พระปลัด
  • พระสมุห์
  • พระใบฎีกา

รายนาม[แก้]

ลำดับที่ รายนาม วัด ดำรงสมณศักดิ์
1 พระพุทธพยากรณ์ (อ่อนหรือกล่ำ) วัดอัปสรสวรรค์ พ.ศ. 2443–2447
2 พระครูพุทธพยากรณ์ (มั่น) วัดอัปสรสวรรค์ พ.ศ. 2448–2464
3 พระครูพระพุทธพยากรณ์ (กวย) วัดอัปสรสวรรค์ พ.ศ. 2464–2466
4 พระพุทธพยากรณ์ (เจริญ อุปตสฺโส) วัดอัปสรสวรรค์ พ.ศ. 2464 –2494
5 พระพุทธพยากรณ์ (สุคนธ์ สุคนฺธโร) วัดราชสิทธาราม พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]