ผู้ใช้:Siamhistory9/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟล์:Magazine 2014.jpg
ยสฬิ์ศิวะ อิสรสิงหนาท

ยสฬิ์ศิวะ อิสรสิงหนาท

สกุลเดิม บุนนาค สกุลทางย่า ราชสกุลอิศรางกูร

(ชื่อเล่น: ยส) คณะทำงานด้านการฝึกอบรมข้าราชการกรมคุ้มครองสิทธิสังกัด กระทรวงยุติธรรม ผู้มีบทบาทในการปฏิรูประบบการฝึกอบรมข้าราชการไทยในการนำความรู้ด้านบริหารจัดการเเละประสบการณ์ จากการเป็นผู้บริหารในองค์การเอกชนจากนานาชาติทั้งใน อังกฤษ เยอรมัน เอเซียเเปซิฟิคกว่า20ปี มาปรับใช้กับระบบฝึกอบรมของไทยที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพในกระทรวงยุติธรรม โดยเป็นคณะทำงานคนเดียวที่เป็นตัวเเทนจากภาคเอกชน คณะผู้บริหารประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงปลัด อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ คณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม [1] เป็นนักสงคมสงเคราะห์เเละคณะทำงานในหลายมิติให้กับหลายกระทรวง เช่น กระทรวงวัฒนธรรม มีบทบาทในฐานะตัวเเทนในภาคเอกชนให้กับ กระทรวงต่างๆ ในโครงการเพื่อเเผ่นดินหลายโครงการ เช่น การพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง

ผลงานทางดิจิตอลทีวี ผู้เป็นหนึ่งในคณะผู้บริหารช่อง โมโน29 หลังการประมูลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)ภายหลังจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบ ดิจิตอล ประเภทบริการทาง ธุรกิจระดับชาติ สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอลช่องธุรกิจ 24 ช่อง ระหว่างวันที่ 26 - 27 ธ.ค.2556 โดยสรุปตลอดระยะเวลา 2 วันของการประมูลมีการเสนอราคามูลค่ารวม 4 ประเภท 50,862 ล้านบาท[2]https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9560000159130

เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2516 เป็นบุตรชายคนโตของ พันตำรวจโทกนุท (บุนนาค) ชำนาญกิจ เเละ สุพรรณี ชำนาญกิจ เเละเป็นหลานชายของ อุไร อิศรางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) เเละ เสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา (บิดาของพลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรองนายกรัฐมนตรี) ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระสัมพันธ์วงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เเละเป็นหลานของท่านผู้หญิง กลิ่น บุนนาค ภรรยาเอกของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสกุลบุนนาคของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของสยาม โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย ขั้นที่หนึ่งคือ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

การสืบสกุลบุนนาค http://www.bunnag.in.th/[3][แก้]

สำหรับสกุลบุนนาคชั้นที่สี่ ผู้สืบสกุลโดยตรง คือ บุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับท่านผู้หญิงกลิ่น ได้แก่ เจ้าพระยาสุรวงศ์ ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหม ในรัชกาล ที่ ๕ และพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) บุตรของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) กับเจ้าคุณหญิงเป้า ซึ่งเป็นที่สมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ ๕

สกุลบุนนาคสายตรงชั้นที่ห้า มีผู้สืบเชื้อสายคือ บุตรชายของ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอ่วม ได้แก่ พระยาประภากรวงศ์ (ชาย บุนนาค) เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) และพระยาราชานุวงศ์ (เล็ก บุนนาค) ตามลำดับ แต่พระยาประภากรวงศ์ (ชาย) ถึงอนิจกรรมในรัชกาลที่ ๕ ทายาท สายตรงของสกุลในชั้นนี้จึงได้แก่ เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ในรัชกาลที่ ๕ ส่วนพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) มีบุตรกับคุณหญิงเลื่อน คือ วิเชียร เป็นผู้สืบสกุล ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์เช่นเดียวกับปู่และบิดา

ผู้สืบสกุลบุนนาคสายตรงชั้นที่ ๖ ได้แก่ บุตรชายของเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) กับท่านผู้หญิง ตลับ คือ พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) และพระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) ตามลำดับ พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ ได้เป็นผู้นำของตระกูลนี้ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ เมื่อท่านบิดาถึงแก่อสัญกรรม

สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้นำในการสืบสกุลบุนนาคสายตรงนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้นั้นเป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลบุนนาค คือ อัฐิเจ้าคุณพระราชพันธุ์ผู้เป็นต้นสกุล ได้แก่ อัฐิของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณนวล และสิ่งของบางอย่างซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวแต่ละพระองค์พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าพระยาฯ อาทิเช่น พระทนต์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งได้พระราชทานให้เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เก็บรักษาไว้เมื่อครั้งยังทรงพระชนม์อยู่ สมบัติดังกล่าวนี้รักษามาตั้งแต่ครั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมอบให้เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) รักษาสืบต่อมา เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมา และเมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) เป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมาจนถึงแผ่นดินสมัยรัชกาล ที่ ๖

ปัจจุบันนี้มีผู้ใช้นามสกุลบุนนาคมากมายทั่วประเทศไทย โดยที่บางคนอาจจะไม่รู้จักกันเลยแม้อยู่ในสกุลเดียวกัน มีทั้งผู้ที่สืบเชื้อสายโดยทางตรงและโดยสายสาขา สายบุนนาคในชั้นลงมา

รางวัลเเละผลงาน อ้างอิง[แก้]

  • การพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ โดย วิวัฒน์ ศัลยกำธร พ.ศ.2560
  • เกียรติบัตร น้ำใจไมตรี จาก นาย วีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวัฒนธรรม https://m.mgronline.com/qol/detail/9610000055335[4]
  • คณะผู้บริหารบริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด (เครือจัสมิน) ผู้เป็นหนึ่งในผู้บริหารช่อง โมโน29 หลังการประมูลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)ภายหลังจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบ ดิจิตอล ประเภทบริการทาง ธุรกิจระดับชาติ สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอลช่องธุรกิจ 24 ช่อง ระหว่างวันที่ 26 - 27 ธ.ค.2556 โดยสรุปตลอดระยะเวลา 2 วันของการประมูลมีการเสนอราคามูลค่ารวม 4 ประเภท 50,862 ล้านบาท [5]https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9560000159130
  • คณะทำงานด้านการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมกระบวนการยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิกระทรวงยุติธรรม https://www.moj.go.th/news/298[6]
  • Brand Ambassador ให้โรงพยาบาลคามิลเลี่ยน เพื่อจัดกิจกรรมร่วมกับดาราศิลปินนักร้องระดับประเทศ เพื่อการกุศลจัดหารายได้เพื่อซื้อเครื่องมือเเพทย์ ส่งเสริมรัฐบาลในโครงการบัตรทอง https://www.youtube.com/watch?v=dKbVAFOEwCE [7]
  • http://www.bunnag.in.th/[8]
  • Brand Ambassador ให้กับองค์การสหประชาชาติ เรื่องการรณรงค์ไม่ใช้เเรงงานเด็ก
  1. www.rlpd.go.thแม่แบบ:Www.rlpd.go.th
  2. https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9560000159130
  3. http://www.bunnag.in.th/
  4. https://m.mgronline.com/qol/detail/9610000055335
  5. https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9560000159130
  6. https://www.moj.go.th/news/298
  7. https://www.youtube.com/watch?v=dKbVAFOEwCE
  8. http://www.bunnag.in.th/