ผู้ใช้:Riderthk/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความเป็นมาของงบประมาณ
การจัดทำงบประมาณในแบบปัจจุบัน ได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นสมัยที่สภาผู้แทนราษฎรได้ประสบความสำเร็จในการสงวนอำนาจที่จะอนุมัติรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล ซึ่งจะเห็นได้ว่าการจัดทำงบประมาณในแบบปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับวิวัฒนาการการปกครอง ต่อมาได้มีการนำแบบอย่างมาจัดทำงบประมาณขึ้นในหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยการจัดทำงบประมาณนั้น รัฐบาลได้ริเริ่มจัดทำขึ้นมาก่อนและต่อมาได้ขยายขอบเขตไปถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ ทั้งของรัฐบาลและเอกชน [1]
ความหมายของงบประมาณ
หมายถึง แผนเบ็ดเสร็จที่แสดงออกในรูปของตัวเงินแสดงโครงการดำเนินงานทั้งหมดในระยะหนึ่งรวมถึงการกะประมาณการบริหารกิจกรรม โครงการ และค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุตามแบบแผน
  • ประกอบด้วยการทำงาน 3ขั้นตอน คือ
    • 1. การจัดเตรียม
    • 2. การอนุมัติ
    • 3. การบริหาร[2]

ประโยชน์ของงบประมาณ
งบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารหน่วยงาน สามารถนำเอางบประมาณมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารหน่อยงานให้เจริญก้าวหน้า

ความสำคัญและประโยชน์ของงบประมาณ มีดังนี้

  1. ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารหน่วยงานตามแผนงานและกำลังเงินที่มีอยู่โดยให้มีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแผนงานที่วางไว้ เพื่อป้องกันการรั่วไหลและการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นของหน่วยงานลดลง
  2. ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาหน่วยงานนี้หากหน่วยงานจัดงบประมาณการใช้จ่ายได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพจะสามารถพัฒนาให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่หน่วยงานและสังคม โดยหน่วยงานต้องพยายามใช้จ่ายและจัดสรรงบประมาณให้เกิดประสิทธิผลไปสู่โครงการที่จำเป็น เป็นโครงการลงทุนเพื่อก่อให้เกิดความก้าวหน้าของหน่วยงาน
  3. เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากทรัพยากรหรืองบประมาณของหน่วยงานมีจำกัด ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรหรือใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพ โดนมีการวางแผนการใช้และจัดสรรเงินงบประมาณไปในแต่ละด้าน และมีการวางแผนปฏิบัติงานในการใช้จ่ายทรัพยากรนั้นๆด้วย เพื่อนที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเวลาที่เร็วที่สุดและใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
  4. เป็นเครื่องมือกระจายทรัพยากรและเงินงบประมาณที่เป็นธรรม งบประมาณสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรงบประมาณที่เป็นธรรมไปสู่จุดที่มีความจำเป็นและทั่วถึงที่จะทำให้หน่วยงานนั้นสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์งานและผลงานของหน่วยงานเนื่องจากงบประมาณเป็นที่รวมทั้งหมดของแผนงานและงานที่จะดำเนินการในแต่ละปีพร้อมทั้งผลที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นหน่วยงานสามารถใช้งบประมาณหรือเอกสารงบประมาณที่แสดงถึงงานต่างๆที่ทำเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ [3]

ประเภทของงบประมาณ
งบประมาณที่ประเทศต่างๆใช้กันอยู่ในขณะนี้มีมากมายหลายประเภทแต่ที่สำคัญๆ และที่รู้จักกันโดยทั่วไปมีอยู่ประมาณ 5-6 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะการใช้และการดำเนินการต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป และมีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป แต่ละประเภทจะเหมาะสมกับประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านด้วยกันไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านการบริหาร ความรู้ความสามารถ ปัจจัยทางด้านการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และ ปัจจัยอื่นๆ เป็นต้น

สำหรับงบประมาณในแต่ละรูปแบบนั่นมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ คือ

