ผู้ใช้:Suparkan30/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่อ - สกุล : นายสุปราการ แป้นจันทร์
ชื่อเล่น : กัน
วันเกิด : 02 กันยายน พ.ศ. 2535
รหัสนักศึกษา : 561531023041-2

PROFILE[แก้]

ข้อมูลส่วนตัว[แก้]

ชื่อ[แก้]

นายสุปราการ แป้นจันทร์

ที่อยู่[แก้]

430 ม.1 ต. โพธิ์กลาง อ.เมือง จ. นครราชสีมา

การศึกษา[แก้]

ตำแหน่งด้านไอที[แก้]

โปรแกรมเมอร์

บทความด้านไอที[แก้]

มาทำความรู้จักกับซีพียู (CPU) เพื่อการเลือกซื้อโน้ตบุ๊คคู่ใจ

สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้จะเป็นการแนะนำเกี่ยวกับ ซีพียู ว่ามันทำหน้าที่อะไร หากท่านผู้อ่านคิดจะซื้อ โน้ตบุ๊ค สักเครื่องหนึ่ง โดยซีพียูนั้น เป็นส่วนประกอบสำคัญอันดับต้นๆ ที่เราควรรู้ไว้สักนิดว่ามันทำหน้าที่อะไร เพราะซีพียูเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพหรือเป็นหัวใจสำคัญของโน้ตบุ๊ค เลยก็ว่าได้ และที่สำคัญ ในปัจจุบันนี้ ซีพียูนั้นมีหลายเทคโนโลยีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ซีพียูประสิทธิภาพสูง ซีพียูสำหรับการใช้งานทั่วๆไป หรือแม้แต่ ซีพียูแบบประหยัดพลังงาน โดยบทความนี้จะทำให้คุณรู้จักกับเจ้าซีพียูมากขึ้น และช่วยในการตัดสินใจว่าคุณต้องการซีพียูแบบไหน? เพื่อใช้งานในด้านใด จะได้ไม่ผิดจุดประสงค์ความต้องการของท่านผู้อ่านครับ นอกจากนี้ทางทีมงานโน้ตบุ๊คโฟกัสจะแบ่งหมวดซีพียูให้ท่านผู้อ่านเข้าใจอย่างง่ายๆ ให้อีกด้วย ลองมาดูกันเลยครับ


ซีพียู ทำหน้าที่อะไร?


CPU (Central Processing Unit) คือ หน่วยประมวลผลข้อมูล และส่งคำสั่งไปยังส่วนประกอบต่างๆ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูจะเน้นในเรื่องของการประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ผลิตแต่ละค่าย ก็พยายามพัฒนาให้มีความสามารถที่ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยในปัจจุบันซีพียูมีเทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร คือมีขนาดเล็กลงแต่ประสิทธิภาพนั้นสูงขึ้น ซึ่งการทำงานของซีพียูนั้น เมื่อท่านผู้อ่านพิมพ์ ตัวอักษรที่คีย์บอร์ด (Input) ก็จะมีการส่งข้อมูลมาที่ซีพียู เพื่อประมวลผลว่าปุ่มที่กดนั้นคืออะไร และซีพียูก็จะส่งข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วมายังจอภาพ (Output) ให้ท่านผู้อ่านได้เห็นครับ


ทำความรู้จักกับ ซีพียู จาก Intel และ AMD


อย่างที่รู้กันว่าซีพียู ที่ชาวไทยรู้จักดี ก็คงหนีไม่พ้น ซีพียู จากค่าย อินเทล (Intel) ด้วยประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง และประหยัดพลังงาน โดยจะมีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ทุกปี และเมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา ทางอินเทล ก็มีการปล่อย ซีพียู Intel Core i ออกมาสู่ตลาด ที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพที่ดีกว่ารุ่นก่อน แถมยังประหยัดไฟมากกว่าเดิม จึงได้ผลตอบรับจากผู้ใช้เป็นอย่างดี และปี 2011 ก็ได้ปล่อย Generation ที่ 2 ของตระกูล Intel Core i ในชื่อว่า Intel Sandy Bridge โดยมีการพัฒนาในเรื่องของการนำเอา ซีพียู กับ การ์ดจอ (ออนบอร์ด) มาอยู่ในชิ้นเดียวกัน ด้วยการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร และผลที่ได้คือ ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น กว่าออนบอร์ดแบบเดิมๆหลายเท่าตัว อีกทั้งยังช่วยเรื่องของการประหยัดพลังงานอีกด้วย


