ผู้ใช้:Peepong.k/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองพลทหารราบที่ 3
ตราประจำหน่วย
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
พลตรี บุญสิน พาดกลาง

ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ประวัติหน่วย กองพลทหารราบที่ 3[แก้]

ประวัติความเป็นมาในการจัดตั้งหน่วย กองพลทหารราบที่ 3 เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2435
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองนครราชสีมา มีโจรผู้ร้ายชุกชุม สร้างความเดือดร้อนให้กับไพร่ฟ้าประชาชนไปทั่ว

ต่อมาในปีพุทธศักราช 2437 พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงใหญ่ ขึ้นมาชำระสะสางมูลคดีและปราบปรามโจรผู้ร้าย โดยมีกองทหารติดตามเสด็จฯ จำนวน 28 นาย ภายใต้บังคับบัญช ของ ร้อยโท หม่อมราชวงศ์อ่ำ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา เมื่อเหตุการณ์สงบเรียบร้อย กองทหารติดตามเสด็จ ยังคงให้อยู่รักษาเมืองนครราชสีมาต่อไป โดยเรียกว่า“กองทหารรักษาเมืองนครราชสีมา ” ตั้งค่ายอยู่บริเวณ สระระพิเรนทร ตรงที่เรียกว่า สระวัง ริมถนนกุดั่น ตรงข้ามวัดบูรพ์ในปัจจุบันในปีพุทธศักราช 2438 ได้ขยายหน่วยและจัดตั้งเป็นกรมทหารราบที่ 5 ( ปัจจุบันคือ กรมทหารราบที่ 3) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกองทหารและได้พระราชทาน ธงชัยเฉลิมพล ให้กับกรมทหารราบที่ 5 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พุทธศักราช 2443

ในปีพุทธศักราช 2445 ได้มีการขยายหน่วยทหารเพิ่มเติมเป็นกองทหารราชสีมา และในปีพุทธศักราช 2446 ได้เปลี่ยนเป็น กองพลที่ 5 มีพันโท หม่อมเจ้าบวรเดช (พลโท พระองค์เจ้าฯ) เป็นผู้บัญชาการคนแรก ต่อมาได้มีจัดระเบียบกองทัพบกใหม่ กองพลที่ 5 จึงแปรสภาพเป็น กองพลที่ 3 เมื่อวันที่ 13 เมษายน พุทธศักราช 2471 และ ในพุทธศักราช 2525 ได้เปลี่ยนนามหน่วยอีกครั้ง เป็น “กองพลทหารราบที่ 3 ”

กองพลทหารราบที่ 3 เป็นหน่วยทหารที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีผู้เสียสละชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อปกป้องเอกราชอธิปไตยของชาติ และสร้างเกียรติประวัติ คุณงามความดี สืบเนื่องกันมา มีตำนานและวีรกรรมการรบที่สมควรได้รับการจารึกไว้ เป็นเกียรติประวัติดังนี้

ในปีพุทธศักราช 2483 กรณีพิพาทอินโดจีน ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส กองพลที่ 3 ได้แปรสภาพเป็น กองพลอุบล สังกัดกองทัพอิสาน โดยมีพันเอกหลวงชำนาญยุทธศาสตร์ เป็นผู้บัญชาการ ได้นำกำลังเข้าทำการสู้รบกับกองทหารฝรั่งเศสอย่างกล้าหาญ จนสามารถยึดนครจำปาศักดิ์ได้สำเร็จเมื่อเดือนมกราคม พุทธศักราช 2484 ทำให้หน่วยในบังคับบัญชา คือ กองพันทหารราบที่ 21 หรือ กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 13 ในปัจจุบัน ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญประดับธงชัยเฉลิมพล

