พระธาตุมะหิงยังก๊ะ

พิกัด: 18°46′08.5″N 99°37′53.4″E / 18.769028°N 99.631500°E / 18.769028; 99.631500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระธาตุมะหิงยังก๊ะ
พระธาตุมะหิงยังก๊ะ
ชื่อสามัญพระธาตุมะหิงยังก๊ะ
ที่ตั้งบ้านไฮ ม. 3 ต.ปงดอน ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง 52120
ประเภทพุทธศาสนสถาน
นิกายเถรวาท
ความพิเศษพระเจดีย์ประดิษฐานพระบรมธาตุจากลังกาตามตำนานพื้นเมือง
เวลาทำการ07.30-17.00 น.
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระธาตุมะหิงยังก๊ะ ตั้งอยู่บนเนินเขาในเขตอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองแจ้ห่มไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร วัดตั้งอยู่บนเนินสูงที่สามารถมองเห็นพื้นที่โดยรอบได้ชัดเจน ศาสนาสถานสำคัญของวัดคือองค์พระธาตุที่มีตำนานมาจากลังกาทวีป และได้รับการบูรณะในสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัย ปัจจุบันเป็นสำนักปฏิบัติธรรมขนาดเล็กบนเนินเขาเงียบสงบ องค์พระธาตุประดิษฐานอยู่บนยอดเนินเขามะหิยังก๊ะ ซึ่งเรียกตามตำนานพื้นเมืองในท้องถิ่น

ประวัติ[แก้]

ตามตำนานพระธาตุและตำนานพื้นเมืองระบุว่าองค์พระธาตุสร้างในสมัยล้านนาโบราณเมื่อครั้ง อ.แจ้ห่ม ยังเป็นเวียงวิเชตนครและมีเจ้าผู้ครองนครปกครอง โดยชื่อวัดมาจากตำนานพื้นเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูพุทธศาสนาจากลังกาในสมัยล้านนา เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากลังกา พระมหาเถระที่อัญเชิญมาได้ก่อองค์พระธาตุและเรียกชื่อตามมหิยังคณะสถูปในลังกา เป็นฝ่ายอรัญวาสี ได้รับการบูรณะองค์พระธาตุอีกครั้งในสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัย[1]

ศิลปกรรม[แก้]

พระธาตุมะหิงยังก๊ะ เป็นโบราณสถานสำคัญ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตอรัญวาสีเมืองโบราณวิเชตนคร ตามประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัยเคยมานมัสการและทำการบูรณะซ่อมแซม นับว่าเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองวิเชตนครมาแต่โบราณ

อ้างอิง[แก้]

  1. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่:ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, 2538

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ประชุมตำนานพระธาตุ ภาคที่ 1 (พิมพ์เป็นทีระลึกในงานศพ นางแข ฟูศักดิ์ 17 สิงหาคม 2485)

18°46′08.5″N 99°37′53.4″E / 18.769028°N 99.631500°E / 18.769028; 99.631500