สำหรับ ซีพียูจาก AMD ถือเป็นคู่แข่งตลอดกาลของ Intel ก็ไม่ยอมน้อยหน้า ซุ่มพัฒนาซีพียูมาโดยตลอด และก็ได้การตอบรับที่ดีไม่แพ้กัน แต่อาจจะไม่ต่อเนื่องเหมือนกับทาง Intel ทำให้ผู้ผลิต โน้ตบุ๊ค เลือกใช้ซีพียูจาก AMD ในบางรุ่นเท่านั้น แต่หากมองเรื่องที่ประสิทธิภาพ ซีพียู AMD ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่า Intel แต่อย่างใด แถมในบางรุ่นยังสูสีกันมาก บอกได้ว่าเบียดกันเข้าโค้งเลยทีเดียว แต่จุดเด่นที่เราเห็นได้ชัดนั่นก็คือ ซีพียูจากทาง AMD ยังมีราคาที่ประหยัดกว่าอีกด้วย เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจอย่างง่ายๆ ทางทีมงานของเราจะทำตารางของซีพียูจาก Intel และ AMD โดยจะเลือกรุ่นที่ยังมีขาย และยังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบันครับ


ซีพียู ระดับสูง (High-Level CPU)

จุดเด่นของซีพียูระดับนี้คือ เน้นในเรื่องความเร็วในการประมวลผล และประสิทธิภาพการทำงานที่สูงมาก สำหรับใครที่กำลังมากหาโน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูระดับสูงอยู่ สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ความเร็วของซีพียู (ยิ่งมากยิ่งดี) หน่วยความจำของ Cache ยิ่งซีพียูมีหน่วยความจำ แคช มากเท่าไหร่ จะส่งผลให้สามารถเก็บข้อมูลสำรองที่มี่การเรียกใช้บ่อยได้มากขึ้นเท่านั้น สำหรับในส่วนต่อมาคือ FSB (Front Side Bus) คือความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างซีพียูกับชิพเซต ซีพียูที่ความเร็วของ FSB สูง จะช่วยให้การทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าความสามารถที่สูงย่อมมากับราคาที่สูงเช่นกัน และอัตราการกินไฟก็สูงตามมาด้วย โดยซีพียูระดับนี้จะเหมาะกับการใช้งานในด้านการประมวลผลที่สูง เช่น เล่นเกมโหดๆ, ตัดต่อ หรือ การทำงานที่ต้องใช้ประสิทธิภาพของซีพียูระดับสูงนั่นเอง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย ว่าปัจจุบันนี้มีซีพียูระดับ High รุ่นไหนน่าสนใจกันบ้าง

ตารางแสดงรายการของ ซีพียู ระดับสูง (High-Level CPU) ที่น่าสนใจ


ดังรูป จะเห็นได้ว่าซีพียูจาก Intel มาแรงตามคาด แต่ความเร็วของซีพียูจาก AMD จะมีความเร็วสูงที่สุด แน่นอนว่า อันดับ และ คะแนน ที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมด้วยครับ

ตัวอย่าง Spec เครื่องซีพียูระดับสูง


Samsung RF409-S03TH


ซีพียู ระดับกลาง (Medium-Level CPU)

สำหรับประสิทธิภาพของซีพียูในระดับนี้ จะต่ำลงกว่าระดับบนอยู่พอสมควร สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็ไม่ต่างจากกันเท่าไหร่นัก แต่ราคาถูกลง และมีอัตราการกินไฟอยู่ที่ 30-35 วัตต์ ต่อชั่วโมง เหมาะกับการใช้งานระดับกลางๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมระดับกลางๆ ท่องเว็บไซต์ พิมพ์งานเอกสาร ก็สามารถทำได้อย่างไหลลื่น ไปดูกันดีกว่าว่าซีพียูในระดับนี่มีรุ่นอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง

ตารางแสดงรายการของ ซีพียู ระดับกลาง (Medium-Level CPU) ที่น่าสนใจ


สำหรับซีพียูระดับนี้ AMD มาแซงโค้งเลย ถึงแม้ความเร็วจะไม่ได้สูงสุดแต่ คะแนนจากโปรแกรมทั้ง 2 โปรแกรม ได้เป็นอันดับหนึ่งเลยทีเดียว

ตัวอย่าง Spec เครื่องซีพียูระดับกลาง


Asus X42DE-VX085D



ซีพียู ระดับพื้นฐาน (Basic-Level CPU)

สำหรับซีพียูในระดับนี้ จะเป็นซีพียูสำหรับการใช้งานทั่วไป ไม่สามารถทำงานที่ต้องใช้ซีพียูในการประมวลผลสูงมากได้ เนื่องจากถูกปรับลดระดับ ของ Cache และ FSB เพื่อให้สามารถจำหน่ายในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป อัตราการกินไฟก็ไม่มากนัก แต่ประสิทธิภาพของซีพียูใช่ว่าจะทำอะไรไม่ได้เลย อย่าเข้าใจผิดนะครับ เรื่องของการใช้งานทั่วไปนั้น ทำได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น ดูหนัง ฟังเพลง พิมพ์งานเอกสาร ท่องอินเทอร์เน็ต ก็ยังสามารถทำได้อยู่ แต่อาจจะไม่เทียบเท่ารุ่นสูงๆเท่านั้นเอง เหมาะกับการใช้งานเบาๆ มากกว่า ไม่เหมาะกับการใช้งานมากนัก สำหรับซีพียูระดับนี้มีรุ่นไหนที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกันดีกว่าครับ

