พระนางอะตะปาเทวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะตะปาเทวี
พระบรมรูปพระนางอะตะปาเทวี ประดิษฐานบนทางเข้าวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
มหาเทวีแห่งล้านนา[ก]
พระราชสวามีพญายอดเชียงราย
ราชวงศ์มังราย

อะตะปาเทวี หรือ อตปาเทวี เป็นเจ้านายฝ่ายในพระองค์หนึ่งของอาณาจักรล้านนา ด้วยเป็นพระอัครมเหสีพระองค์หนึ่งของพญายอดเชียงราย พระองค์ทูลขอที่ดินจากพระราชสวามีสำหรับสร้างวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

พระประวัติ[แก้]

พระประวัติตอนต้นของอะตะปาเทวีมีความเป็นมาอย่างไรนั้นไม่เป็นที่ปรากฏ ทราบแต่เพียงว่าเป็นพระอัครมเหสีพระองค์หนึ่งของพญายอดเชียงราย ส่วนพระนาม "อตปา" คือคำว่า "ตปะ" มีความหมายว่า "มหาเทวีผู้ทรงบำเพ็ญกัมมัฏฐาน"[1] เชื่อว่าพระองค์น่าจะเป็นพระอัครมเหสีที่พระสวามีโปรดปรานมาก เพราะพบว่าพระนางสามารถทูลขอพระราชทานที่ดินที่เรียกว่า "ประเทศนี้" จากพญายอดเชียงรายมาสร้างวัดตโปทารามได้[2][3] โดยชื่อวัดมีความสอดคล้องกับพระนาม มาจากคำว่า ตปะ+อาราม แปลว่า "อารามแห่งการบำเพ็ญเพียรอันแรงกล้า"[1]

นักวิชาการประวัติศาสตร์ล้านนากระแสหลักอย่างเช่น เกริก อัครชิโนเรศ เชื่อว่าเจ้านายพระองค์นี้น่าจะเป็นพระองค์เดียวกับพระนางสิริยศวดีเทวี (นางโป่งน้อย) โดยสันนิษฐานว่าอาจเป็นพระนามหนึ่งของพระนางโป่งน้อยในการกัมมัฏฐาน เพราะนางโป่งน้อยมีพระนามอยู่มากนัก[1] แต่บางส่วนก็ว่าทั้งสองเป็นคนละองค์กัน ในกรณีนี้สมฤทธิ์ ลือชัยสันนิษฐานว่าพระนางอะตะปาเทวีนี้เป็นชาวฮ่อ[4] ส่วนเฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมีสันนิษฐานว่า "...อนึ่งสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพระนางป่งน้อยหรือพระนางสิริยศวดีเป็นพระมเหสีคนละองค์กับพระนางอะตะปาเทวี และทั้งสองพระนางไม่น่าจะลงรอยกันนั้น สังเกตได้จากวัดที่ถูกสร้างขึ้นไม่ไกลจากวัดตะโปทาราม (ปัจจุบันคือวัดร่ำเปิง) มีชื่อว่าวัดป่งน้อย (ปัจจุบันเขียน โป่งน้อย) ซึ่งน่าจะเป็นวัดที่พระนางป่งน้อยหรือพระนางสิริยศวดีพระราชมารดาของพระเมืองแก้วสร้างขึ้นนั้นเอง"[2]

บางแห่งก็ว่าพระนางอะตะปาเทวีอาจเป็นพระมารดาของเพลาสลัง (ภาษาถิ่นพายัพออกเสียงว่า เปาสะหล้าง) ซึ่งใน พื้นเมืองเชียงใหม่ ระบุว่าเพลาสลังเป็นลูกฮ่อ[5] หากเป็นเช่นนั้นจริงพระนางอะตะปาเทวีคงมีเชื้อสายมาจากจีนยูนนาน[1][4]

เชิงอรรถ[แก้]

หมายเหตุ

มหาเทวี มีความหมายกว้าง ๆ อาจหมายถึง "พระราชเทวี หรือนางกษัตริย์ ส่วนใหญ่หมายถึงพระบรมราชชนนีของพระมหากษัตริย์"[6]

อ้างอิง
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 เพ็ญสุภา สุขคตะ (30 พฤศจิกายน 2560). ""ล้านนาศึกษา" ใน "ไทยศึกษาครั้งที่ 13" (8) เมืองน้อย เมืองเนรเทศกษัตริย์ล้านนา The Romance of Three Kingdoms (3)". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, หน้า 155
  3. "จารึกวัดตโปทาราม". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 เพ็ญสุภา สุขคตะ (7 ธันวาคม 2560). ""ล้านนาศึกษา" ใน "ไทยศึกษาครั้งที่ 13" (9) เมืองน้อย เมืองเนรเทศกษัตริย์ล้านนา The Romance of Three Kingdoms (จบ)". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, 2543, หน้า 107
  6. เหมันต สีหศักกพงศ์ สุนทร, นาวาตรี. "ปราสาทนกหัสดีลิงค์แห่งแผ่นดินล้านนา". งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2560, หน้า 55