ผู้ใช้:Wajanaporn tepsorn

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟล์:Banded-Pitta.jpg
นกแต้วแล้วลาย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Pittidae
สกุล: Pitta
สปีชีส์: P.  guajana


ไฟล์:Phylogeny of bird (1).png

นกแต้วแล้วลาย (อังกฤษ: Banded Pitta; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pitta guajana ) จัดอยู่ในอันดับนกเกาะคอน (Passeriformes) [1] วงศ์ Pittidae[2] ในประเทศไทยพบนกในวงศ์นี้ทั้งสิ้น 13 ชนิด ได้แก่ นกแต้วแล้วหูยาว, นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำเงิน, นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำตาล, นกแต้วแล้วยักษ์, นกแต้วแล้วสีน้ำเงิน, นกแต้วแล้วเขียวเขมร,นกแต้วแล้วท้องดำ, นกแต้วแล้วอกเขียว, นกแต้วแล้วแดงมลายู, นกแต้วแล้วธรรมดา, และนกแต้วแล้วป่าชายเลน


ลักษณะ[แก้]

เป็นนกขนาดเล็ก มีลำตัวอ้วนป้อม มีสีสันฉูดฉาด คอสั้น หัวโต หางสั้น ลำตัวยาวประมาณ 21-24 เซนติเมตร มีคอขาว แถบกลางหัว แถบตา และแถบรอบคอดำ คิ้วกว้างสีเหลืองและมีสีแดงบริเวณใกล้ท้ายทอย มีความแตกต่างของชุดขนระหว่างเพศโดยบริเวณอกและท้องของเพศผู้จะเป็นสีน้ำเงินเข้มและไม่มีลาย ในขณะที่เพศเมียจะมีลายบริเวณท้องและอกที่เด่นชัด และมีสีสันที่จางกว่าเพศผู้


ถิ่นที่อยู่อาศัย[แก้]

เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยนัก พบเห็นได้เฉพาะบริเวณป่าดงดิบบริเวณที่ราบทางภาคใต้ของประเทศไทยจนถึงความสูงประมาณ 610 เมตร และมีกระจายบางส่วนเป็นหย่อมๆ ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย


การสืบพันธุ์[แก้]

นกแต้วแล้วลายมีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม โดยจะส่งเสียงร้องเพื่อเป็นการสื่อสารและตอบโต้ระหว่างช่วงจับคู่ผสมพันธุ์ นกแต้วแล้วลายจะจับคู่ผสมพันธุ์แบบ ผัวเดียวเมียเดียว monogamy [3]ซึ่งพ่อและแม่นกจะช่วยกันสร้างรังรูปทรงโดมเหนือพื้นดิน บางครั้งอาจจะสูงถึง 3 เมตร บริเวณ ตามง่ามไม้ในกลุ่มปาล์ม หวาย การสร้างรังเกิดจากการสานกิ่งไม้เป็นโครงก่อนจึงบุด้วยใบไม้แห้ง ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง นกแต้วแล้วเป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่มีอัตราการรอดของลูกนกต่ำ ถึงแม้บางชนิดจะพัฒนาให้มีการสร้างรังบนที่สูง ปัจจัยสำคัญคือ สัตว์ผู้ล่า อาทิเช่น งู กระรอก นก มด และ ลิง เป็นต้น


พฤติกรรมและนิเวศวิทยา[แก้]

นกแต้วแล้วลายมีนิสัยขี้อายและขี้ตกใจ มักกระโดดหากิน หรือบินในระยะทางสั้นๆตามเรือนยอดไม้ในป่าดิบ มักชอบหาอาหารบริเวณใกล้ลำธารหรือแหล่งน้ำ เนื่องจากดินบริเวณนั้นจะมีความร่วนซุย ง่ายต่อการใช้จะงอยปากในการคุ้ยเขี่ยหาไส้เดือน หรือแมลง นอกจากนี้นกแต้วแล้วลายยังกินหอยทาก แมลงสาป มด ปลวก เต่าทอง ตัวบุ้ง และแมลงอื่นๆที่ซ่อนอยู่ใต้ใบไม้แห้งอีกด้วย