ตารางแสดงรายการของ ซีพียู ระดับพื้นฐาน (Basic-Level CPU) ที่น่าสนใจ


สำหรับ ซีพียูระดับนี้ Intel ได้ที่หนึ่งครับ ด้วยหน่วยความจำ Cache มากที่สุด เวลาใช้งานจริง จะทำออกมาได้ดีกว่าอย่างแน่นอน ถึงแม้ความเร็วจะน้อยกว่าก็ตาม

ตัวอย่าง Spec เครื่องซีพียูระดับพื้นฐาน


Acer eMachines D640-P321G32MN/C008


ซีพียู สำหรับ เน็ตบุ๊ค (Netbook CPU)

สำหรับซีพียูในระดับนี้ จะมีจุดเด่นในเรื่องการกินไฟที่น้อยกว่า ซีพียูรุ่นแรงๆเกือบ 10 เท่าเลยทีเดียว ถึงแม้ความเร็วของซีพียูจะไม่มากนักแต่ก็เพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไปได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของซีพียูในระดับนี้ คงไม่สามารถนำไปใช้งานเทียบเท่ากับรุ่นสูงๆ ได้อย่างแน่นอน จึงไม่เหมาะกับการนำไป เล่นเกม หรือการประมวลผลที่สูงมาก แต่จะเหมาะกับการใช้งานเบาๆ เช่น พิมพ์เอกสาร ท่องอินเทอร์เน็ต เล่นเกมบนเว็บไซต์ สามารถ ทำได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ไปดูกันดีกว่าครับว่า ซีพีรุ่นเล็กนี้มีรุ่นไหนเด่นๆ ในขณะนี้บ้าง

ตารางแสดงรายการของ ซีพียู สำหรับ เน็ตบุ๊ค (Netbook CPU) ที่น่าสนใจ


สำหรับในรุ่นเล็กนี้ AMD ก็ไล่จี้ Intel มาติดๆเลยครับ ถึงแม้คะแนนที่ได้ออกมาจะแตกต่างกัน เวลาใช้งานจริงๆ ของเน็ตบุ๊ค ก็ไม่ค่อยจะเห็นผลเท่าไหร่นัก (เพราะเน็ตบุ๊ค เน้นเรื่องการพกพาสะดวก)

ตัวอย่าง Spec เครื่องซีพียูสำหรับเน็ตบุ๊ค


Samsung NC108-A02TH


ซีพียู ประหยัดพลังงาน (Energy Saving CPU)

ในส่วนของซีพียูในระดับนี้ จะโดดเด่นในเรื่องของการประหยัดพลังงานเป็นพิเศษ โดยจะมีอัตราการกินไฟไม่เกิน 11 วัตต์ ต่อชั่วโมง บวกลบนิดหน่อย ซึ่งจะมีความเร็วของซีพียูอยู่ที่ 1.20GHz สูงสุดไม่เกิน 2.13GHz และจะพบได้เฉพาะ โน้ตบุ๊คขนาดเล็ก หรือ โน้ตบุ๊คบางเบาเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับนักธุรกิจที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อนำเสนองาน หรือ ติดต่อลูกค้า ที่จำเป็นต้องใช้ โน้ตบุ๊ค ประหยัดแบตเตอรี่นั่นเอง สำหรับซีพียูเด่นๆในรุ่นนี้ มีอะไรบ้างไปดูกันครับ

ตารางแสดงรายการของ ซีพียู ประหยัดพลังงาน (Energy Saving CPU) ที่น่าสนใจ


จากรูป จะเห็นว่าคะแนนของ Intel จะดีกว่าค่อนข้างเยอะ ไม่เพียงแค่คะแนนเท่านั้น ในเรื่องของการประหยัดพลังงานแล้ว ทาง Intel ก็ทำได้ดีกว่าอีกด้วย

ตัวอย่าง Spec เครื่องซีพียูประหยัดพลังงาน


Lenovo ThinkPad Edge 11


สรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความการแนะนำซีพียู ทางทีมงานหวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ โดยคะแนนที่ได้มานั้นเป็นคะแนนที่ได้มาจริง ไม่ได้กำหนดขึ้นมาเองครับ บางท่านที่อ่านแล้วอาจจะงงว่าทำไมบางรุ่น ความเร็วสูงกว่า คะแนนทดสอบดีกว่า แต่ไม่ได้เป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเวลาใช้งานจริง ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและปัจจัยหลายๆอย่างครับ ถึงคะแนนที่ได้จะสูง แต่การใช้งานจริงไม่นิ่งและเนียนพอ คะแนนที่ได้ก็หมดความหมายนั่นเองครับ ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคน ว่าเลือกซีพียูมาใช้งานได้ถูกตามจุดประสงค์หรือไม่ และซีพียูที่เลือกมานั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งานของท่านอย่างที่ใจต้องการ สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณ แฟนๆโน้ตบุ๊คโฟกัสทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราทุกวัน สำหรับความผิดพลาดประการใดๆ ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ


