ผู้ใช้:Nuengruethai Saengthong/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ด้วงมูลสัตว์ (Dung Beetles)[แก้]

Scientific classification[แก้]

ด้วงมูลสัตว์กำลังเคลื่อนย้ายมูลสัตว์โดยใช้ขาคู่หลัง
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Arthropoda
ชั้น Insecta
อันดับ Coleoptera
วงศ์ Scarabaeidae

บทนำ[แก้]

แมลงผู้รักษ์ความสะอาด[แก้]

ด้วงมูลสัตว์ (Dung beetles) เป็นแมลงปีกแข็ง จัดอยู่ในอันดับ Coleoptera จาก 2 วงศ์ (Family) คือ Aphodiidae และScarabaeidae เป็นแมลงที่ถือว่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เพราะเป็นพวกที่กินซาก และมูลของสัตว์ชนิดอื่นเป็นอาหาร จึงทำให้เกิดการหมุนเวียนของแร่ธาตุอาหารต่างๆภายในระบบนิเวศ ตัวเต็มวัยมีอายุตั้งแต่ 1-6 เดือน ตั้งแต่ระยะไข่เจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย 1-12 เดือน แตกต่างตามชนิดของด้วงมูลสัตว์ หลังจากการผสมพันธุ์ด้วงมูลสัตว์เพศผู้และเพศเมียช่วยกันตัดก้อนมูลเป็นชิ้น เล็ก ๆ แล้วปั้นให้เป็นก้อนกลม จากนั้นขุดดินให้เป็นโพรงเพื่อใช้เป็นแหล่งสร้างรัง และเก็บก้อนมูล ด้วงมูลสัตว์จะวางไข่ไว้ภายในก้อนมูลนั้น เมื่อตัวหนอนฟักออกจากไข่ จะกินก้อนมูลเป็นอาหาร จนเข้าดักแด้ภายในก้อนมูลนั้น เมื่อเป็นตัวเต็มวัย ด้วงมูลสัตว์จึงกัดก้อนมูลออกมา มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์

วงจรชีวิตของด้วงมูลสัตว์[แก้]

มีวงจรชีวิต 4 ระยะ

  • ไข่ (Egg) มีลักษณะรียาวรูปร่างคล้ายเมล็ดข้าวสาร สีขาวขุ่น ด้วงวางไข่ไว้ภายในก้อนมูลที่เตรียมไว้เพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับตัวอ่อน ลักษณะก้อนมูลมีรูปร่างหลายแบบแตกต่างกัน เช่น กลม รี หรือทรงกระบอก
  • ตัวหนอน (White grub) มีรูปร่างแบบ Scarabaeiform ส่วนหัวเล็ก ไม่มีตา มีหนวดจำนวน 4 ปล้อง ปล้องปลายสุดมีลักษณะเรียวเล็ก คือ มีขาจริงสั้น ไม่มีขาเทียม ตัวหนอนมีผิวหนังที่มีความแข็งแรง เคลื่อนที่เชื่องช้า ชอบงอลำตัวคล้ายรูปตัว C
  • ดักแด้ (Pupa) ส่วนประกอบของร่างกาย เช่น ขา ปีก หรือส่วนของหนวด เป็นอิสระไม่ถูกยึดติดกับร่างกาย ดักแด้มีสีขาวซีด ไม่มีปลอกหุ้ม
  • ตัวเต็มวัย (Adult) ลำตัวรูปไข่หรือยาวรี โค้งนูน มี Tarsi 5 ปล้อง มีหนวดแบบแผ่นใบไม้ที่หนวด 3 ปล้องสุดท้าย ส่วนฐานของหนวดขยายเป็นแผ่นแบน ด้านหน้าของ Tibia ขยายออกเล็กน้อย ขอบด้านนอกมีลักษณะเหมือนฟัน หรือเป็นร่องหยัก


พฤติกรรมการสร้างรังวางไข่ของด้วงมูลสัตว์[แก้]

ด้วง มูลสัตว์ เป็นแมลงที่ต้องอาศัยมูลของสัตว์เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย นอกจากใช้มูลสัตว์เป็นอาหารแล้ว ด้วงกลุ่มนี้ยังใช้มูลเป็นที่สำหรับวางไข่ และเป็นแหล่งอาหารสำหรับตัวอ่อนด้วย ซึ่งมีทั้งแบบวางไข่บนกองมูล ขุดรูสร้างรังวางไข่ใต้กองมูล และกลุ่มที่ปั้นก้อนมูลแล้วกลิ้งไปฝังสร้างรังวางไข่ห่างจากกองมูลเดิม จากพฤติกรรมการกินอาหาร และสร้างรังวางไข่ สามารถแบ่งด้วงมูลสัตว์ออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

