ผู้ใช้:Onefineday

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สิทธิมนุษยชนในสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

สิทธิมนุษยชนในอิหร่านเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์โดยชาวอิหร่านเองและนานาชาติ จากกลุ่มนักเคลื่อนไหว นักเขียนและองค์กรภาคประชาชน เพื่อสิทธิมนุษยชน สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน [1] ได้ประณามการกระทำทารุณในอิหร่านที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและที่กำลังดำเนินอยู่ ทั้งโดยทางสิ่งตีพิมพ์และมติองค์การสหประชาชาติที่มีออกมาหลายครั้ง

ข้อห้ามและบทลงโทษตามรัฐธรรมนูญและกฎของศาสนาอิสลามของรัฐบาลอิหร่าน ฝ่าฝืนข้อปฏิบัติสิทธิมนุษยชนสากล ไม่ว่าจะเป็นการลงทัณฑ์ที่รุนแรงสำหรับอาชญากรรม การลงโทษ “อาชญากรรมที่ปราศจากผู้เสียหาย” อาทิเช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส และรักร่วมเพศ การประหารชีวิตผู้กระทำผิดที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ข้อจำกัดใน การแสดงความคิดเห็น และ เสรีภาพของสื่อ (รวมทั้งการจำคุกนักข่าว) การจำกัด เสรีภาพทางศาสนา และ ความเสมอภาคระหว่างเพศตามที่ปรากฏอยู่ใน รัฐธรรมนูญ (โดยเฉพาะการกดขี่ข่มเหงผู้นับถือ ศาสนาบาไฮ

สิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญ[แก้]

กฎหมายพื้นฐานหรือรัฐธรรมนูญของอิหร่าน กำหนดความเท่าเทียมกันของเชื้อชาติ ชนกลุ่มน้อย (มาตรา) [2] มีการกล่าวถึงความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ (มาตรา ๒๐) การปกป้องสิทธิสตรี (มาตรา ๒๑) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (มาตรา ๒๓) เสรีภาพของสื่อ (มาตรา ๒๔) และเสรีภาพในการอยู่ร่วมกัน (มาตรา ๒๗) ชนกลุ่มน้อยผู้นับถือศาสนาอื่นสามศาสนาที่ได้รับการยอมรับมีเสรีภาพในการปฏิบัติศาสนกิจของตน [3] อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญยังมีข้อกำหนดที่นักวิชาการเรียกว่า “(logic) ปริศนาที่ซ่อนอยู่” อย่างเช่น “กฎหมายและข้อกำหนดทั้งหลายต้องเป็นไปตามกฎของศาสนาอิสลาม” [4] ดังนั้นสิทธิสตรี เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพของสื่อ และเสรีภาพในการอยู่ร่วมกัน [5] ต้องเป็นไปตาม “ข้อจำกัดตามกฎหมาย” “คำสอนของศาสนาอิสลาม” “ยกเว้นในกรณีที่ล่วงละเมิดศาสนาอิสลาม” “เว้นแต่กฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น” “ตราบใดที่ไม่ก้าวก่ายในคำสอนของศาสนาอิสลาม” [6]

การละเมิดสิทธิมนุษยชน[แก้]

ด้วยเหตุที่ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาของอิหร่านมาจาก กฎหมายชะรีอะฮ์ คือ ประมวลข้อปฏิบัติต่าง ๆ ของกฎหมายศาสนาของศาสนาอิสลาม ดังนั้นจึงไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติของสิทธิมนุษยชนสากลเสมอไป

ประเด็นสถานภาพทางเพศ[แก้]

กฎหมายอิหร่านไม่ได้ให้สตรีมีสิทธิเท่าเทียมกับชายในหลายประเด็น[7] ในหมวดประมวลกฎหมายว่า เงินทดแทนที่มอบให้ญาติของผู้เสียชีวิต หรือดิยยา คุณค่าของชีวิตสตรีมีเพียงครึ่งหนึ่งของบุรุษ (ตัวอย่างเช่น กรณีถูกรถยนต์ชนทั้งชายและหญิง ครอบครัวของผู้หญิงจะได้รับสินไหมทดแทนครึ่งหนึ่งของจำนวนสินไหมที่ผู้ชายได้รับ) [8]

คำให้การของพยานที่เป็นชายหนึ่งคนเทียบเท่าคำให้การของพยานผู้หญิงสองคน [9] [10] [11]

ภรรยาต้องขออนุญาตสามีเพื่อออกไปทำงานนอกบ้านหรือเดินทางออกนอกประเทศ [12]

ซาห์รา เอชรากี หลานสาวของอายะตุลลอฮ์ โคมัยนีเคยกล่าวไว้ว่า “การเลือกปฏิบัติที่นี่ (อิหร่าน) ไม่ได้มีแต่ในรัฐธรรมนูญ เกิดเป็นผู้หญิงที่นี่ ถ้าอยากจะขอหนังสือเดินทางเพื่อเดินทางไปต่างประเทศ จะเข้าผ่าตัด แม้แต่จะหายใจ ฉันยังต้องขอออนุญาตจากสามี” [13]