GDC 2015 : Nvidia เปิดตัว Shield Console เครื่องเล่นเกม Android TV ชัดระดับ 4K ช่วงนี้นอกจากจะมีงาน Mobile World Congress 2015 ที่ประเทศสเปน ซึ่งเป็นงานมหกรรมมือถือ แล้ว ยังมีอีกงานนึงที่น่าสนใจเช่นกัน เป็นงานประชุมกลุ่มนักพัฒนาเกม “The Game Developers Conference 2015″ หรือ GDC 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ Moscone Center, San Francisco สหรัฐอเมริกา และล่าสุดแบรนด์ NVIDIA ผู้ผลิตการ์ดจอคอม และ และชิพบนมือถือชื่อดัง ได้เปิดตัวเครื่องเกมชื่อว่า NVIDIA Shield Console

nvidia-shield-console-p02

เครื่องเล่นเกม Shield Console นั้น มาพร้อม หน่วยประมวลผล NVIDIA Tegra X1 ตัวล่าสุด GPU Maxwell, แรม 3GB , หน่วยความจำภายใน 16GB , usb 3.0 ถึง2 พอร์ท , มีพอร์ท micro usb 2.0 , รองรับหน่วยความจำ microSD สูงสุด 128 GB สามารถแสดงผลภาพระดับ 4K บนทีวีรุ่นใหม่ ทั้งเล่นไฟล์ภายในเครื่อง หรือ ทาง Stream บน Internet มี Youtube 4K บน Shield Console เพื่อชมคลิป streaming จาก Youtube ระดับ 4K ด้วย มี Google Cast API สามารถส่งเนื้อหาจากมือถือ มาเล่นบนทีวีได้ และยังรองรับสั่งงานด้วยเสียงได้ด้วย

สามารถเล่นเกมที่โหลดจาก Play Store และเกมดังที่ใช้กราฟฟิคสูง ที่พอร์ทลงกับเครื่องเล่น Shield Console นี้ด้วย มีหลายเกมดังให้เล่น เช่น Doom 3 , Crysis 3 , Dead Rising 2 , Portal , Star Wars: Kinight the old Republic , Resident Evil 5 หรือจะเล่นเกม Streaming จาก Cloud อย่าง Nvidia Grid ซึ่งมีเกมความละเอียด Full HD 60 Fps มากถึง 50 เกมด้วย

nvidia-shield-console-p01

โดยราคาขายของ NVIDIA Shield Console อยู่ที่ $199 บาท (ประมาณ 6,500 บาทไทย ) ทั้งนี้เป็นราคาตัวเครื่องบวกกับจอย Shield Controller 1 อัน เริ่มขายในเดือนพฤษภาคมนี้


หากเจ้าเครื่องเล่นเกมนี้ได้เข้าจำหน่ายในไทยละก็ ไม่แน่ PS4 และ Xbox One อาจสั่นคลอนก็ได้ เพราะนอกจากสามารถเล่นเกมดังได้แล้ว ยังรองรับกับมือถือ แท็บเล็ต Android ในการแชร์เนื้อหาบนมือถือ ออกจอทีวี เป็น Home Entertain ให้ความบันเทิงภายในบ้าน เรียกได้ว่า เปลี่ยนทีวีธรรมดาที่รองรับ HDMI กลายเป็นสมาร์ททีวีด้วยเครื่องเล่นเกม NVIDIA SHIELD นี้ได้เลย


ความแตกต่างระหว่าง CPU Amd กับ CPU Intel


         สำหรับในด้านของ CPU หรือหน่วยประมวลผลกลางที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีผู้ผลิต CPU สำหรับ Notebook รายใหญ่ๆอยู่เพียง 2 แบรนด์  คือ AMD และ Intel  ซึ่งกระแสตอบรับในตลาดผู้ใช้ จะเป็น Intel เป็นส่วนใหญ่



        Intel นับเป็นเจ้าแห่งวงการ CPU ที่มีส่วนแบ่งครองตลาดสูงสุด มีพัฒนาการ CPU อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ CPU บางรุ่นต้องหายไปจากสายการผลิต สำหรับ CPU ค่าย intel นี้เราแบ่งตลาด CPU เป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ

Atom

        เป็น CPU ขนาดเล็กสุดที่นิยมใช้ใน netbook  แม้ว่าตลาดของ netbook จะดูย่ำแย่ลง กระแสตอบรับของผู้ใช้ถดถอยลงมาก แต่ด้วยราคาที่ไม่แพงรองรับการใช้งานแบบเบาๆทั้งการท่องเว็บหรืองานเอกสารเล็กๆ ค่อนข้างดี ส่งผลให้มีผู้ผลิตหลายรายยังคงสายการผลิตไว้อยู่ และ intel ได้สนับสนุนหลักการของ netbook อย่างต่อเนื่องโดยทำการพัฒนาGeneration ที่ 3 ของ CPU สายนี้ด้วยเทคโนโลยี 32 nm ที่ใช้รหัสว่า D2500 โดยได้กำหนดลักษณะเฉพาะของ netbook รุ่นใหม่ เพื่อให้เป็นตัวเลือกของผู็ที่จะใช้ Tablet ต้องชั่งใจก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ ด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 8 ก็จะทำให้ netbook รองรับการแปลงร่างตัวเครื่องไปมาได้ให้เป็นทั้ง Tablet  หรือเครื่อง netbook ปกติ นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ อาทิ รองรับ Blu-ray 2.0 สามารถดูไฟล์ภาพยนตร์แบบ 1080p , สามารถซิงค์ข้อมูลกับเครื่อง PC ได้่ มีระบบเชื่อมต่อจอแบบไร้สาย WiDi และระบบ wireless music, smart connect ที่สำคัญคือการเปิดเครื่องที่รวดเร็วมากขึ้นเทียบเท่า Ultrabook เลยทีเดียว ซึ่งคาดว่า ในปี 2012 นี้ คงจะเห็นใน netbook รุ่นใหม่ อย่างแน่นอน


