ผู้ใช้:Putcharaporn N./กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดการความขัดแย้ง[แก้]

การจัดการคือกระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตุประสงค์ที่ตั้งไว้ ความขัดแย้งคือปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นในองค์กร ชุมชน สังคม เมื่อนำมารวมกันจะได้วลีใหม่ว่าการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งหมายถึง กระบวนการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคในองค์กร ชุมชน สังคมเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

การจัดการความขัดแย้งกับชีวิตมนุษย์[แก้]

การเกิดขึ้นของความขัดแย้งหรือปัญหาในสังคมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องปกติในทฤษฎีของคาร์ล มากซ์มีความเชื่อว่าความไม่เท่าเทียมเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากสังคม เมื่อมีการรวมตัวกันเป็นสังคม ชุมชน ก็ย่อมมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่แตกต่างกันทำให้มนุษย์แต่ละคนมีลักษณะพฤติกรรม ความคิด ความเชื่อ ที่แตกต่างกัน ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ปรากฎให้เห็นการที่ชุมชนสังคมมนุษย์แต่ละพื้นที่มีวัฒนธรรม บรรทัดฐาน การดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันนั้น ก็เพราะว่าการที่มีสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ ภูมิประเทศ หรือการอบรมเลี้ยงดู ในสังคมเราทุกคนจะหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธไม่ได้ว่าจะไม่เผชิญกับปัญหา อุปสรรค ความขัดแย้ง ในการรับมือหรือการจัดการกับสิ่งต่างๆเหล่านั้นพวกเราเองจำเป็นต้องมีทักษะความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจึงจะสามารถควบคุมหรือจัดการได้อย่างเหมาะสมตามเหตุตามผล ตรงกันข้ามหากพวกเรามีทักษะความรู้ความเข้าใจที่ไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้เราไม่สามารถควบคุมหรือจัดการกับสภาวะดังกล่าวได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบในหลายๆอย่าง สำหรับผลกระทบกับตัวบุคคลก็มักจะกระทบกับสุขภาพจิตเกิดความเครียด (ชีววิทยา) ความกังวล ไม่มีสมาธิส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานด้านอื่นๆลดลงและหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำๆจะมีผลทำให้บุคคลผู้นั้นสูญเสียความเชื่อมั่นในตัวเองไปทำให้ดำเนินกิจกรรมใดก็มักไม่จะมีความมั่นใจ โลเล และมักไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ในความเป็นจริงอีกแง่มุมหนึ่งคือความขัดแย้งและปัญหาต่างๆนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนายกะดับขึ้น แต่ความขัดแย้งและปัญหาก็นำไปสู่หายนะและวิกฤตต่างๆมากมาย ดังนั้นการที่เราเรียนรู้และอยู่กับความขัดแย้งได้อย่างมีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพก็จะทำให้เราได้พัฒนาศักยภาพนำไปสู่ผลสำเร็จในชีวิตและยังขยายวงกว้างให้กับชุมชนสังคมโดยการคอยให้คำแนะนำกับผู้ที่มาขอคำปรึกษา แต่ถ้าเราจัดการกับความขัดแย้งไม่ได้เราก็จะมีวิกฤตความย่ำแย่เกิดขึ้นในชีวิตซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วเราจำเป็นต้องอาศัยผู้รู้ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการให้คำแนะนำชี้ทาง

สาเหตุที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง[แก้]

ตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า“ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดแต่ความต้องการของมนุษย์มีอยู่อย่างไม่จำกัด”เพราะความไม่เพียงพอของมนุษย์ เพราะการมีความสามารถที่ไม่เท่ากันทำให้มีบางคนสามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ดีในขณะที่อีกบางคนไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้หรือได้น้อยทำให้เกิดความเลื่อมล้ำเกิดความไม่เป็นธรรม ตามแนวคิดของคาร์ล มากซ์เชื่อว่าเพราะความเป็นชนชั้นของสังคมมนุษย์ก่อให้เกิดความขัดแย้งต่างๆขึ้นโดยมีเรื่องของศักดิ์ศรี ยศ อำนาจ ถ้าหากเป็นระบบชนชั้นที่ไร้ซึ่งคุณธรรมก็จะเปรียบเหมือนสำนวนไทยที่ว่าปลาใหญ่กินปลาเล็ก ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกว่าตนเองนั้นไม่ได้รับความเป็นธรรมและสมควรจะต้องได้รับความเป็นธรรม พุทธศาสนากล่าวว่าสาเหตุของความขัดแย้งคือสิ่งที่เรียกว่าตัวตน เพราะด้วยคนส่วนมากคิดและยึดความคิดตนเองเป็นหลักเพราะคิดและเข้าใจว่าคนอื่นๆมองและเข้าใจในแบบตนโดยลืมนึกไปว่าเราแต่ละคนไม่ได้ประสบพบเจอกับสถานการณ์เหมือนกันซึงทำให้เราแต่ละคนเข้าใจและคิดในแบบที่ตนเองเห็น หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่าเพราะความเห็นแก่ตัวความไม่เป็นธรรมจึงทำให้เกิดความขัดแย้ง ด้วยความไม่รู้หรือรู้ไม่จริงเป็นสาเหตุให้มนุษย์เรานั้นมีความเห็นแก่ตัวคิดว่าแค่เราแก้ปัญหาเราเฉพาะหน้าได้ก็เพียงพอแล้วแต่ในความเป็นจริงการทำแบบนั้นเป็นการมองในระยะสั้นสำหรับการมองในระยะยาวจะคิดก้าวข้ามอารมณ์ที่ตนประสบอยู่ คิดถึงผลตามมาต่อตนเองและคนอื่นในระยะเวลาที่นานกว่าคือมองอนาคตอันไกลไม่ใช่มองอนาคตอันใกล้ ด้วยสาเหตุเหล่านี้เอื้อให้เกิดความขัดแย้งต่างๆซึ่งนั้นก็เป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้เช่นกันความที่ไม่เท่าเทียมกันทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคมขึ้นทำให้มีกระบวนการเพื่อเรียกร้องหาความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นซึ่งมีทั้งระดับเบาถึงระดับรุนแรงขั้นเกิดสงคราม ดังเช่น ปรากฏในเรื่องราวประวัติศาสตร์ 