ความสัมพันธุ์เชิงวิวัฒนาการ[แก้]

จากการศึกษาความสัมพันธุ์ทางวิวัฒนาโดยการใช้ 416 UCE loci และทำการสร้าง phylogenetic tree [4]2 แบบ คือ Bayesian and maximum-likelihood (ML) trees พบว่าวงนกศ์แต้วแล้ว (Pittidae) มีความสัมพันธุ์เชิงวิวัฒนาการโดยเป็น sister group กับนกในวงศ์นกแก้ว psittacidae [1]

สำหรับการศึกษา หรืองานวิจัยเกี่ยวกับนกแต้วแล้วในประเทศไทย พบว่ามีปรากฏอยู่น้อยมาก ข้อมูลล่าสุดพบนกแต้วแล้วลายเพศผู้จับคู่ผสมพันธุ์กับแต้วแล้วท้องดำเพศเมียในพื้นที่ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เขาประ-บางคราม จ.กระบี่ หรือเขานอจู้จี้ สืบเนื่องมาจากถิ่นที่อยู่อาศัยของนกทั้ง 2 ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกัน คือ ป่าที่ราบต่ำทางภาคใต้ อีกทั้งพบว่า ประชากรแต้วแล้วท้องดำในพื้นที่ มีน้อยมาก จึงอาจเป็นเหตุสำคัญให้เกิดการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ดังกล่าว นักวิจัยหลายท่านจึงมองว่า การศึกษาชีววิทยาของนกแต้วแล้วลาย ซึ่งมิใช่สัตว์ป่าสงวนนั้น อาจเป็นทางออกหนึ่งให้เราสามารถเข้าใจและสามารถนำไปปรับใช้ในการอนุรักษ์นกแต้วแล้วท้องดำ ซึ่งมีสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่งต่อไป [2]


การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการ[แก้]

นกแต้วแล้วลายซึ่งจัดอยู่ในอันดับนกเกาะคอน(Passerine) นกในอันดับนี้มีลักษณะทางกายภาพที่วิวัฒนาการเพื่ออาศัยและให้สามารถหากินบนต้นไม้ได้ดี โดยการมีนิ้วทั้ง 4 นิ้วที่เจริญดีและอยู่ในระนาบเดียวกัน จึงเหมาะแก่การจับหรือเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้ แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินบนพื้นดิน ดังนั้นเมื่อลงดินจึงใช้วิธีการก้าวกระโดด ลักษณะดังกล่าวนอกจากจะช่วยในการหาอาหารได้ในหลากหลายพื้นที่มากขึ้นแล้ว ยังเป็นลักษณะสำคัญที่ช่วยให้นกหลีกเลี่ยงการเผชิญกับสัตว์ผู้ล่าที่หากินบริเวณพื้นล่างอีกด้วย


คุณค่าและความสำคัญ[แก้]

นกแต้วแล้วลายจัดเป็นนกแต้วแล้วชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักนิยมธรรมชาติและนักดูนกทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากสีสันที่สวยงาม และมีการแพร่กระจายเฉพาะในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียเท่านั้น ธุรกิจหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่ชาวบ้านทางภาคใต้โดยเฉพาะพื้นที่เขานอจู้จี้ จังหวัดกระบี่ คือ การนำนักท่องเที่ยวดู ซึ่งเป็นอีกแนวทางสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน โดยที่ไม่เป็นการรบกวนนกมากนัก และเสริมสร้างให้ชาวบ้านตระหนักถึงความสำคัญและเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์สัตว์ป่าต่อไป ซึ่งนี่อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับงานด้านอนุรักษ์ที่ยั่งยืนในอนาคตก็เป็นไปได้


อ้างอิง[แก้]

  1. https://th.wikipedia.org/wiki/Passeriformes
  2. https://th.wikipedia.org/wiki/Pittidae
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/Monogamy
  4. https://en.wikipedia.org/wiki/Phylogenetic_tree