ผู้ใช้:Waw/อีเมลล์ขยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Spam[แก้]

Spam คือ เมล์ที่มีใครก็ไม่รู้ส่งมายังe-mail ของเราโดยการส่งคือ การส่งโดยหว่านแห เป็นการส่งไปให้ใครก็ได้เป็นจำนวนมาก spam ส่วนใหญ่ที่เราพบกันเป็นเมล์โฆษณาเชิญชวนให้ซื้อสินค้า พบทั้งในอีเมล์ และในโทรศัพท์มือถือ โฆษณาเหล่านี้เป็นที่หน้าลำคลานสำหรับผู้ใช้อีเมล์และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ จึงเรียกเมล์เหล่านี้ว่า e-mail ขยะ

การเกิดขึ้นของ spam[แก้]

เพราะส่งอีเมล์เป็นการสื่อสารที่เสียค่าใช่จ่ายน้อยและสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้จำนวนมาก จึงใช้วิธีการให้ได้มาซึ่งอีเมล์แอดเดรสของกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพราะว่าโลกสมัยนี้ต้องใช้Internet กันแทบทุกคน จึงเป็นเป้าหมายนักธุรกิจในการโฆษณาสินค้าในinternet

วิธีป้องกันSpam คือ[แก้]

การที่ป้องกันไม่ให้คนอื่นที่ไม่จำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องในติดต่อรู้อีเมล์แอดเดรสของเรา หรือการสมัครสมาชิกใดๆบนอินเทอร์เน็ต หรือการซื้อของทางอินเทอร์เน็ต คุณไม่ควรจะใช้อีเมล์แอดเดรสที่ใช้ในการทำงานหรือติดต่อสื่อสารกับคนอื่น ในการ ลงทะเบียนเหล่านี้ เพราะจะทำให้อีเมล์แอดเดรสของคุณหลุดรอดไปยังพวกสร้างอีเมล์ spam เราควรสร้างเมล์ไว้อีกเมล์หนึ่งเพื่อเอาไว้สมัครหรือซื้อของในinternet เพื่อที่จะไม่ต้องไปรบกวนเมล์หลักของเรา

Spam mail junk mail ผิดกฎหมาย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2550[แก้]

ประเทศไทยได้ตรากฎหมายกำหนดความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ออกใช้บังคับแล้ว คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยมีบทบัญญัติกำหนดให้การส่งสแปมเป็นความผิดไว้ในมาตรา 11 คือ "ผู้ใดส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท"
องค์ประกอบสำคัญของความผิดตามมาตรานี้ อยู่ที่การปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของข้อมูล ซึ่งก็คือ การปกปิด หรือปลอมแปลง IP address ไม่ใช่การปกปิดชื่อหรือใช้นามแฝงในการส่ง องค์ประกอบต่อมา คือ การส่งสแปมดังกล่าวเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข นอกจากสแปมแล้ว ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติฉบับนี้ออกใช้บังคับ การส่งข้อความที่เป็นเท็จหรือปลอม หรือเผยแพร่ข้อมูลหรือภาพที่มีลักษณะลามก แล้วโพสต์ในเว็บไซต์เว็บบอร์ด หรือส่งต่อผ่านอีเมล์ไปยังบุคคลต่างๆ จะเอาผิดได้เฉพาะกรณีเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น แต่กฎหมายฉบับนี้อุดช่องโหว่โดยบัญญัติการกระทำที่เป็นความผิดเผยแพร่ข้อมูลเท็จหรือปลอม หรือข้อมูลที่เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงหรือการก่อการร้าย หรือลามกผ่านระบบคอมพิวเตอร์ให้ขยายกว้างขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา และกำหนดโทษไว้ ซึ่งลักษณะความผิดบางลักษณะมีโทษสูงกว่าโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 14 (1) (2) (3) (4) และกำหนดความผิดของผู้ส่งต่อไว้ใน (5) คือ
มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  1. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
  2. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
  3. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
  4. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
  5. เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)[1]

ศูนย์คอมพิวเตอร์ป้องกันและแก้ปัญหา spam mail[แก้]

มีระบบป้องกัน virus และดับจับพวก spam mail เรียกว่า mail relay system ซึ่งจะมี เครื่อง mail relay server จำนวน 2 เครื่อง เครื่องแรกคอยทำหน้าที่ตรวจจับ virus และ spam mail จาก internet ภายนอกก่อนที่จะส่งไปให้เครื่อง mail server ซึ่งเป็นเครื่องที่ให้บริการ e-mail ให้กับบุคลากร อาจารย์ และนักศึกษา ส่วนเครื่องที่สอง ทำหน้าที่คอยตรวจจับเมล์จากภายในก่อนที่จะส่งออกไปภายนอก โดยระบบนี้จะช่วยป้องกัน virus ที่มากับ e-mail และช่วยลดปริมาณของ spam mail ได้ และยังเป็นการป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกหรือผู้ไม่ประสงค์ดีมาอาศัย mail server ของมหาวิทยาลัยในการส่ง spam mail ออกไปภายนอกได้[2]

ระบบของสแปมไฟเตอร์นั้นทำงานอย่างไร[แก้]