Intel Celeron

     เป็น CPU ที่ผลิตมาเพื่อรองรับ notebook ระดับล่างสุด คู่กับ CPU รุ่น Pentium Dual Core ที่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า Pentium Dual Core แต่ด้วยราคา CPU ที่ค่อนข้างถูกมากๆ จึงยังเป็น CPU สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นประหยัด ทั้งแบบตั้งโต๊ะและ Mobile เลือกใช้อยู่ แม้ว่าจะมีข่าวออกมาเป็นระยะว่า intel จะเลิกผลิต แต่ปี 2012 intel ก็ออก Celeron สำหรับ notebook ออกมาถึง 4 รุ่น
Intel Celeron 867 (ULV) – 2 cores 2 threads / 1.30 GHz / cache 2 MB
Intel Celeron 797 (ULV) – 1 cores 1 thread   / 1.40 GHz / cache 1 MB
Intel Celeron B815          – 2 cores 2 threads  / 1.60 GHz / cache 2 MB
Intel Celeron B720          – 1 core   1 thread   / 1.70 GHz / cache 1 MB

Pentium Dual Core

       Pentium Dual Core เป็น CPU ระดับ 2 แกน ที่มีประวัติการพัฒนาที่ยาวนาน ยังคงเป็น CPU ที่ใช้ในเครื่องระดับต้นๆ ที่ใช้กับงานทั่วๆไป เช่น การทำงานด้านออฟฟิต บันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมออนไลน์ที่กราฟฟิก ไม่สูงมากนัก แต่ก็มีผู้ผลิตหลายรายชดเชยด้วยการวางการ์ดจอแยกให้กับเครื่อง ทำให้มีประสิทธิภาพในเชิงกราฟิกที่สูงขึ้น แม้ว่าจะมีข่าวคราวว่า CPU สายพันธ์นี้จะไปพร้อมกับ Core 2 หรือ Core 2 Duo แต่ปรกฏแน่ชัดแล้วว่า จะยังคงอยู่คู่กับ Intel Celeron ในตลาดคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ตลาดระดับนี้ต่อไป

Core i

       นับเป็นนวัตกรรมของ CPU ค่าย intel ในปัจจุบัน ที่มีกระแสตอบรับสูง CPU ในสายนี้ จะมี 3 class ที่เรียกว่า i3,  i5 และ  i7  Core i  นับเป็นการปฏิวัติของ CPU ใหม่ ที่มีทั้งการเพิ่ม Hyper threading หน่วย Core เสมือน และ Turbo Boost ซึ่งทำให้ CPU สามารถเพิ่มความเร็วเองได้อัตโนมัติ


ปัจจุบัน Core i (2012) ได้พัฒนามาถึง Generation ที่ 3 โดยมี Code name ชื่อว่า Ivy Bridge ซึ่ง Gen 3 นี้กำลังเข้ามาแทนที่ ในตลาดอย่าง Sandy Bridge ซึ่งประสิทธิภาพโดยรวมอาจจะไม่แตกต่างกันมากนัก Core i Gen 2 (Sandy Bridge) แม้ว่าจะถูกแทนที่ด้วย Core i Gen 3 (Ivy Bridge จะมาพร้อมด้วยคุณสมบัติใหม่ๆ อาทิ Intel Graphics HD 4000, แรม DDR3-1600 MHz, รองรับฮาร์ดดิสก์ SATA III และมาตรฐาน USB 3.0 เต็มรูปแบบ) แต่ภาพรวมในปี 2012 Core i Gen 2 (Sandy Bridge) ยังจะเป็นกำลังสำคัญในการรักษาพื้นที่การตลาดในปีนี้ ด้วยเหตุที่ Ivy Bridge จะยังคงมีราคาค่อนข้างสูง


ในเรื่องของเทคโนโลยีของ intel ใน CPU ตระกูล Core มีเทคโนโลยีที่น่าสนใจหลายตัว อาทิ

Intel® Turbo Boost Technology 2.0 เทคโนโลยี Intel® Turbo Boost 2.0 ความเร็วของโปรเซสเซอร์จะสามารถปรับอัตโนมัติ ในเวลาที่คุณต้องการประสิทธิภาพ ก็จะสามารถปรับให้เหมาะสมได้เช่นกัน


