ผู้ใช้:Soraya Pattaweekit/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายของ Cloud ความหมายของคำว่า Cloud Computing หรือ การประมวลผลแบบคลาวด์ นั่นจริงๆ แล้วหมายถึงอะไร? และที่สำคัญยิ่งกว่าคือ อะไรคือประโยชน์หรือโอกาสที่ได้จากโมเดลใหม่นี้สำหรับนักธุรกิจ หากเราพูดถึงในมุมของธุรกิจ คลาวด์จะหมายถึงความยืดหยุ่น การรองรับการขยายตัว โมเดลการใช้งานแบบจ่ายตามการใช้จริง สำหรับการใช้บริการด้านไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้บริการระยะสั้นๆ ด้วยโมเดลจ่ายตามการใช้จริงนี้ องค์กรมากมายจึงสามารถเปลี่ยนงบลงทุนด้านไอทีให้กลายเป็นงบค่าใช้จ่ายแทนได้ ดังนั้นจึงช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายด้านไอทีที่สะท้อนความต้องการทางธุรกิจได้ตรงยิ่งขึ้น รวมถึงหมดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ ที่อาจตามมาด้วย คลาวด์มีหลากหลายระดับหลากหลายรูปแบบแล้วแต่การนำโมเดลนี้ไปใช้งาน โดยมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน


ประเภทการให้บริการของ Cloud Computing[1]

มีการแบ่งออกเป็นหลายประเภท Cloud Computing ในส่วนที่องค์กรและหน่วยงาน ทางธุรกิจเลือกใช้จะแบ่งออกเป็น 
5 ประเภท



1.Infrastructure-as-a-Service (IaaS) เป็นการให้บริการเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและระบบจัดเก็บข้อมูล (Storage) ที่ทำงานอยู่บนระบบเสมือน ( Virtualization) เพื่อรองรับการใช้งาน Software และ Application

2. Platform-as-a-Service (PaaS) เป็นบริการด้าน Platform สำหรับการพัฒนา Software และ Application โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนา Software และ Application เช่น Web Application, Database Server ระบบประมวลผลกลางสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และ Middleware อื่นๆ เป็นต้น โดยบริการทั้งหมดทำงานภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่าย และสามารถเรียกใช้งานได้ผ่าน Web Application

3. Software-as-a-Service (SaaS) คือการให้บริการด้าน Software และ Application ผ่านทางอินเตอร์เน็ต คล้ายกับการเช่าใช้ คิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งาน (Pay as you go) เช่น ตามจำนวนผู้ใช้งาน ระยะเวลาการใช้งาน ทำให้ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมในส่วน Hardware และ Software License รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบ เพราะผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแลระบบทั้งหมดให้

4. Data-as-a-Service (DaaS) เป็นการให้บริการระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่จำกัดขนาดข้อมูล รองรับการสืบค้นและการจัดการข้อมูลขั้นสูง

5. Business Process-as-a-Service (BPaaS) คือ การให้บริการแพคเกจ Software และ Application สำหรับการดำเนินธุรกิจโดยรวมเอาบริการพื้นฐาน IaaS, PaaS และ SaaS เข้าไว้ด้วยกัน แพคเกจที่ให้บริการถูกออกแบบตามขั้นตอนการทำธุรกิจ (Business Process) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเลือกใช้เฉพาะ Software และ Application ที่เหมาะสมกับกระบวนการทางธุรกิจแต่ละประเภท


Infrastructure-as-a-Service (IaaS)

เป็นการให้บริการเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและระบบจัดเก็บข้อมูล (Storage) ที่ทำงานอยู่บนระบบเสมือน ( Virtualization) เพื่อรองรับการใช้งาน Software และ Application

IaaS จะเน้นการสร้างศักยภาพและความเร็วในการประมวลผลข้อมูล พร้อมทำ Cluster ระบบเพื่อป้องกันการเกิด Down Time เมื่อระบบเครือข่ายหลักมีปัญหา ระบบเครือข่ายสำรองที่จัดเตรียมไว้จะถูกเรียกใช้งานทันที ทำให้การประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเต็มประสิทธิภาพ ผู้ใช้บริการจะต้องลงทุนมหาศาลเพื่อสร้างขุมพลังในการประมวลผลข้อมูลในระดับเดียวกับที่ IaaS ให้บริการ ดังนั้น IaaS จึงเป็นอีกทางเลือกที่หน่วยงานและองค์กรสามารถเลือกใช้บริการจาก Cloud Service Provider ในขณะเดียวกันองค์กรและหน่วยงานธุรกิจสามารถสร้าง IaaS ขึ้นมาเพื่อจัดการระบบไอทีภายในเพื่อให้บริการแก่หน่วยงานย่อยหรือบริษัทในเครือก็ได้ รวมถึงการพิจารณาเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของระบบไอทีเป็น IaaS ก็เป็นสิ่งที่น่าลงทุน เพราะ IaaS มีความยืดหยุ่นสูงกว่าระบบเครือข่ายแบบ Physical เดิม สามารถช่วยให้การปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบไอทีที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