  1. งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line Item Budget) งบประมาณแบบนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม มีรายกานต่างๆ มากมาย และข้อกำหนดเอาไว้ตายตัวจะพลิกแพลงจ่ายเป็นรายการอย่างอื่นผิดจากที่กำหนดไว้ไม่ได้ ถึงแม้จะจ่ายตามรายการที่กำหนดไว้ก็ตาม แต่จะจ่ายเกินวงเงินที่กำหนดไว้ไม่ได้ หากผันแปรหรือจ่ายเกินวงเงินอย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องทำความตกลงกับสำนักงบประมาณหรือกระทรวงการคลัง และหาเงินรายจ่ายมาเพิ่มให้พอจะจ่ายเสียก่อน งบประมาณแบบนี้มิได้เพ่งเล็งกิจการ วางแผน วัตถุประสงค์ และเป้าหมายตลอดจนถึงประสิทธิภาพของการบริหารงานเท่าใดนัก
  2. งบประมาณแบบแสดงผลงาน (Proformance Budget) เป็นงบประมาณที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมและตรวจสอบการดำเนินงาน ให้ได้ผลตามความมุ่งหมายที่ตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้โดยมีการติดตามและประเมินโครงการต่างๆ อย่างใกล้ชิดและมีการวัดผลงานในลักษณะวัดประสิทธิภาพในการทำงาน ว่างานที่ได้แต่ละหน่วยนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไรเป็นต้น
  3. งบประมาณแบบแสดงแผนงาน (Planning or Programming Budget) งบประมาณแบบนี้ประเทศไทยกำลังใช้อยู่ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2525 เป็นต้นมามีรูปแบบตามตารางที่3 โดยมีสาระสำคัญที่จะให้มีการใช้ทรัพยากรหรืองบประมาณที่มีอยู่จำกัดให้มีประสิทธิภาพและประหยัด มีลักษณะดังนี้
    1. เลิกควบคุมรายละเอียดทั้งหมด
    2. ให้กระทรวง ทบวง กรม กำหนดแผนงาน
    3. สำนักงบประมาณจะอนุมัติงบประมาณรายจ่ายให้แต่ละแผนงานโดยอิสระ
    4. สำนักงบประมาณจะควบคุมโดยการตรวจสอบ และประเมินผลของงานแต่ละแผนงานว่าได้บรรลุเป้าหมายตามแผนงานเพียงใด
  4. งบประมาณแบบแสดงการวางแผน กำหนดโครงการและระบบงบประมาณ (Planning, Programming and Budgeting System) ระบบนี้เป็นการแสดงตัวเลขค่าใช้จ่ายระยะยาวของโครงการที่ได้มีการวางแผนไว้เรียบร้อย บวกกับมีข้อมูลที่ถูกต้องในการสนับสนุนโครงการนั้น ส่วนประกอบของระบบ PPBS นี้ไม่มีอะไรใหม่เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการรวมเอาแนวความคิดของระบบงบประมาณแบบแสดงแผนงาน แนวคิดในการวิเคราะห์ค่าหน่วยสุดท้ายทางเศรษฐศาสตร์ และการวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับผลอันถึงจะได้รับค่าใช้จ่ายในการนั้นๆ นำมารวมกันเข้ากับการวิเคราะห์อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงเวลาหลายปีข้างหน้า
  5. งบประมาณแบบฐานศูนย์ (ZERO BASE) งบประมาณแบบฐานศูนย์ในลักษณะกว้างๆ เป็นระบบงบประมาณที่จะพิจารณางบประมาณทุกปีอย่างละเอียดทุกรายการ โดยไม่คำนึงถึงว่ารายการหรือแผนงานนั้นจะเป็นรายการหรือแผนงานเดิมหรือไม่ ถึงแม้รายกานหรือแผนงานเดิมที่เคยถูกพิจารณาและได้รับงบประมาณในงบประมาณปีที่แล้วก็จะถูกพิจารณาอีกครั้ง และอาจจะเป็นไปได้ว่าในปีนี้อาจจะถูกตัดงบประมาณลงก็ได้
  6. งบประมาณแบบสะสม (Incremental Budget) การจัดทำงบประมาณในแต่ละปีเป็นภาระหนัก เนื่องจากต้องใช้ข้อมูลมากในการพิจารณาและต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายหน่วย ดังนั้นต้องใช้เวลามากในการจัดทำงบประมาณหากจะต้องจำทำงบประมาณใหม่ทั้งหมดทุกปีคงจะทำได้ยากและคงมีข้อบกพร่องมากด้วย ดังนั้นเพื่อให้ทันกับเวลาที่มีอยู่ และเพื่อให้งบประมาณได้พิจารณาให้เสร็จทันและสามารถนำงบประมาณมาใช้จ่ายได้ จึงพิจารณางบประมาณเฉพาะส่วนเงินงบประมาณที่เพิ่มใหม่ที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาจากปีที่แล้วนั้น แต่เงินงบประมาณในปีที่แล้วที่ได้เคยพิจารณาไปครั้งหนึ่งแล้ว จะไม่มีการพิจาณาอีกครั้งเพียงแต่ยกยอดเงินมาตั้งเป็นงบประมาณใหม่ได้เลย [4]