Intel® Quick Sync Video

     ส่วนหนึ่งของระบบแสดงผลในตัว ผนวกรวมฮาร์ดแวร์การแปลงวิดีโอลงในโปรเซสเซอร์ เพื่อเร่งประสิทธิภาพในการตัดต่อ, เขียนข้อมูล และแบ่งปันวิดีโอ ในชั่วเวลาไม่นาน

Intel® HD Graphics

    โปรเซสเซอร์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 2 และ 3 ได้ผนวกรวม engine ทางกราฟิกและการประมวลผลสื่อเข้าไว้ในชิป เพื่อให้การแสดงผลทางกราฟิกที่ดูสมจริง



แม้ว่าค่าการตลาด AMD จะเป็นรองต่อ intel อยู่มาก ด้วยภาพลักษณ์ในอดีตที่ถูกขีดเส้นใต้ว่า เป็น CPU ที่มีความร้อนสูง แต่ AMD ก็ยังเป็น CPU คู่ฟัดตลอดกาลกับ intel มาโดยตลอด ล่าสุด AMD ได้ปฏิวัติ CPU ภายใต้มาตรฐานใหม่ ที่เรียกว่า APU (Accelerated Processing Units) โดยเป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีด้วยการผนวกรวม CPU และการ์ดจอคุณภาพระดับ HD เข้าไปในชิปตัวเดียวกัน ทำให้ CPU นี้ประหยัดพลังงานมากขึ้น ราคาถูกลง และมีความร้อนต่ำลงมาก แต่ประสิทธิภาพการแสดงผลทางกราฟิกก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าการ์ดจอแยก ซึ่ง AMD ได้ออก CPU นี้ โดยจะเรียกว่า APU ปี 2012 AMD จะนำ APU รุ่นใหม่ ทะยอยออกสู่ตลาด ตั้งแต่ Trinity, Krishna, Wichita และ Komodo สำหรับตลาดคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ของ AMD มี E Series เป็นรุ่นระดับล่างที่ออกมาเพื่อ Tablet และ Netbook ประสิทธิ์ภาพพอใช้งานทั่วไป ใช้พลังงานต่ำแผ่ความร้อนน้อย และที่สำคัญที่ดีกว่าคู่แข่งคือการ์ดจอที่แรงกว่าพร้อมรองรับ DX11 ส่วน A Series ถูกออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ที่ต้องการทั้งการประมวลผลขั้งสูง และราคาคุ้มค่า โดยมีตั้งแต่ A4, A6, A8 และ A10 โดดเด่นที่จำนวน Core 4 แกนในรุ่น A6 ขึ้นไปผนวกการ์ดจอภายในที่มีประสิทธิภาพสูงรองรับการ CrossFire เพื่อเพิมประสิทธิภาพการแสดงผลสูงสุด





ขอบคุณข้อมูลจาก mediathailand


สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ AMD ขอท้าพิสูจน์ใช้งาน (เล่นเกม) จริง CPU ค่ายนี้ไม่ได้มีไว้อวดคะแนนทดสอบ!!!

“CPU ค่ายไหนเจ๋งกว่ากัน” คือคำถามชวนดราม่าสุดจะน่าเบื่อที่ทุกเวบบอร์ดคอมพิวเตอร์และไอทีทุกที่ต้องมีคนตั้งขึ้นมาถามกันประจำ และเหมือนกับเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เหล่าลูกค้าผู้จงรักภักดีทั้งหลายจะต้องเสนอตัวเข้ามาเคลียร์ปัญหาคาใจนี้โดยไม่ต้องรอให้ใครมาจ่ายเงินจ้างแม้แต่บาทเดียว ต่างฝ่ายต่างพร้อมใจงัดเอาทุกกระบวนยุทธ์การทดสอบ ข้อมูลทั้งกราฟทั้งตัวเลขมากมายขึ้นมาประชันขันแข่งความเป็นที่ 1 กัน ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลเหล่านี้ก็มีความน่าเชื่อถือพอที่จะให้ข้อสรุปของปัญหาโลกแตกนี้ได้ในระดับนึง แต่หากถามถึงเรื่องการใช้งานจริง ๆ ล่ะ ข้อมูลเหล่านี้บอกเราได้ชัดเจนมากน้อยเพียงใด…..คำตอบมันอาจจะเป็นคนละเรื่องกันก็ได้ !?