การบังคับให้สวมหิญาบ (เสื้อผ้าสตรีมุสลิม) ในอิหร่าน สตรีที่พ้นวัยเด็กต้องคลุมผมและร่างกาย หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกจับ[14] ในฤดูใบไม้ผลิปี ๒๕๔๐ ตำรวจอิหร่านจับสตรีอิหร่านกว่า ๑๐๐ คน ที่ถูกกล่าวหาว่าปกปิดร่างกายไม่มิดชิดพอ บางคนถูกกล่าวหาว่าเสื้อคลุมคับเกินไป หรือมีผมแลบออกมาจากที่คลุมผมมากเกินไป การรณรงค์ดังกล่าวบนถนนในเมืองใหญ่หลายเมืองเป็นการจับกุมที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่มีการปฏิวัติอิหร่าน ตามรายงานของรายการ เอ็นบีซี ทูเดย์ โดยนายแมตต์ ลอเออร์ [15] เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ชาวอิหร่าน (ส่วนใหญ่เป็นสตรี) ถูกจับกว่าหนึ่งล้านคนในปีที่ผ่านมา (ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๑) จากการล่วงละเมิดกฎหมายว่าด้วยการแต่งกาย

การห้ามสตรีเข้ารับการศึกษาในมหาวิทยาลัย[แก้]

บทความหลักจาก ข้อห้ามของอิหร่านเรื่องการศึกษาของสตรี หลังจากที่นักศึกษาสตรีชาวอิหร่านมีผลการเรียนดีกว่านักศึกษาชายเป็นเวลาหลายปี ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ มหาวิทยาลัย ๑๖ แห่งประกาศว่าหลักสูตรปริญญาตรีสาขาศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ๗๗ หลักสูตรเปิดรับเฉพาะ “เพศเดียว”และไม่มีการเรียนรวมกันระหว่างนักศึกษาหญิงและชาย[16] นโยบายนี้ส่งผลให้นักศึกษาสตรีระดับปริญญาตรีไม่สามารถเลือกวิชาเรียนได้หลากหลายในสถาบันการศึกษาชั้นนำ รวมทั้งวรรณคดีอังกฤษ การแปลภาษาอังกฤษ การบริหารโรงแรม โบราณคดี ปรมาณูฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวอุตสาหกรรม และการบริหารธุรกิจ นางชิริน เอบาดี เจ้าของรางวัลโนเบลและทนายผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งลี้ภัยไปอยู่ในสหราชอาณาจักร ได้เขียนจดหมายเรื่องนี้ถึง นายบัน คีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และ นางนาวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยกล่าวว่าประเด็นหลักของอิหร่านก็คือ ลดสัดส่วนของนักศึกษาสตรีจากร้อยละ ๖๐ ให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ นั่นก็หมายถึงทำให้ขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีต้องอ่อนแอลงในการรณรงค์ต่อต้านการเลือกปฏิบัติของกฎหมายอิสลาม (219) แม้แต่สมาชิกสภาชาวอิหร่านยังร่วมวิจารณ์นโยบายใหม่นี้ด้วย [17]

อ้างอิง[แก้]

  1. [1] a b Iran rejects UN report on 'rights abuses' aljazeera.net 20 October 2011
  2. [2] (French) L'aménagement linguistique dans le monde, Jacques Leclerc, CIRAL (Centre international de recherche en aménagement linguistique), Université Laval
  3. [Iranian constitution Article 13 "Zoroastrian, Jewish, and Christian Iranians are the only recognized religious minorities, who, within the limits of the law, are free to perform their religious rites and ceremonies, and to act according to their own canon in matters of personal affairs and religious education.] Iranian constitution Article 13 "Zoroastrian, Jewish, and Christian Iranians are the only recognized religious minorities, who, within the limits of the law, are free to perform their religious rites and ceremonies, and to act according to their own canon in matters of personal affairs and religious education."
  4. [Abrahamian, Ervand, History of Modern Iran, Columbia University Press, 2008, p.167]
  5. [3] THE IRANIAN LEGAL FRAMEWORK AND INTERNATIONAL LAW
  6. [4] Iran – Constitution
  7. [5] a b c Human Rights in Iran 2007 MEHR.org p.4, 5
  8. [Ebadi, Shirin, Iran Awakening : A Memoir of Revolution and Hope, by Shirin Ebadi with Azadeh Moaveni, Random House, 2006, p.117]
  9. [6] a b c Human Rights in Iran 2007 MEHR.org p.4, 5
  10. [7] Islamic Penal Code of Iran, article 300
  11. [8] Women act against repression and intimidation in Iran, 28 February 2008
  12. [9] a b c Human Rights in Iran 2007 MEHR.org p.4, 5
  13. [10]
  14. [11] Iran vows crackdown on 'inappropriately' dressed women, AFP (Yahoo! News), 24 February 2007, via the Wayback Machine
  15. [12] YouTube, Matt Lauer in Tehran 1 of 4
  16. L-4270873, 00.html "Report: Women banned from Iranian university programs". Yedioth Ahronot. 20 August 2012. Retrieved 21 August 2012.
  17. [13]