Infrastructure-as-a-Service คล้ายๆกับการให้บริการ software แต่อันนี้เป็นการให้บริการ IT Infrastructure แทน เช่นการให้บริการให้เช่าใช้เครื่อง Server ต่างๆ การคิดเงินค่าบริการนั้นคิดได้หลายแบบเช่น คิดเป็นรายเดือนเหมือนการให้เช่า hosting ทั่วๆไป หรือจะคิดเป็นราย cpu, ราย storage ต่อ GB ก็ได้ ตัวอย่างดีๆเลยคือ Amazon EC2 ให้บริการด้าน IaaS

ข้อดีของบริการ IaaS ผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดเตรียมฮาร์ดแวร์และระบบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ไฟร์วอลล์ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นที่ลูกค้าต้องการใช้งาน อีกทั้ง ผู้ให้บริการ IaaS ยังมีหน้าที่ต้องดูแลข้อมูลของเซิร์ฟเวอร์ให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ ป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่ว่าจะเป็นช่องทางใดๆ ทั้งการเข้าถึงตัวเครื่องเซิร์ฟเวอร์โดยตรง หรือการเข้าถึงจากภายนอกผ่านทางระบบเครือข่าย นอกจากนี้แล้ว ยังต้องจัดเตรียมระบบสนับสนุนต่างๆ ที่พร้อมให้การบริการมีความต่อเนื่องเสมอไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดๆ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือภัยจากธรรมชาติอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ผู้ให้บริการ IaaS จึงต้องมีศักยภาพและความเชี่ยวชาญสูง จึงสามารถให้บริการกับลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด สำหรับบริการต่างๆ ที่ผู้ให้บริการ IaaS สามารถจัดเตรียมเพื่อให้บริการกับลูกค้านั้นมีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งบริการทุกประเภทจะได้รับการดูแลจากช่างเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญของผู้ให้บริการ อีกทั้งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีฝ่ายสนับสนุนการทำงานที่พร้อมให้บริการกับลูกค้าตลอดเวลา 24 ชั่วโมง โดยบริการต่างๆ ที่กลุ่มลูกค้าสามารถเลือกใช้ได้ อาทิ การให้บริการ Data Center, Virtual Private Server และ Cloud Security System โดยมีตัวอย่างของรายละเอียดดังนี้

• Data Center ลูกค้าผู้ใช้บริการจะสามารถใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์โดยที่ไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบต่างๆ ด้วยตนเองเพียงแค่มีการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังผู้ให้บริการ ทั้งนี้ผู้ให้บริการจะทำการจัดเตรียมระบบตามที่ลูกค้าร้องขอ

• Virtual Private Server ในกรณีที่ลูกค้าต้องการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เพื่อดำเนินการใดๆ ในองค์กร หากต้องการประสิทธิภาพสูงสุด อาจเลือกใช้บริการ IaaS จากผู้ให้บริการที่มีความชำนาญกว่า ทั้งนี้จะได้เซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงเพียงพอต่อความต้องการขององค์กร อีกทั้งมีผู้เชี่ยวชาญดูแลความปลอดภัยทุกด้านตลอดเวลา เพียงแค่การเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายจากองค์กรไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยที่ผู้ให้บริการจัดไว้


ประโยชน์สำคัญที่ลูกค้าจะได้รับจากการใช้บริการ IaaS [2]

  • ความคุ้มค่า ความคุ้มค่านั้นเกิดขึ้นเพราะลูกค้าสามารถเลือกประเภทการบริการที่ต้องการได้เอง ไม่ว่าจะเป็นขนาดพื้นที่ ความเร็วของฮาร์ดแวร์ ความเร็วของแบนด์วิดธ์ หรือบริการเสริมอื่นๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ให้บริการก็มักจะคิดค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนที่ลูกค้าขอใช้บริการ แตกต่างจากการลงทุนติดตั้งระบบต่างๆ ทั้งหมดด้วยตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องลงทุนด้วยทรัพยากรจำนวนมาก แต่ในทางปฏิบัติแล้วมักจะไม่ได้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพ หรือในกรณีที่เลือกใช้ฮาร์ดแวร์ที่มีคุณสมบัติต่ำเกินไปก็จะก่อให้เกิดปัญหาในการใช้งานต่อเนื่องตามมาอีกด้วย
  • ความปลอดภัย เนื่องจากผู้ให้บริการมักจะมีทรัพยากรที่พร้อมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลกรที่มีความเชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงสามารถให้บริการด้วยความปลอดภัยสูงสุดตลอดเวลา


Comparison of Cloud Service Models[3]

Type Consumer Service Provided By Cloud Service Level Coverage Customization
SaaS End user -finished application -Application uptime

-Application Performance

-Minimal to no customization

-Capabilities dictated by market or provider

PaaS Application owner -Runtime environment for application code

-Cloud storage

-Other Cloud service such as integration

-Environment availability

-Environment performance

-No application coverage

-High degree of application level customization available within constraints of the service offered

-Many applications will need to be rewritten

LaaS Application owner or IT Provides OS, middleware and application support -Virtual server

-Cloud storage

-Virtual server availability

-Time to provision

-No platform or application coverage

-Minimal constraints on application installed on standardized virtual OS builds

ลักษณะและส่วนประกอบของ Iaas

• Utility computing service and billing model.

