ผู้ใช้:Rochanakorn/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมลงวันผลไม้ (Fruit flies) ชนิด Bactrocera tau
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Diptera
วงศ์: Tephritidae
สกุล: Bactrocera
สปีชีส์: Bactrocera tau


บทนำ[แก้]

ศัตรูทางการเกษตร[แก้]
แมลงวันผลไม้ (Fruit flies) ชนิด Bactrocera tau   

แมลงวันผลไม้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแมลงวันทอง จัดเป็นแมลงในอันดับ Diptera ซึ่งเป็นแมลงที่มีผลต่อพืชผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก ทำให้พืชผักผลไม้ในสวนต่างๆเกิดความเสียหายขึ้นในทุกๆปี[1] โดยตัวเต็มวัยเพศเมีย จะใช้Ovipositorแทงลงไปในผลไม้ที่มีเปลือกบาง เพื่อวางไข่ จากนั้นตัวหนอนก็จะเจริญอยู่ภายในผลไม้ และกัดกินเนื้อผลไม้เป็นอาหาร อีกทั้งบางชนิดสามารถเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อหรือรากพืชได้ ซึ่งแมลงวันผลไม้จะกระจายอยู่ในเขตอบอุ่น, เขตกึ่งร้อนและเขตร้อน [2] โดยแต่ละชนิดของแมลงวันผลไม้จะลงทำลายพืชผลทางการเกษตรที่แตกต่างกันไป ซึ่งสำหรับ Bactrocera tau จะมี host plant ดังนี้ Anacardiaceae, Cucurbitaceae, Elaeocarpaceae, Moraceae, Myrtaceae, Oxalidaceae, Rutaceae, Sapotaceae, Solanaceae โดยส่วนที่แมลงวันผลไม้จะโจมตี คือ ส่วนที่เป็นผลไม้ (fruit) [3]

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของ Bactrocera tau [4][แก้]

ขนาด ลำตัวยาว 7.6-8.2 มม. ปีกยาว 7.2-7.5 มม.

ส่วนหัว สีเหลืองอมน้ำตาล มีขน inferior fronto-orbital 2 คู่ และ superior fronto-orbital 1 คู่ ใต้หนวดมีจุดสีดำรูปไข่ 2 จุด

ส่วนอก Scutum สีเหลืองออกน้ำตาล บน Mesonotum มี postsutural yellow vittae 3 แถบ scutellum สีเหลือง ขาบริเวณ femur มีสีเหลือง และบริเวณ femur ของขาคู่หน้ามีขนแข็งเรียงเป็นแถว tibia มีสีน้ำตาล

ส่วนท้อง สีเหลือง บริเวณขอบมีสีดำ ปล้องท้องที่ 2-3 มีแถบขวางสีดำ ปล้องที่ 4-5 มีแถบดำทางด้านข้าง ตรงกลางปล้องที่ 3-5 มีแถบดำยาวลงไป


วงจรชีวิต [5][แก้]

แมลงวันผลไม้มีช่วงชีวิต 4 ระยะ คือ ไข่ (egg), ตัวอ่อน (larva), ดักแด้ (pupa)และตัวเต็มวัย (adult) โดยตัวอ่อนมีด้วยกัน 3 ระยะ แมลงวันผลไม้ชนิด Bactrocera tau มีช่วงเวลาผสมพันธุ์ (mating) เฉลี่ย 408.03 + 235. 93 นาที ตัวเมียจะวางไข่ในพืชผักผลไม้จำพวกตระกูลแตงโดยใช้ ovipositor ปริมาณไข่เฉลี่ยอยู่ที่ 464.6 + 67.98 ฟอง/ตัวเมีย ช่วงระยะเวลาจากไข่กลายเป็นตัวอ่อนใช้เวลาประมาณ 1 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ตัวอ่อนระยะที่ 1, ตัวอ่อนระยะที่ 2และตัวอ่อนระยะที่ 3 ใช้เวลาประมาณ 1, 2 และ 4 วันตามลำดับ จากนั้นเมื่อเข้าสู่ตัวอ่อนระยะที่ 3จะดินตัวลงสู่พื้นดินเพื่อเข้าสู่ดักแด้ โดยระยะดักแด้จะใช้เวลาประมาณ 7 วันก่อนที่จะกลายเป็นตัวเต็มวัย

เขตการแพร่กระจาย (Distribution)[แก้]

ภูฏาน, กัมพูชา, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา, ไต้หวัน, ไทย และเวียดนาม[6]

ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของสัตว์ชนิดนั้นกับญาติ[แก้]

Family Tephritidae จัดเป็น true fruit flies รวมทั้งหมดมีประมาณ 4000 species จัดเรียงได้ 500 genera “Bactrocera tau” เป็นอีกหนึ่งชนิดที่จัดอยู่ในGenus Bactrocera โดยในสกุลย่อย Bactrocera สามารถระบุและจำแนกชนิดได้ชัดเจนโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา แต่มีอีกหลายกรณีที่เป็นชนิดที่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะในกลุ่ม “B. tau” complex และ “B. dorsalis” ซึ่งส่วนใหญ่ยากที่จะระบุและจำแนกชนิด อีกทั้งเมื่อดูลักษณะทางสัณฐานวิทยาของแมลงวันผลไม้ชนิด B. papayae จะมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกับแมลงวันผลไม้ชนิด B. dorsalis [7]

การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการด้านต่างๆของสัตว์ชนิดนั้น [8][แก้]

Batesian mimicry การที่มีการเลียนแบบสีและสายให้มีความคล้ายคลึงกับพวกแมลงที่อันตราย ตัวอย่างเช่น ต่อ (Wasps) การที่แมลงวันผลไม้เลียนแบบแมลงชนิดอื่นเนื่องจากช่วยให้หนีรอดจากผู้ล่า (Predator)

behavioral ecology มีการผสมพันธุ์มาก อีกทั้งยังมีการวางไข่ลงบนผลไม้จำนวนมากอีกด้วย ทำให้มีปริมาณประชากรจำนวนมาก

Pheromone แมลงวันผลไม้เพศเมียจะมีฟีโรโมนซึ่งตัวผู้จะอาศัยฟีโรโมนนี้เพื่อหาตัวเมีย จากนั้นก็จะผสมพันธ์เพิ่มจำนวนประชากรต่อไป ทำให้ประชากรของแมลงวันผลไม้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน[9]

References[แก้]

  1. http://www.acfs.go.th/ib/insect_01.pdf
  2. Ian M. White and Marlene M. Elson-Harris. 1992. Fruit flies of economic significance: Their identification and bionomics. CAB International, UK.
  3. Carroll L.E., Norrbom A.L., Dallwitz M.J., and F.C. Thompson,no date. Pest Fruit Flies of the World http://delta-intkey.com/ffl/www/bac_tau.htm
  4. http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:http://it.doa.go.th/refs/files/1729_2553.pdf
  5. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1748-5967.2010.00296.x/pdf
  6. Ian M. White and Marlene M. Elson-Harris. 1992. Fruit flies of economic significance: Their identification and bionomics. CAB International, UK.
  7. Ian M. White and Marlene M. Elson-Harris. 1992. Fruit flies of economic significance: Their identification and bionomics. CAB International, UK.
  8. http://eol.org/pages/9023/details
  9. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1095-8312.2009.01245.x/pdf