เพื่อที่จะยุติข้อสงสัยทั้งหมด พร้อมทั้งเป็นการโปรโมทสินค้าของตัวเองไปด้วย AMD จึงบังเกิดความคิดหัวใส จัดกิจกรรมให้ผู้คนเข้าร่วมทดสอบประสิทธิภาพของ CPU (รวมทั้ง GPU) รุ่นใหม่ของตนเทียบกันให้เห็นกับตากับ CPU ของคู่แข่ง ซึ่งงานนี้ถูกจัดขึ้น ที่เมือง Dallas รัฐ Texas โดยมีชื่องานว่า FX GamExperience ครับ

สำหรับรูปแบบของการทดสอบในงานนั้นจะเป็นในลักษณะของการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มาเข้าชม ได้ทดสอบเครื่องคอมมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่มีองค์ประกอบภายในเหมือนกันเกือบทุกอย่างยกเว้น CPU กับเมนบอร์ดที่เครื่องนึงจะเป็นแพลตฟอร์มของ AMD กับอีกเครื่องคือแพลตฟอร์มของ Intel และมีการแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ระดับ คือคอมพิวเตอร์ในระดับ Mid-Low End กับคอมพิวเตอร์ที่จัดอยู่ในระดับ Hi End โดยการทดสอบนั้นจะโฟกัสไปที่การเล่นเกมเพียงเท่านั้น (ย้ำว่าแค่เฉพาะเรื่องของการเล่นเกมเท่านั้น) ซึ่งเมื่อทำการทดสอบเสร็จแล้วผู้เข้าร่วมการทดสอบจะต้องเลือกลงคะแนนให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องที่ตนคิดว่าแรงที่สุด หรือเลือกที่จะให้คะแนนความแรงเสมอกัน และจะมีการสรุปคะแนนในตอนท้ายของงานอีกครั้งหนึ่ง ส่วนผลของการทดสอบจะเป็นอย่างไรเรามาติดตามชมกันเลยครับ ยกที่ 1 คอมพิวเตอร์เล่นเกมราคาประหยัด

ในส่วนของการทดสอบคอมพิวเตอร์ในระดับ Mid-Low End หรือเครื่องสำหรับเล่นเกมราคาประหยัดนั้น คือการประชันกันของคอมพิวเตอร์ในระดับราคา 500$ หรือเป็นเงินไทยราว ๆ 16000-17000 บาท ใช้ GPU ที่เป็น Integrated Graphics หรือที่เรียกว่าการ์ดจอ On Board ต่อเล่นเกมกับ FullHD Monitor จอเดียว สเปกของคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องและผลการทดสอบก็ออกมาดังที่เห็นครับ System “A” (Intel) System “B” (AMD)


ไม่แตกต่าง CPU: Intel Core i3-2105 (Sandy Bridge) GPU:Integrated Intel HD Graphics 3000 M/B:ASrock H61 CPU:AMD A8-3850 (Llano) APU GPU:Integrated Radeon HD 6550D M/B:ASrock A55 คะแนนโหวต=5 คะแนนโหวต=136 คะแนนโหวต=2

ยกที่ 2 คอมพิวเตอร์เพื่อฮาร์ดคอร์เกมเมอร์

ในของการทดสอบในระดับ Hi-End สำหรับคอมพิวเพื่อการเล่นเกมระดับสูงนั้น จะเป็นการประชันกันของ CPU ตัว Top สุดสำหรับตลาดผู้บริโภคทั่วไปของทั้ง 2 ค่าย ซึ่งทางฝั่ง AMD เลือกส่ง FX-8150 เข้ามาเปรียบการทดสอบกับ Intel Core i7-2700k ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้จะมีราคาค่าตัวต่างกันอยู่ 100$ หรือราว ๆ 3000 บาท โดยทางฝั่งของ AMD จะมีราคาที่ถูกกว่า (i7 ราคา 370$ ในบ้านเราขายราว ๆ 11500 บาท ส่วน FX-8150 ราคา 270$ ราคาบ้านเราออกจะแพงกว่าซักหน่อย อยู่ที่ราว ๆ 9100 บาท) นอกเหนือจากนี้ก็จะมีการ์ดจอแยกที่ใช้ทดสอบคือ Radeon HD 7970 รุ่นใหม่จากทาง AMD นำมาต่อ Eyefinity 3 จอ และรายละเอียดทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 ระบบพร้อมทั้งผลคะแนนมีดังนี้ครับ System “C” (Intel) System “D” (AMD)


ไม่แตกต่าง CPU: Intel Core i7-2700k (Sandy Bridge) GPU:AMD Radeon HD 7970 M/B: ASRock P67 Fatal1ty RAM:AMD Performance Memory DDR3 8GB CPU:AMD FX-8150 (Bulldozer) GPU: AMD Radeon HD 7970 M/B: ASRock 990FX Fatal1ty RAM: AMD Performance Memory DDR3 8GB คะแนนโหวต=40 คะแนนโหวต=73 คะแนนโหวต=28