• Automation of administrative tasks.

• Dynamic scaling.

• Desktop virtualization.

• Policy-based services.

• Internet connectivity.

ไฟล์:Whatisthecloudiaas
ไฟล์:Infrastructure-as-a-service11

การใช้งาน Public Cloud ในประเทศไทย

จากผลสำรวจพบว่ามีผู้ใช้ Public Cloud ไปแล้วถึง 46% โดยเลือกใช้เป็น IaaS (Infrastructure as a Service) สูงเป็นอันดับแรก อันดับสองเป็น SaaS (Software as a Service) และอันดับ 3 คือ PaaS (Platform as a Service)

โดยนำมาใช้เป็น IaaS มีการใช้ Cloud ไปแล้วมากถึง 2 ใน 3 รองลงมาก็คือใช้เป็น SaaS มากถึง 60% ที่ใช้ Cloud ไปแล้ว

Public Cloud Adoption Plan (Total)

สิ่งที่น่าสนใจและสร้างความประหลาดใจในการทำการสำรวจก็คือ ผลสำรวจในด้าน SMEs ซึ่งพบว่า SMEs เลือกใช้ Cloud เพื่อทำเป็น IaaS มากกว่า 70% ซึ่งถือว่าสูงมากๆ ส่วนองค์กรใหญ่ๆ จะเลือกใช้ Cloud เพื่อทำเป็น SaaS เกือบๆ 70%

Public Cloud Adoption Plan (SMEs)

และทางทีมวิจัย IMC ได้ลงรายละเอียดเพิ่มเติมถึงการใช้งาน Cloud ในแต่ละแบบ โดย IaaS ตอนนี้ในประเทศไทยเริ่มมีผู้ให้บริการของไทยเองเพิ่มมากขึ้นแล้ว แต่หากจัดอันดับของการใช้ Cloud เพื่อเป็น IaaS แล้ว อันดับ 1 เป็นของ Windows Azure ซึ่งเป็นผลรวมของการใช้งานจริงและมีแผนจะใช้งาน

IaaS Public Providers

===== ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ IaaS =====

ไมโครซอฟท์ประกาศขยายขีดความสามารถ ของแพลตฟอร์ม Windows Azure และอีกหลายอย่างในส่วนของ Azure ที่เป็น PaaS ซึ่งแบบเดิมไมโครซอฟท์เพิ่มไลบรารีภาษา Python และ Java เข้ามา จากเดิมที่รองรับ .NET, PHP, Node.js ออกปลั๊กอินสำหรับ Eclipse/Java, รองรับ MongoDB, ใช้งาน Memcached สำหรับภาษาที่ไม่ใช่ตระกูล .NET และรองรับ Apache Solr/Lucene สำหรับงานด้านเว็บก็มี Windows Azure Web Sites ที่รองรับเฟรมเวิร์คด้านการพัฒนาเว็บหลายตัว ตัว เช่น ASP.NET, PHP, Node.js รวมไปถึง CMS ยอดนิยมอย่าง WordPress, Joomla!,Drupal, Umbraco, DotNetNuke โดยเชื่อมต่อกับ MySQL หรือWindows Azure SQLก็ได้ ในอีกด้าน Azure ก็ขยายตัวเองมาเป็น IaaS (infrastructure-as-a-service) ลักษณะเดียวกับ AWS ของ Amazon แล้วโดยรองรับการติดตั้ง virtual machine จากผู้ใช้ (ระบบปฏิบัติการที่มีให้เลือกคือWindows Server, OpenSUSE, CentOS, Ubuntu, SUSE Enterprise) และรองรับ virtual network สุดท้าย ไมโครซอฟท์ยังออก Windows Azure Management Portal เป็นเว็บพอร์ทัลศูนย์กลางสำหรับ บริหารจัดการงานที่อยู่บน Azure ซึ่งครอบคลุมบริการย่อยทั้งหมดของ Azure ที่เคยเปิดตัวมา


[4]

  1. http://www.netbright.co.th/?name=knowledge&file=readknowledge&id=19
  2. http://www.uih.co.th/knowledge/view/614
  3. http://blogs.technet.com/b/privatecloud/archive/2012/04/04/what-is-infrastructure-as-a-service-iaas.aspx
  4. https://www.blognone.com/node/33115