ด้วงกลุ่ม Tunneller หรือ Paracopids

เป็นกลุ่มของด้วงที่ทำการรวบรวมมูลของสัตว์ แล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ หลังจากนั้นทำการขุดโพรงลงไปใต้กองมูลอย่างรวดเร็ว (Holter and Schholtz, 2005) และนำก้อนมูลที่ปั้นได้ไปฝังไว้ใต้กองมูลด้วยการขุดโพรงภายใต้กองมูล แล้วนำเอามูลสัตว์เก็บไว้ภายในโพรงที่สร้างขึ้น ส่วนใหญ่เป็นด้วงมูลสัตว์ที่หากินเวลากลางคืน ยกเว้นเผ่าพันธุ์ Phaeini ซึ่งเป็นกลุ่มที่หากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน สามารถจัดจำแนกด้วงในกลุ่มนี้ตามลักษณะการสร้างรัง และการจัดเรียงก้อนมูล (Brood ball) ที่แตกต่างกันได้ดังนี้ (Davis, 1977; Cambefort, 1981; Cambefort and Rougon, 1982, อ้างโดย สิงโต, 2545)

  • ชนิดที่เป็นรังเดี่ยว วางก้อนมูลจำนวน 1 ก้อนต่อรังบริเวณผิวดิน ตัวเมียมีบทบาทสำคัญในการดูแลตัวอ่อน มีการช่วยเหลือกันทั้งเพศผู้ และเพศเมีย ตัวอย่างด้วงมูลสัตว์ในกลุ่มนี้คือ เผ่าพันธุ์ Dichotomiini, Ontini, Oniticellini และ Onthophagini
  • ชนิด ที่สร้างรังเป็นรูปทรงกระบอก แต่ละท่อมีก้อนมูลมากกว่า 1 ก้อน สร้างรังลึกลงไปในดิน โดยช่วยกันทั้งเพศผู้ และเพศเมีย ไม่มีการดูแลตัวอ่อน ตัวอย่างด้วงมูลสัตว์ในกลุ่มนี้ คือ เผ่าพันธุ์ Dichotomiini, Ontini, Oniticellini และ Onthophagini
  • ชนิดที่รัง ถูกสร้างในกองมูล มีก้อนมูลหลาย ๆ ก้อนใน 1 รัง การสร้างรังแบบนี้ทำให้เกิดช่องว่างภายในรัง ส่วนใหญ่การสร้างรังต้องอาศัยมูลจากสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น มูลช้าง และพบการสร้างรังวางไข่ในฤดูร้อน ด้วงมูลสัตว์ในกลุ่มนี้ คือ สกุล Oniticellus
  • ชนิดที่ สร้างรังระดับผิวดิน ใน 1 รังพบก้อนมูลจำนวนมาก แต่อยู่ติดกันมีการดูแลตัวอ่อน ด้วงมูลสัตว์กลุ่มนี้ คือ เผ่าพันธุ์ Oniticellini
  • ชนิดที่ สร้างรังลึกลงในดิน รูปร่างของรังเป็นทรงกระบอก อาจเป็นท่อเดี่ยวหรือแตกกิ่งก้าน แต่ละท่อมีก้อนมูลมากกว่า 1 ก้อน โดยทั่วไปไม่มีการดูแลตัวอ่อน ด้วงมูลสัตว์ในกลุ่มนี้ คือ เผ่าพันธุ์ Coprini, Dichotomiini, Ontini และ Oniticellini
  • ชนิดที่ สร้างรังลึกลงไปในดิน รูปร่างของรังเป็นทรงกระบอก ก้อนมูลเรียงห่างกันภายในรัง บางชนิดมีหรือไม่มีการดูแลตัวอ่อนก็ได้
ด้วงกลุ่ม Roller หรือ ball roller (Telecoprids)

เป็นกลุ่มของด้วงที่ปั้นก้อนมูลเป็นก้อนกลม แล้วกลิ้งก้อนมูลที่ปั้นไว้ไปฝังในดินซึ่งอยู่ห่างจากกองมูลของสัตว์ หรือซ่อนไว้ตามกอหญ้า ประกอบด้วยด้วงในเผ่าพันธุ์ Scarabaeini, Canthonini, Gymnopleurini และ Sisyphini ตามลักษณะการสร้างรัง และการจัดเรียงก้อนมูล (Brood ball) ที่แตกต่างกันได้ดังนี้ ชนิดที่ผสมพันธุ์บริเวณกองมูล พบเฉพาะด้วงมูลสัตว์เพศเมียที่ตัดมูลของสัตว์ออกเป็นก้อนกลม พฤติกรรมนี้พบในด้วงสกุล Megothoposoma เท่านั้น

