ผู้ใช้:Owkehdjeh

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีในเชอร์โนบิล

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศยูเครนตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ภายในโรงไฟฟ้ามีชุดเครื่องจักรทั้งหมด 4 ชุด เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพโซเวียต เช้าตรู่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2529 แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดการระเบิด เสาไฟสูง 30 เมตร และเศษซากของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์และกราไฟท์ปลิวกระจายออกมาพร้อมกับสานกัมมันตรังสีจำนวน 8 ตัน ซึ่งมีปริมาณรังสีมากกว่าตอนที่เกาะฮิโรชิมาของญี่ปุ่นโดนทิ้งระเบิดถึง 100 เท่า เฮลิคอปเตอร์ซึ่งเป็นกองหนุนต้องปล่อยสารลดอุณหภูมิและสารดูดธาตุกัมมันตรังสีปริมาณ 5,000 ตัน ลงบนแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 และสร้างผนังหนาหลายเมตรขึ้นรอบๆ เพื่อปิดล้อมแกนปฏิกรณ์โดยใช้เครื่องควบคุมระยะไกล

ความเสียหาย

ภายหลังจากภัยพิบัติครั้งนี้สารกัมมันตรังสีก็ถูกลมพัดไปทางตะวันตกจนถึงประเทศโปแลนด์ ภายในเวลา 10 วันทวีปยุโรปเกือบทั้งทวีปถูกปกคลุมด้วยฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี พื้นดินจำนวน 20 กว่าตารางกิโลเมตรเกิดมลพิษ ประเทศที่เกิดมลพิษนิวเคลียร์รุนแรงที่สุดคือ ยูเครน รัสเซีย และเบลารุส เมืองที่อยู่ใกล้เชอร์โนบิลกลายเป็นแผ่นดินร้าง ชาวยูเครนประมาณ 8,000 รายเสียชีวิตจากรังสีนิวเคลียร์ สัตว์และพืชจำนวนมากได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสีจนเกิดการกลายพันธุ์ รายงานจากการสำรวจขององค์กรกรีนพีซระบุว่า การรั่วไหลของนิวเคลียร์ส่งผลให้ประชาชนจำนวน 93,000 คนเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย และอีก 200,000 กว่าคนเป็นโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับรังสีนิวเคลียร์

สาเหตุการเกิดภัยพิบัติ

นิวเคลียร์สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานสะอาดได้ ภายใต้การดำเนินการตามปกติของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์สารกัมมันตรังสีที่ปล่อยออกมาจะอยู่ในขอบเขตที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัย ไม่ควรเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภัยพิบัติเชอร์โนบิลคือค่าก่อสร้างต่ำ เทคโนโลยีล้าสมัย รวมถึงการใช้กราไฟท์ที่มีสมรรถนะด้านความปลอดภัยไม่เพียงพอมาเป็นแกนปฏิกรณ์รูปแบบเก่าซึ่งมีสารลดความเร็วของนิวตรอน ขณะเดียวกันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ก็ไม่ได้กำหนดมาตรการเตรียมการป้องกัน เช่น การติดตั้งตัวรับสัญญาณไว้ที่แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นต้น ผู้ควบคุมเองก็ไม่ได้ทำตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ จนก่อให้เกิดภัยพิบัติครั้งนี้