ในปีพุทธศักราช 2484 เกิด สงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพอีสานได้แปรสภาพกลับมาเป็นกองพลที่ 3 ภายใต้การนำของ พันเอกหลวงชำนาญยุทธศาสตร์ ได้นำกำลังเข้าร่วมรบ ใน สงครามมหาเอเชียบูรพา ในสังกัดกองทัพพายัพ เข้ายึดนครเชียงตุง ซึ่งเป็นเมืองหลวง ของรัฐฉาน ตลอดจนเข้ายึดเมืองมะ เมืองลาได้สำเร็จ และรักษาเมืองไว้จนสงครามสงบ และเป็นหน่วยที่ถอนกำลังกลับเป็นหน่วยสุดท้าย ในปีพุทธศักราช 2487ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โลกได้เข้าสู่ยุคสงครามเย็น ระหว่างลัทธิโลกเสรีและลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งประเทศไทยนับเป็นเป้าหมายสำคัญในการแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์เพื่อครอบครองภูมิภาคอินโดจีนจนในที่สุดได้มีการต่อสู้กันด้วยอาวุธขึ้นเป็น ครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พุทธศักราช 2508 ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วันเสียงปืนแตก ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แพร่ขยายอย่างรวดเร็ว การต่อสู้ด้วยอาวุธได้ขยายขอบเขตมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่อีสานตอนบน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองพลทหารราบที่ 3 นับเป็นฐานที่มั่นและศูนย์บัญชาการที่สำคัญของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ แต่ในที่สุดด้วยความมุ่งมั่นเสียสละของกำลังพล และด้วยการนำอย่างชาญฉลาด สุขุมรอบคอบของอดีตผู้บังคับบัญชา ทุกท่าน ที่ได้เข้าร่วมต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ในสมัยนั้น ทำให้เราสามารถยุติสงครามปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ และได้สร้างประวัติศาสตร์วันเสียงปืนดับขึ้น เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พุทธศักราช 2526

ในปีพุทธศักราช 2528 ถึง พุทธศักราช 2531 กองพลทหารราบที่ 3 ได้จัดกำลังเข้าร่วมกับหน่วยทหารของกองทัพภาคที่ 2 ในการปฏิบัติการผลักดันกองกำลังต่างชาติที่รุกล้ำอธิปไตยในพื้นที่อีสานตอนล่างหลายครั้ง รวมทั้งได้สนับสนุนการปฏิบัติการของ กองทัพภาคที่ 3 ในกรณีการรบที่บ้านร่มเกล้า เมื่อปีพุทธศักราช 2531

ในปีพุทธศักราช 2544 ได้จัดกำลัง 1 กองพันทหารราบเฉพาะกิจจากกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 8 ไปสมทบกับกรมทหารราบเฉพาะกิจที่ 4 เพื่อปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนด้านตะวันตก และในปีพุทธศักราช 2545 ได้จัดกำลัง 1 กรมทหารราบเฉพาะกิจ จากกรมทหารราบที่ 13 ไปผลัดเปลี่ยนกำลังกับกรมทหารราบเฉพาะกิจ ที่ 4 ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนด้านตะวันตกต่ออีก 1 ปี

ภารกิจการป้องกันชายแดนและภารกิจการรักษาความมั่นคงภาย[แก้]

ในภารกิจการป้องกันชายแดนและภารกิจการรักษาความมั่นคงภายใน กองพลทหารราบที่ 3 ได้รับมอบภารกิจ ให้จัดตั้งกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 2 ส่วนแยก 1 เพื่อควบคุมอำนวยการต่อหน่วยทหาร หน่วยกำลังกึ่งทหาร และกำลังตำรวจตระเวนชายแดนในการปฏิบัติภารกิจ การเฝ้าตรวจและป้องกันชายแดน, การจัดระเบียบพื้นที่ และแก้ไขปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดนตลอดจนการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในเขตรับผิดชอบตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2523 ถึงปัจจุบันฯ โดยมี พล.ต.บุญสิน พาดกลาง เป็น ผู้บัญชาการกองพล

รายนามผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 3[แก้]