หลักการแนวคิดเพื่อการจัดการความขัดแย้งที่น่าสนใจ[แก้]

สิ่งที่ทำให้มนุษย์มีคุณค่าไม่ใช่เงิน ยศ เกียรติ แต่สิ่งที่ทำให้มนุษยมีค่าควรแก่การเคารพนับถือและยึดเป็นแบบอย่างคือคุณธรรม หากถามว่าคุณธรรมคืออะไรคุณธรรมก็คือหลักเหตุผลคือ รู้หลักว่า รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาลเวลา รู้ชุมชน รู้บุคคล สิ่งสำคัญลำดับแรกที่เราจำเป็นต้องรู้คือการรู้หน้าที่เป็นการรู้ตนเองว่าเราเป็นใคร และเรามีหน้าที่ทำอะไร เช่นเราเป็นลูกเรามีหน้าที่ที่พึงต้องกระทำ ช่วยงานพ่อแม่ ฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ เราเป็นนักเรียนเรามีหน้าที่พึงกระทำคือตั้งใจศึกษาศิลปะวิทยาให้แตกฉาน เราเป็นประชาชนคนไทยเรามีหน้าที่ต้องทำตามกฏระเบียบที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เราเป็นประชาชนของโลกเรามีหน้าที่เป็นประชาชนที่ดีของโลก เมื่อเรารู้ตนเองจะทำให้เรารู้หน้าที่ของตนเมื่อเรารู้หน้าที่ของตนเองแล้วจะทำให้เรามีกฏเกณฑ์เป็นหลักคิดการไตร่ตรองในเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เราพบประสบอยู่ว่าควรทำอะไรบ้างในเวลานี้และสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำเป็นต้องมีในการดำเนินชีวิตประจำวันคือความอดทนไม่ใจร้อนวู่วามไปตามอารมย์แต่ควรยึดในหลักเหตุผลหรือในบางสถานการณ์ที่ถึงแม้เราจะไม่ได้รับความยุติธรรมตามที่ควรจะเป็นแต่เมื่อเราลองชั่งน้ำหนักผลได้ผลเสียดูแล้วหากผลเสียมันมีมากกว่าผลดีในสถานะการณ์แบบนี้เราก็ควรยอมเหมือนดังเช่นกรณีในสมัยราชกาลที่๕ที่ต้องจำยอมเสียสละพื้นที่ส่วนน้อยเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนมาก การดำเนินชีวิตตามหลักวิธีคิดดังกล่าวข้างต้นนี้จะทำให้เกิดกำลังใจกับผู้ปฏิบัติเพราะสิ่งที่เขากระทำลงไปนั้นถูกต้องตามเหตุตามผลแล้วไม่ได้ทำผิดต่อใคร หรือถ้าหากว่าใครคนอื่นจะไม่เข้าใจแต่ถ้าเราใคร่ครวญดูแล้วสิ่งที่เราทำไปไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นแล้วเราก็ควรปล่อยวางและเข้าใจว่าทุกคนมีสิทธิที่จะคิดที่จะเชื่อทุกคนไม่ได้คิดเหมือนกันเป็นไปตามกฏของธรรมชาติ ตามกฏของคาร์ล มากซ์ เราไม่สามารถควบคุมคนอื่นได้แต่เราสามารถควบคุมตัวเราได้ เมื่อเราสามารถเป็นที่พึ่งให้กับตนเองได้แล้วเราก็จะสามารถเป็นที่พึ่งให้กับสังคมได้

อ้างอิง[แก้]

-ทองสุข มันตาทร,ศิลปะการวางตนของคนทำงาน,ขอนแก่น,เพ็ญพรินติ้ง,2552.

-พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต),นิติศาสตร์แนวพุทธ,ขอนแก่น,โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา,2557 ISBN 974-8239-34-9

-เดวิด เจ.ไลเบอร์แมน,คู่มือควบคุมอารมณ์คน,กรุงเทพฯ,สำนักพิมพ์วีเลิร์น,ISBN 978-616-7164-09-0

-แดน มิลล์แมน,ยอดคนนักรบแห่งสันติสุข,นนบุรีย์,สำนักพิมพ์มังกรบูรณา,2556 ISBN 978-616-321-736-3

-  มานิจ สุขสมจิตร สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม(บรรณาธิการ),คุณธรรมและจริยธรรมไม่มีขาย สังคมไทยจะมีได้ต้องช่วยกัน,กรุงเทพฯ,สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา,2556 ISBN 978-974449-746-8

-เขมกะ.(บรรณาธิการ),หน้าที่ของคน,กรุงเทพฯ,ธรรมสภาสถาบันบันลือธรรม,ISBN 978-616-03-0551-3

-ปาริชาด สุวรรณบุบผา,คู่มือการจัดกระบวนการสานเสวนา,นครปฐม,โรงพิมพ์ภาพพิมพ์,2553 ISBN 978-974-11-1236-4