  • ชนิดที่เพศผู้กับเพศเมียมีบทบาทเท่า ๆ กัน คือตัวผู้ช่วยในการตัดมูลให้เป็นก้อนกลม และกลิ้งมูลไปยังรัง ต่อมาตัวเมียตกแต่งก้อนมูลให้มีลักษณะเป็นรูปร่างคล้าย ลูกแพร์ และวางไข่ภายในก้อนมูล ก้อนมูลที่มีไข่ ถูกฝังลึกไปจากผิวดินเล็กน้อย ด้วงมูลสัตว์กลุ่มนี้ไม่มีการดูแลตัวอ่อน ได้แก่ เผ่าพันธุ์ Scarabaeini, Canthonini, Gymnopleurini และ Sisyphini
  • ชนิดที่เพศเมียมีบทบาทมากกว่าเพศผู้ โดยด้วงมูลสัตว์เพศเมียตัดมูลให้เป็นก้อนมูลที่มีรูปร่างคล้ายปีรามิดจำนวน 1-4 ก้อน มีการดูแลรังจนกว่าตัวอ่อนออกมาเป็นตัวเต็มวัย
  • ชนิดที่เพศผู้ และเพศเมียมีบทบาทใกล้เคียงกัน ก้อนมูลที่ตัดมาจากกองมูล ถูกตัดเป็นก้อนย่อย ๆ จำนวน 5 ก้อน หลังจากเพศเมียวางไข่ ก้อนมูลถูกฝังลงไปในดิน โดยเพศเมียดูแลตัวอ่อน ได้แก่ ด้วงในสกุล Canthon เท่านั้น
ด้วงกลุ่ม Dweller หรือ endocopids

เป็นกลุ่มของด้วงที่อาศัย สร้างรัง และวางไข่บนก้อนมูลสัตว์โดยตรง ไม่ขุดรู หรือการเคลื่อนย้ายก้อนมูลไปที่อื่น ด้วงกลุ่มนี้เกือบทั้งหมดอยู่ในสกุล Aphodius วงศ์ย่อย Aphodiinae พบว่าด้วงในกลุ่มนี้มีประมาณ 1,650 ชนิด ในอเมริกาเหนือ พบมากกว่า 200 ชนิด มีแหล่งอาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นทางเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งที่เหมาะสำหรับด้วงมูลสัตว์ในสกุลนี้ และสามารถพบได้ในเขตร้อนชื้น แต่มีจำนวนชนิดน้อยกว่า

ด้วงกลุ่ม Kleptoparasite หรือ Kleptocopids

เป็นกลุ่มของด้วงที่คอยขโมย หรือแย่งก้อนมูลจากด้วงในกลุ่ม Roller เพื่อนำไปเป็นรังวางไข่ของตัวเอง ด้วงกลุ่มนี้เป็นตัวเบียนของด้วงมูลสัตว์กลุ่มอื่น ซึ่งไม่สืบพันธุ์หรือวางไข่บนกองมูล แต่ขโมยก้อนมูล และรังจากด้วงมูลสัตว์ชนิดอื่น ได้แก่ ด้วงในวงศ์ย่อย Aphodiinae

การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของด้วงมูลสัตว์[แก้]

ด้วงมูลสัตว์ถือกำเนิดมานานกว่า 180 ล้านปี ในยุค Jurassic เช่นเดียวกับยุคของไดโนเสาร์ที่สูญพันธ์จากโลกนี้แล้ว แต่ด้วงมูลสัตว์สามารถอยู่รอดได้เนื่องจากการปรับตัวเริ่มจากการกินมูล (Coprophagous) มาเป็นพวกกินซาก (Saprophagous) ต่อมาเมื่อถึงยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ด้วงมูลสัตว์ก็ปรับตัวกลับมากินมูลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกครั้ง จากการศึกษาพบว่า ทั่วโลกมีด้วงมูลสัตว์อยู่กว่า 8,000 ชนิด และสามารถแพร่กระจายในแหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน จากเขตร้อนถึงเขตอบอุ่นของทวีปต่างๆ


[1] [2]

References[แก้]

  1. http://www.nhm.psu.ac.th/museum/index.php?view=article&id=120%3A2009-07-14-03-02-46&option=com_content&Itemid=65
  2. http://www.dnp.go.th/FOREMIC/WEB%20SITE2/de_dung.php