ผู้ใช้:Patcharapon Chanton

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา

     ตั้งอยู่ที่ธรณีสงฆ์ของวัดกระทุ่มเสือปลา ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองประเวศบุรีรมย์ฝั่งใต้ ในแขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน คือ นางสาวสุดารัตน์ รัศมี

ประวัติ

     โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา เดิมเรียกว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลประเวศ 1 (วัดกระทุ่มเสือปลา) เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม  2476    ที่ศาลาการเปรียญ  วัดกระทุ่มเสือปลา โดยมีนายบุญศรี ปลื้มอารมย์  เป็นครูใหญ่คนแรก เมื่อนายบุญศรี   ปลื้มอารมย์ ลาออก นายดาบสิทธิ์   สุดเฉียว ได้เป็นครูใหญ่ สืบต่อมา  และได้พยายามติดต่อกระทรวงศึกษาธิการ ขออาคารเรียนอนาถาที่ตำบลสวนอ้อย อำเภอพระโขนง มาก่อสร้างเป็นอาคารถาวรขึ้นเมื่อ พ.ศ.2485 เป็นอาคารปั้นหยาเรือนไม้สองชั้น มีมุขด้านข้างตัวอาคารเรียนยาว 27 เมตร กว้าง 9.50 เมตร   มุขยื่นออกมา 5 เมตรสิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน 6,000 บาท (หกพันบาทถ้วน) โดยรัฐบาลสมัยนั้นให้เงิน 1,500 บาท  (หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน) เริ่มเปิดการสอนที่อาคารถาวรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2486   เมื่อนายดาบสิทธิ์ สุดเฉลียว  ย้ายมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย นายหุ่น นิลจันทร์ ได้เป็นครูใหญ่ คนต่อมา จนถึง  พ.ศ.2485 นายประเสริฐ  เสถียรผลิน ได้เป็นครูใหญ่จนถึง พ.ศ. 2491 หลังจากนั้น นายน้อย โพธิ์งาม  ได้รับหน้าที่เป็นครูใหญ่และได้พยายามซ่อมแซมสิ่งต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพดีขึ้น พ.ศ.2500   ปลายเดือนตุลาคม  ได้งบประมาณสร้าง   โรงอาหาร 1 หลัง สิ้นค่าก่อสร้าง 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เดือนกันยายน พ.ศ. 2509 ท่านเจ้าคุณวัดธาตุทอง (ท่านเจ้าคุณเทพญาณทวี) ได้บริจาคเงิน 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน)สมทบกับทางราชการอีก 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 90,000 บาท สร้างอาคารแบบ ป.1  ให้อีก 1 หลัง มีขนาดกว้าง 8.40 เมตร ยาว 27 เมตร หลังคามุงกระเบื้อง 3 ห้องเรียนเรียกอาคารนี้ว่า “อาคารธาตุทอง”
      ต่อมาปี พ.ศ. 2510 กระทรวงมหาดไทย ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนชั้นประถมศึกษาปลายแบบ  017  สี่ห้องเรียน ขนาด 6x8 เมตร และเปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 ห้อง   เมื่อวันที่ 17   พฤษภาคม   พ.ศ.  2511   มีนักเรียนรุ่นแรก  57  คน เป็นนักเรียนชาย  37  คน นักเรียนหญิง  20  คน มีนายน้อย  โพธิ์งาม  เป็นครูใหญ่จนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่  30  กันยายน   พ.ศ.  2511  นายเรวัต  รัตนกำพล ได้เป็นครูใหญ่คนต่อมาจนกระทั่วถึงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2517   นายเรวัต  รัตนกำพล ได้รับแต่งตั้งเป็นศึกษาธิการเขตพระโขนง นายวิรัต แก่นทอง ผู้ช่วยครูใหญ่  จึงได้รับแต่งตั้งเป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลาจนเกษียณอายุราชการ
     ใน พ.ศ.2510 โรงเรียนโอนไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย ตามระเบียบการปรับปรุงการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2515 ได้เปลี่ยนระเบียบการปกครองท้องถิ่นของจังหวัดพระนคร และธนบุรี    โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา ได้โอนไปสังกัดนครหลวง พ.ศ. 2516 มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารส่วนท้องถิ่นของจังหวัดนครหลวงเป็นกรุงเทพมหานคร  โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลาก็ได้โอนมาสังกัดกรุงเทพมหานคร

ปรัชญา

ปญญา  นรานํ  รตนํ
ปัญญา  เป็นดวงแก้ว  ของคนดี
  

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน

    โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา  มุ่งมั่นจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม นำความรู้  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  รักษ์ความเป็นไทย  รู้เท่าทันเทคโนโลยี โดยชุมชนมีส่วนร่วม

เป้าหมายของโรงเรียน

          1). ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานหลักสูตรและ
              มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับดีขึ้นไป  มีความสามารถใช้สื่อเทคโนโลยี  ใช้ชีวิตอย่าง 
              พอเพียง
         2). ผู้เรียนเห็นคุณค่า  หวงแหน  แหล่งเรียนรู้ในชุมชน  และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
         3). ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ
                เกิดประสิทธิผล และมีความเป็นมืออาชีพ มีคุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู
         4). โรงเรียนมีการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ และจัดการ
                 เรียนการสอน
         5). โรงเรียนกับชุมชนร่วมกันพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ


พันธกิจของโรงเรียน

         1). พัฒนานักเรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรมมีทักษะการใช้เทคโนโลยี  ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
         2). ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง เพิ่มพูนความรู้และเทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
               และเป็นมืออาชีพ มีคุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู
         3). ส่งเสริมการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ และจัดการเรียน 
             การสอน
         4). ส่งเสริมแหล่งการเรียนรู้ชุมชน  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
         5). ส่งเสริมสนับสนุนชุมชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการศึกษา

Patcharapon Chanton (คุย) 21:17, 23 ธันวาคม 2564 (+07) [1]

  1. http://www.watkratumsueplaschool.ac.th/mainpage