กระกวนการงบประมาณ
การดำเนินการเกี่ยวกับรายจ่ายภาครัฐในส่วนที่เกี่ยวกับเงินงบประมาณมีการดำเนินการเป็นลำดับขั้นที่เรียกว่า กระบวนการงบประมาณ หรือวงจรงบประมาณ หรือวิธีการงบประมาณ ซึ้งมีลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานที่ต่อเนื่องกันไปตั้งแต่ การจัดเตรียมงบประมาณ การอนุมัติงบประมาณ และการบริหารงบประมาณ การดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

1.การจัดเตรียมงบประมาณ (Budget Preparation) เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ซึ่งประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานภาครับต่างๆ โดยมีสำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่รับผิดชอบในการรวบรวมและวิเคราะห์คำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานภาครัฐ เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และจัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอขออนุมัติต่อรัฐสภา

  • ในการดำเนินการจัดเตรียมงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการดำเนินการในกิจกรรมที่สำคัญเป็นลำดับ ดังนี้
    • การกำหนดปฏิทินงบประมาณ
    • การทบทวนแผนและผลการดำเนินงาน
    • การกำหนดนโยบายและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี
    • การจัดทำข้อเสนอเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี
    • การจัดทำแผนงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง
    • การจัดทำรายละเอียดคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี
    • การพิจารณารายละเอียดคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี
    • คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี

2.การอนุมัติงบประมาณ (Budget Adoption) เป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ถือว่าประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ดังนั้นการที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลจะนำเงินภาษีอากรของประชาชนไปใช้จ่ายจะต้องขออนุมัติหรือได้รับความยินยอมจากประชาชนในทางปฏิบัติประชาชนจะมอบอำนาจนี้ให้แก่ตัวแทนของประชาชน ได้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้ดำเนินการแทน
การพิจารณาอนุมัติงบประมาณจะมีการดำเนินการเป็น 3 วาระ คือ
วาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ เป็นการพิจารณาในเบื้องต้นว่าสภาจะพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติแห่งงบประมาณราจ่ายประจำปีหรือไม่
วาระที่สอง ขั้นแปรญัตติ เป็นการพิจารณาแก้ไข้ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
วาระที่สาม ขั้นการอนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี

3.การบริหารงบประมาณ (Budget Execution) เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีประกาศใช้แล้ว ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานภาครัฐอื่นจะดำเนินการบริหารงบประมาณโดยการเบิกจ่าย เงินงบประมาณไปใช้จ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และวงเงินงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติโดยจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฏหมายฉบับต่างๆ และระเบียบหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดการบริหารงบประมาณมีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้

  • การจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงิน
  • การเบิกจ่าย
  • การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
  • การรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายเงิน
  • การควบคุมงบประมาณ [5]

อ้างอิง
  1. ดร.ณรงค์ สัจพันโรจน์. 2538. การจัดทำอนุมัติและบริหารงบประมาณแผ่นดิน ทฤษฎีและปฏิบัติ. บพิธการพิมพ์ : กรุงเทพฯ
  2. ดร.ณรงค์ สัจพันโรจน์. 2538. การจัดทำอนุมัติและบริหารงบประมาณแผ่นดิน ทฤษฎีและปฏิบัติ. บพิธการพิมพ์ : กรุงเทพฯ
  3. เว็บอ้างอิง
  4. เว็บอ้างอิง
  5. [ความรู้เบื้อต้นเกี่ยวกับการบริหาร.2556 ฉบับปรับปรุงครั้งที่2]