บทสรุปของการทดสอบ

ในส่วนของการทดสอบยกที่ 1 นั้นคงไม่เป็นที่น่าแปลกใจซักเท่าไหร่ เพราะเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วประสิทธิภาพของการ์ดจอ On Board ของ Sandy Bridge จาก Intel นั้น มีประสิทธิภาพรวมทั้งคุณภาพของการแสดงผลที่ค่อนข้างต่ำกว่า การ์ดจอ On Board ที่มีอยู่ใน Llano APU ของทาง AMD แบบค่อนข้างเห็นได้ชัด อีกทั้งตัว CPU ที่นำมาเปรียบกันนั้นก็ไม่จัดว่าอยู่ในระดับเดียวกัน เพราะทาง i3 นั้นก็อย่างที่ทราบกันดี มันเป็นแค่ CPU Dual Core เท่านั้น ในขณะที่ A8 เป็น Quad Core แต่ทั้งหมดนั้นเป็นไปตามงบประมาณของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้การทดสอบที่ถูกกำหนดไว้ ก็ชัดเจนว่าถ้าราคาต่อประสิทธิภาพในระดับ Mid-Low End นั้น AMD ชนะใส แต่ในส่วนของการทดสอบยกที่ 2 กับคอมพิวเตอร์ชุด Hi End นั้นดูจะค่อนข้างน่าแปลกใจซักเล็กน้อย เพราะทาง AMD นั้นคาดหวังไว้ว่าน่าจะได้เห็นผลโหวตออกมามีคะแนน “ไม่แตกต่าง” นำคะแนนโหวตอื่น ๆ แต่ผลออกมากลายเป็นผู้ทดสอบลงคะแนนให้เครื่องของ AMD แบบทิ้งห่าง Intel เกือบเท่าตัว!!!

โดยส่วนตัว ผมคิดว่านี่คงไม่ได้ทำให้แค่ AMD แปลกใจอยู่ฝ่ายเดียว แต่ผมเอง และคิดว่าเหล่าเซียนคอมพิวเตอร์มือเก๋าหลายคน ก็คงต้องแอบงง เนื่องจากอย่างที่หลาย ๆ คนเคยเห็นกันมาก่อน กับการรีวิว CPU ในระดับนี้ เมื่อถึงส่วนของการทดสอบเกมนั้นเราจะพบว่าเฟรมเรตที่ได้ได้ออกมานั้นมีความแตกต่างที่น้อยมาก เต็มที่จะมีความต่างไม่เกิน 10 FPS ซึ่งความต่างระดับนี้ อาจจะดูเยอะนะครับ แต่ถ้าตลอดทั้งเกมทำได้เฉลี่ยเกิน 60FPS ขึ้นความต่าง 10FPS คงยากจะวัดกันได้ด้วยตาและความความรู้สึก ยิ่งเมื่อมีการทดสอบจับคู่กับการ์ดจอระดับเทพอย่าง HD 7970 ทดสอบเกมที่ความละเอียดภาพสูง ๆ ความแตกต่างยิ่งน้อยลง ในบางเกมอาจมีความต่างกันเพียง 1-2FPS ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่สามารถวัดความแตกต่างได้ด้วยตาอย่างแน่นอนที่สุด ดังนั้นที่เราควรจะได้เห็นน่าเป็นผลการทดสอบที่ทั้ง 3 ตัวเลือกมีคะแนนโหวตออกมาที่สูสีกว่านี้ แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้นก็เถอะครับ แม้ผลจะออกมาว่าสูสี หรือจะออกมาว่าความแรงดูไม่แตกต่างกัน แต่ความต่างของราคาราว ๆ 3000 บาทนี่คงทำให้ใครก็ตามที่จะจัดชุดเล่นเกมแบบฮาร์ดคอร์ต้องฉุกคิดกันบ้างล่ะ ปิดท้าย

ก็จบกันไปแล้วนะครับกับบทความนี้ งานนี้ AMD คงยิ้มแก้มแทบแตกแน่ เพราะผลโหวตออกมาชนะขาดลอยแบบที่ผิดความคาดหมายของตัวเองเช่นนี้ แต่อย่างไรก็ดีอย่าลืมครับว่างานนี้จัดมาเพื่อนำเสนอ “ประสบการณ์การเล่นเกม” เท่านั้น ซึ่งคงจะไม่ใช่ทุกคนที่ตั้งใจซื้อ CPU มาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ และที่สำคัญ CPU ก็ไม่ใช่หัวใจหลักของการเล่นเกมเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการ์ดจอด้วยที่สำคัญไม่แพ้กัน (และอาจจะสำคัญกว่าด้วยซ้ำ) อีกอย่างนึงคือเราไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเล่นเกมเพียงอย่างเดียวเท่านั้นครับ การทดสอบนี้เป็นการทดสอบที่ดี เพราะมันนำเสนอประสบการณ์การใช้งานจริงของผู้เข้าร่วมงานจำนวนหลายร้อยคน แต่มันไม่ได้ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้งานทั้งหมด ผมไม่อยากให้การทดสอบนี้มาเป็นตัวตัดสินใจในการเลือกซื้อ CPU เพื่อคอมพิวเตอร์ของคุณ ถ้าคุณจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ อย่าลืมศึกษาความต้องการของตัวเองให้ถ้วนถี่ซะก่อนครับว่าคุณจะเอามันไปใช้งานอย่างไรบ้าง (แต่ถ้าคุณตั้งใจจะจัดคอมพิวเตอร์มาเพื่อเล่นเกมเป็นหลักจริง ๆ ล่ะก็ บางทีการทดสอบคงช่วยคุณตัดสินใจให้คุณไปพอสมควรแล้วล่ะ :p)