ผู้ใช้:Subhaniti Sangdham/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:การบำรุงรักษาเน้นความชื่อถือได้ (Reliability Centered Maintenance, RCM)

  การบำรุงรักษาเน้นความชื่อถือได้ (อังกฤษ: Reliability Centered Maintenance, RCM)  เป็นกระบวนการที่ใช้ในการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินทรัพย์จะสามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ภายใต้บริบทที่ใช้งานปัจจุบัน การบำรุงรักษาเน้นความชื่อถือได้เป็นวิธีการ หรือ กระบวนการ หรือ กรอบการทำงานที่เป็นมาตรฐานนานาชาติ ที่ใช้ยกระดับความเชื่อถือได้ ความพร้อมใช้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาสินทรัพย์ การบำรุงรักษาเน้นความชื่อถือได้ถือกำเนิดในอุตสาหกรรมการบินกว่า 40 ปีมาแล้ว ทำให้ทุกวันนี้เราสามารถเดินทางโดยเครื่องบินโดยสารได้อย่างปลอดภัย หลังนั้นกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา และหน่วยงานความมั่นคงในประเทศต่างๆก็ได้นำการบำรุงรักษาเน้นความชื่อถือได้ไปใช้ มากไปกว่านั้นอุตสาหกรรมการผลิตและบริการทั่วโลกก็ได้นำการบำรุงรักษาเน้นความชื่อถือได้ไปใช้ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มความเชื่อถือได้ ความพร้อมใช้ และสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาสินทรัพย์ได้เหมือนกับอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์
 การบำรุงรักษาเน้นความชื่อถือได้มีคำถามพื้นฐานเจ็ดข้อที่ใช้ถามสินทรัพย์ที่กำลังวิเคราะห์ดังนี้
1. หน้าที่และมาตรฐานสมรรถนะของสินทรัพย์ภายใต้บริบทที่ใช้งานปัจจุบันมีอะไรบ้าง? (หน้าที่)
2. การที่ไม่สามารถทำตามหน้าที่นั้นจะเป็นไปอย่างไรได้บ้าง? (การล้มเหลวของหน้าที่)
3. อะไรคือสาเหตุที่จะทำให้เกิดการล้มเหลวของหน้าที่? (รูปแบบความเสียหาย)
4. จะมีเกิดอะไรขึ้นเมื่อความเสียหายได้ปรากฏขึ้นมา? (ผลที่เกิดจากความเสียหาย)
5. ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีความสำคัญอย่างไร? (ผลพวงความเสียหาย)
6. จะสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อที่จะพยากรณ์หรือป้องกันความเสียหาย? (การทำงานเชิงรุก)
7. ควรจะทำอะไรถ้าหากการทำงานเชิงรุกไม่มีความเหมาะสม? (การทำเพิกเฉย)


อ้างอิง[แก้]

สุภนิติ แสงธรรม หนังสือ "การบำรุงรักษาเน้นความชื่อถือได้ (Reliability Centered Maintenance)", บริษัท เอ็มแอนด์อี จำกัด