หากผู้ใช้สแปมไฟเตอร์ได้รับอีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์ก็แปลว่าระบบสแปมไฟเตอร์ได้พลาดการตรวจจับอีเมล์ขยะฉบับนั้น ผู้ใช้สามารถแก้ไขได้โดยการกันอีเมล์นั้นๆ ออกด้วยคลิกเดียว จากนั้นที่อยู่อีเมล์ขยะนั้นจะถูกกันออกจากท่านและผู้ใช้สแปมไฟเตอร์ทุกคนทั่วโลกภายในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่วินาที โปรแกรมสแปมไฟท์เตอร์แบบมาตรฐาน เป็นโปรแกรมซอฟท์แวร์ป้องกันอีเมล์ขยะที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับ Outlook Outlook Express Window Mails และ Mozilla Thunderbird ด้วยการกลั่นกรองสแปมอีเมล์โดยอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการตรวจสอบกลโกงจากอีเมล์ขยะในรูปแบบต่างๆ
เมื่อใดก็ตามที่มีอีเมล์ฉบับใหม่เข้ามา มันจะถูกทดสอบโดยอัตโนมัติจากโปรแกรมสแปมไฟท์เตอร์และถ้าพบว่ามันเป็นอีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์ มันจะถูกย้ายไปยังแฟ้ม Spam folder ของคุณทันที
วิธีการป้องกัน

  1. ใช้ outlook ในการกรองอีเมล์ spam
  2. หลีกเลี่ยงการตอบอีเมล์ spam
  3. ไม่ควรใช้อีเมล์แอดเดรสที่ใช้ในองค์กร ในการลงทะเบียนใดๆ บนอินเทอร์เน็ต
  4. ถ้าคุณเป็นผู้ดูแลระบบคุณอาจจะต้องกำหนดให้ผู้ใช้เครือข่ายของคุณใช้กฎการป้องกันอีเมล์
  5. หากคุณมี web site เป็นของตัวเอง ไม่ควรใส่อีเมล์แอดเดรสหลักที่คุณใช้ในองค์กรลงบน web site
  6. หากต้องใช้อีเมล์แอดเดรสในการลงทะเบียน website ใดๆให้อ่าน privacy policy ให้ละเอียด
  7. ลบข้อมูลของคุณจาก profile ต่างๆที่อาจค้นเจอได้โดยทางอินเทอร์เน็ต
  8. ไม่ควรส่งต่ออีเมล์ประเภท chain e-mail หรือ forward mail[3]

ตัวอย่าง
Fishing cache ฟิชชิ่ง คือ E-mail spam ที่ถูกใช้งานในด้านฉ้อโกงยักยอกรูปแบบต่างๆ ซึ่งในขณะนี้กำลังระบาดอย่างแรง รูปแบบหลักๆของพิชชิ่ง คือการที่ กลุ่มมิจฉาชีพปลอมแปลงโฮมเพจ ที่ดูเหมือนโฮมเพจที่ดูน่าเชื่อถือ ความสามารถของฟิชชิ่งคือปลอมแปลงได้ทั้งโลโก้และข้อมูลต่างๆ สแปมอีเมล์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า "อีเมล์ขยะ" ก็ใช้รูปแบบเดียวกันเพื่อหลอกล่อให้เหยื่อเข้ามาที่โฮมเพจปลอมเหล่านั้น พิชชิ่งถือเป็นการคุกคามที่ยิ่งใหญ่ บริษัทธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตใหญ่ๆ เช่น ไมโครซอฟท์, อีเบย์, วีซ่า และ โฮลซีเคียวริตี้ ประกาศร่วมมือกันพยายามต่อต้านอัตราการเพิ่มขึ้นของการคุกคามนี้ กลุ่มเป้าหมายที่เจาะจงส่วนใหญ่มักจะเป็น สถาบันทางการเงิน เช่น ธนาคาร บริษัทเครดิตการ์ด เป็นต้น[4]
สแปมบล็อก (Spam Blog) ภัยคุกคามใหม่ คนอินเทอร์เน็ต
"สแปมบล็อก" คือ การคุกคามรูปแบบใหม่ ที่เกิดขึ้นกับ เว็บบล็อก หรือเว็บไซต์ที่มีเว็บบอร์ด โดยรูปแบบของการ โจมตีจะเป็นการลงประกาศข้อความโฆษณาต่าง ๆ มากมายภายในเว็บนั้นๆ โดยเฉพาะในเว็บบอร์ด หรือส่วนที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถลงข้อความลงได้ ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์นั้นๆ เต็มไปด้วยประกาศข้อความขยะ โฆษณา หรือบางทีก็เป็นอะไรที่อ่านไม่รู้เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่การกระทำ สแปมบล็อก" จะทำโดยใช้ ระบบโปรแกรมมิ่งที่เขียนเอาไว้อัตโนมัติ เพื่อโจมตีเว็บไซต์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และจะกระทำอย่างต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ บางคนที่ทนไม่ได้กับการรบกวนของ spam blog ถึงกับทิ้งเมล์เลยก็มีเพราะมันมีมากเกินไปจนทนลบเมล์ขยะทิ้งจากเมล์ของตนไม่ได้แล้วจึงเปลี่ยนเมล์ใหม่ นี้แหละคือ ภัยคุกคามแบบใหม่ของคนอินเทอร์เน็ต Spam Blog[5]






อ้างอิง[แก้]