ลำดับ พระนาม-ยศ-ชื่อ-สกุล  ปีที่ดำรงตำแหน่ง 
   1 พ.ท.ม.จ.บวรเดช (พล.อ.พระองค์เจ้า)  พ.ศ. 2446 - 2451
   2 พ.อ.หม่อมนเรนทราชา (พล.ท.พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร)  พ.ศ. 2451 - 2454
   3 พ.อ.ม.จ.อลงกฏ (พล.อ.กรมหมื่นอดิศร)  พ.ศ. 2454 - 2457
   4 พ.อ.ม.จ.ทศศิริวงษ์ (พล.ท.พระองค์เจ้า)  พ.ศ. 2457 - 2462
   5 พล.ต.พระยารามกำแหง (ทองอยู่ ภีมะโยธิน)  พ.ศ. 2462
   6 พล.ต.พระยาพระกฤษณ์รักษ์ (สวาสดิ์ บุนนาค)  พ.ศ. 2462
   7 พ.อ.พระยารามจัตุรงค์ (เพชร บุณยรัตนพันธุ์)  พ.ศ. 2462 - 2464
   8 พล.ต.พระยารามณรงค์ (ม.ล.ช่วย ฉัตรกุล)  พ.ศ. 2464 - 2467
   9 พล.ต.พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤช)  พ.ศ. 2467 - 2469
   10 พล.ต.พระยาสีหราชเดโชชัย (สวาสดิ์ บุนนาค)  พ.ศ. 2469 - 2470
   11 พล.ต.พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤช)  พ.ศ. 2470 - 2472
   12 พล.ต.พระยาพิชัยรณรงค์สงคราม (ทองดี จารุทัด)  พ.ศ. 2472 - 2473
   13 พล.ต.พระยาอินทรวิชิต (รัตน์ อาวุธ)  พ.ศ. 2473 - 2475
   14 พล.ต.พระยาอานุภาพไตรภพ(จำรหัสเทพหัสดินทร์ ณ อยุทธยา)  พ.ศ. 2475-2477
   15 พ.อ.พระเริงรุกปัจจามิตร (ทอง รักสงบ)  พ.ศ. 2477 - 2482
   16 พ.ท.หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (จอมพลผิน ชุณหะวัณ)  พ.ศ. 2482 - 2483
   17 พ.อ.หลวงจำรัส โรมรัน  พ.ศ. 2483 - 2484
   18 พ.อ.หลวงชำนาญยุทธศาสตร์  พ.ศ. 2484 - 2485
   19 พ.อ.หลวงหาญสงคราม  พ.ศ. 2485 - 2486
   20 พล.ต.หลวงไกรชิงฤทธิ์  พ.ศ. 2486 - 2487
   21 พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท (เพิ่ม ศิริวิสุตร)  พ.ศ. 2487 - 2491
   22 พล.ต.หลวงสวัสดิ์สรยุทธ (ดล บุนนาค)  พ.ศ. 2491 - 2493
   23 พล.ต.พจน์    ชุณหะวัณ  พ.ศ. 2493 - 2495
   24 พล.ต.เจริญ    กาญจนเสถียร  พ.ศ. 2495 - 2498
   25 พล.ต.เชื่อม    ปายะนันท์  พ.ศ. 2498 - 2500
   26 พล.ต.ธงเจิม    สังขวนิช  พ.ศ. 2500 - 2505
   27 พล.ต.สำราญ    แพทยกุล  พ.ศ. 2505 - 2507
   28 พล.ต.สวัสดิ์    มักการุณ  พ.ศ. 2507 - 2512
   29 พล.ต.ทวี    ดำรงหัด  พ.ศ. 2512 - 2515
   30 พล.ต.ปิ่น    ธรรมศรี  พ.ศ. 2515 - 2516
   31 พล.ต.ยุทธศิลป์    เกษรศุกร์  พ.ศ. 2516 - 2519
   32 พล.ต.พักตร์    มีนะกนิษฐ  พ.ศ. 2519 - 2520
   33 พล.ต.อาทิตย์    กำลังเอก  พ.ศ. 2520 - 2522
   34 พล.ต.สุวรรณ    รัตนเสนีย์  พ.ศ. 2522 - 2524
   35 พล.ต.บุญชัย    ดิษฐกุล  พ.ศ. 2524 - 2527
   36 พล.ต.สมพร    เติมทองไชย  พ.ศ. 2527 - 2529
   37 พล.ต.บุญแทน    เหนียนเฉลย  พ.ศ. 2529 - 2531
   38 พล.ต.บรรเทา    ใยเกตุ  พ.ศ. 2531 - 2533
   39 พล.ต.สัมพันธ์    บุญกังวาล  พ.ศ. 2533 - 2535
   40 พล.ต.เรวัต    บุญทับ  พ.ศ. 2535 - 2538
   41 พล.ต.กิตกูร    อุทยางกูร  พ.ศ. 2538 - 2541
   42 พล.ต.ภาณุ    โกศลสิทธิ์  พ.ศ. 2541 - 2543
   43 พล.ต.เหริ    วรรณประเสริฐ  พ.ศ. 2543 - 2545
   44 พล.ต.สุจิตร    สิทธิประภา  พ.ศ. 2545 - 2547
   45 พล.ต.วีร์วลิต    จรสัมฤทธิ์  พ.ศ. 2547 - 2550
   46 พล.ต.ชาญชัย    ภู่ทอง  พ.ศ. 2550 - 2553
   47 พล.ต.ธวัช    สุกปลั่ง  พ.ศ. 2553 - 2555
   48 พล.ต.ศักดา    เปรุนาวิน  พ.ศ. 2555 - 2557
   49 พล.ต.กฤต    ผิวเงิน  พ.ศ. 2557 - 2559
   50 พล.ต.สมชาติ    แน่นอุดร  พ.ศ. 2559 - 2560
   51 พล.ต.สัญชัย    รุ่งศรีทอง  พ.ศ. 2560 - 2562
   52 พล.ต.สวราชย์    แสงผล  พ.ศ. 2562 - 2563
   53 พล.ต.บุญสิน    พาดกลาง  พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

[1]

  1. www.3rddiv.rta.mi.th