ผู้ใช้:Sleepjob/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์[แก้]

กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (อักษรย่อ :ร.31 พัน.2 รอ.; อังกฤษ : 2nd Infantry Battalion, 31st Infantry Regiment, King's Guard)

ประวัติความเป็นมา[แก้]

กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประเทศไทย ประเทศไทย
รูปแบบทหารรักษาพระองค์
บทบาทหน่วยรบเคลื่อนที่เร็ว
กำลังรบ5 กองร้อย
กองบัญชาการอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
สมญากองพันทหารเสือ และกองพันมรณะ
อิสริยาภรณ์ เหรียญกล้าหาญ
(เฉพาะกองพันที่ 1 และกองพันที่ 2)[1]

ร.31 พัน.2 รอ. ปัจจุบัน กำเนิดจาก " กรมทหารหน้า" กิจการด้านทหารบกในสมัยก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณ์รณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ.2442 กรมทหารหน้า หน่วยนี้ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น กรมทหารบกราบที่ 4 เป็นกรมซึ่งขึ้นตรง และเป็นหลักการจัด กองพลทหารบกที่ 4 อันได้มีศักดิ์เป็นกองพลอิสสระสืบต่อมา ในสมัยปี พ.ศ. 2445 กรมทหารราบที่ 4 ยังมีที่ตั้งอยู่ที่สวนดุสิต ต่อมาได้ยกกรมทหารราบที่ 4 ไปตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรีแต่ยังมีบางส่วนอยู่ที่สวนดุสิต

ขอย้อนกล่าวถึงตำแหน่งและหน้าที่ของกรมทหารราบที่ 4 นี้นับว่าเป็นกรมทหารกรมหนึ่งซึ่งสืบต่อมาจากกรมทหารหน้าอันเป็นหน่วยที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่แผ่นดินอย่างมากมายตั้งแต่สมัยอดีตตลอดจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในขั้นต้นมาจนถึงปัจจุบันกรมทหารบกรากที่ 4 นี้นอกจากมีการฝึกยุทธวิธีแบบยุโรปแล้วเมื่อมีเวลาสงครามคราวใดก็ไม่ต้องเป็นที่สงสัยเลยว่าต้องเข้าสู่สนามรบเป็นหน่วยแรกๆบรรดากรมทหารทั้งหลายที่ตั้งขึ้นใหม่ๆ ไม่มีกรมกองใดที่จะได้ปฏิบัติราชการคับขันและสู่สนามรบยิ่งไปกว่ากรมทหารบกราบที่ 4ดังตัวอย่างพอเป็นสังเขปเช่น

พ.ศ.2395 ได้เข้ากระบวนทัพไปกับพระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ (ชั้น 2) กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ในราชการศึก ณ เมืองเชียงตุงถึงแม้ว่าเวลานั้น ยังเป็นกลมซึ่งก่อสร้างตัวในการฝึกหัด ระเบียบการจัดการยังไม่สมบูรณ์  มีแต่นายดาบบังคับการ ไปกับ กัปตันนอกซ์ ผู้เป็นครูกำกับไปด้วย

พ.ศ 2415 ได้เข้ากระบวนทัพไปกับพระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ (เสือ) ซึ่งเป็นกองหน้าเจ้าพระยามุขมนตรี (เกตุ) เป็นแม่ทัพปราบจราจลจัคราชการหัวเมืองเขมรในพระราชอาณาเขต

พ.ศ 2418 พันเอกพระยาพหลพยุหเสนา (กิ่ม) แต่เมื่อยังเป็น เมเยอร์หลวงทวนหาญรักษา คุมกองทหารเข้ากองทัพเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ดำรงค์ ไปปราบปรามฮ่อ ณ เมืองหนองคายเมื่อแม่ทัพกลับกรุงเทพฯแล้วได้เข้ากองทัพยามหาอำหมาด เมืองหนองคายเมื่อแม่ทัพกลับกรุงเทพฯแล้วได้เข้ากองทัพพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ต่อไป

พ.ศ 2546 กัปตันขุนรุดรณไชย คุมกองทัพทหารเข้ากองทัพเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (เวก) แต่เมื่อยังเป็นพระยาราชวรานุกูลไปปราบพวกฮ่อ ณ ทุ่งเชียงคำ

พ.ศ 2428 เข้ากระบวนทัพ นายพลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี แต่เมื่อยังเป็น คอลอแนล เจ้าหมื่นไวยวรนารถไปปราบพวกฮ่อ ณ แขวงหัวพันห้าทั้งหก และสิบสองจุไทย

พ.ศ 2430 เข้ากระบวนทัพ นายพลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี แต่เมื่อยังเป็น พระยาแล นายพลตรีไปปราบพวกฮ่ออีกครั้งหนึ่ง กองทัพได้ตั้งรักษาการณ์ ณ เมืองหลวงพระบางราชธานี และเขตแขวงในมณฑลทั้ง 2 ปี พระยาสุรศักดิ์มนตรีแม่ทัพกลับกรุงเทพฯแล้ว นายพลตรี พระยาฤทธิรงค์รณเฉท แต่เมื่อยังเป็น นายพันเอก พระพลัษฏานุรักษ์ บังคับการกองพัน ค่อมาราวประมาณ 7 ปี จึงถอนตัวกลับกรุงเทพฯพ.ศ 2442 กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชเสนาธิการกองทัพบก คนแรก ได้ประกาศให้จัดการเปลี่ยนนามกรมกองทหารให้เป็นลำดับตัวเลขทั่วไป เช่น

กรมทหารรักษาพระองค์ เป็น กรมทหารบกราบที่ 2

กรมทหารฝีพาย เป็น กรมทหารบกราบที่ 3

กรมทหารหน้า เป็น กรมทหารบกราบที่ 4

กรมทหารล้อมวัง เป็น กรมทหารบกราบที่ 11

  1. ราชกิจจานุเบกษา. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญประดับธงชัยเฉลิมพล. เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ง, ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔,หน้า ๙๑๓.