ผู้ใช้:Nattikan.ki/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ณัฐติกานต์ กฤษหมื่นไวย
ชื่อเกิดณัฐติกานต์ กฤษหมื่นไวย
เกิด27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 (30 ปี)
ที่เกิดประเทศไทย นครราชสีมา ประเทศไทย
อาชีพนักศึกษา

ณัฐติกานต์ กฤษหมื่นไวย ชื่อเล่น กิ๊ฟ

ประวัติ[แก้]

ณัฐติกานต์ กฤษหมื่นไวย ชื่อเล่น กิ๊ฟ ที่อยู่ปัจจุบัน 18 หมู่ 3 ต.หนองกระทุ่ม อ.เมือง จังหวัดนครราชสีมา

การศึกษา[แก้]

ตำแหน่งงานด้านไอทีที่สนใจ[แก้]

นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) [1]

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาไปเป็นอย่างมาก ทำให้การใช้ IT เป็น ความจำเป็นขององค์กร ในแง่ของความสามารถในการแข่งขัน และความอยู่รอดขององค์กร 

ตำแหน่ง System Analyst ทำหน้าที่ในการศึกษาและประเมินผลระบบการทำงานในปัจจุบันของหน่วยงาน วิเคราะห์และออกแบบระบบงานของหน่วยงาน

อืนๆ[แก้]

บทควาทด้านไอที[แก้]

เรื่องที่ 1 เมื่ออยากเปลี่ยนมาทำงานสาย IT ต้องทำอย่างไร[แก้]

เชื่อได้เลยว่า 50% ของคนทำงาน คือ คนที่ทำงานไม่ตรงกับสาขาวิชาที่เรียนมา อาจจะเป็นเพราะความชอบส่วนตัว กับสิ่งที่เรียนมาเป็นสิ่งที่สวนทางกัน ทำให้เมื่อถึงเวลาหางานจริง คนทำงานเลือกที่จะหางานเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองอยากทำมากกว่า งานบางตำแหน่งก็เปิดโอกาสให้คนหลายกลุ่มเข้ามาทำงาน แม้ว่าจะไม่มีความรู้ด้านนั้น ๆ เลย - ต้องทำอย่างไร? เมื่ออยากเปลี่ยนมาทำงานสาย IT ดูเหมือนว่าตำแหน่งงานนี้จะได้รับความนิยม แม้จะไม่ได้เป็นคนที่เรียนจบด้านนี้มา แต่คนทำงานหลายคนก็ได้รับโอกาสให้ทำงานด้านนี้ แต่ต้องทำอย่างไรจึงจะได้ทำงานนี้ และได้เรียนรู้ทักษะทางด้านงาน IT เพิ่มเติม เพราะตำแหน่งงาน IT บางทีก็ไม่ง่ายจนทุกคนสามารถทำได้ เมื่อรู้ตัวว่าอยากทำงานด้าน IT แม้ว่าจะไม่ได้เรียนจบสายตรงมา ไม่ว่าจะเป็นความชอบส่วนตัว หรือได้มีโอกาสไปฝึกงานมาก็ตาม ต้องทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนงานข้ามสายงาน และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมือนเป็นคนทำงาน IT มืออาชีพ - เรียนรู้เพื่อเพิ่มโอกาสในการหางาน เมื่อรู้ตัวว่างาน IT เป็นงานที่อยากทำเป็นอันดับหนึ่ง แม้ว่าจะมีงานประจำทำอยู่แล้วก็ตาม ให้เราลองหาโอกาสไปเรียนรู้เพิ่มเติม เช่น การลงเรียนวิชาที่เกี่ยวกับงาน IT ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรสั้น ๆ หรือลงเรียนในระดับปริญญาโท เพื่อเพิ่มความรู้ให้มากขึ้น หรือมากเพียงพอที่จะนำไปสมัครงานได้ บางคนอาจจะเรียนจบมาทางด้านภาษา แต่เลือกที่จะเรียนเพิ่มในเรื่อง Network หรือ Programmer ในระดับปริญญาโท เพียงเท่านี้ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้งานให้มีมากขึ้นแล้ว - ฝึกงานเพื่อหาประสบการณ์ หากต้องการหางานที่งานในปัจจุบันไม่สามารถให้ได้ ให้ลองหาโอกาสไปฝึกงานกับหน่วยงาน หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับงาน IT ที่เราอยากทำ อาจจะเป็นช่วงเวลาว่างหลังเลิกงาน หรือเวลาอื่น ๆ ที่เราสามารถบริหารจัดการเวลาไม่ให้รบกวนเวลางานในปัจจุบัน วิธีการนี้เหมาะสำหรับเด็กจบใหม่ หรือคนที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานในด้านนี้ ซึ่งต้องมีความพยายามมากกว่าคนอื่น ๆ เพื่อทำให้นายจ้างรู้สึกประทับใจในความตั้งใจของเรา แม้ว่าจะไม่ได้เรียนจบมาโดยตรง แต่เราก็พยายามที่จะเสริมประสบการณ์ให้มีมากขึ้น และทำให้ความพยายามที่จะเปลี่ยนมาทำงานในสายงาน IT เป็นเรื่องที่เป็นไปได้มากขึ้น - เปลี่ยนสายงานภายในองค์กร หากเป็นไปได้ให้ลองเปลี่ยนสายงานภายในบริษัทของของตัวเองดูก่อน ลองศึกษาทิศทาง และความเป็นไปได้ถึงโอกาสในการเปลี่ยนสายงาน ของเราว่ามีมากน้อยขนาดไหน หากเราเคยทำงานในสายงานการตลาด แต่อยากลองเปลี่ยนมาทำงานด้าน IT Support เพราะมีความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้มาก่อน ให้ลองคุยกับหัวหน้างานถึงความเป็นไปได้ หากบริษัทสนับสนุนและเปิดโอกาสมากพอ เราก็ไม่จำเป็นต้องลาออกจากบริษัท แต่ได้ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่เราชื่นชอบ อยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่เข้าใจเราได้ต่อไป ทั้งบริษัทและคนทำงานเองต่างก็ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย เพราะบริษัทก็ไม่ต้องเสียเวลาหาคนใหม่ และคนทำงานเองก็ได้งานทำโดยไม่ต้องลาออก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าทางบริษัทสามารถเปิดรับคนในตำแหน่งงาน IT เพิ่มได้อีกหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้น หากเราต้องการทำงานด้านนี้จริง ๆ แต่ไม่มีตำแหน่งรองรับ ก็อาจจะต้องหางานใหม่ในองค์กรใหม่เปลี่ยนมาทำสายงาน-it - การเปลี่ยนงานจากสายงานอื่นไปสู่สายงาน IT เราต้องมั่นใจว่าเรามีความรู้ความสามารถ และมีความพยายามมากพอที่จะทำงานนั้นได้ หรือแม้ว่าไม่มีประสบการณ์ใด ๆ มาเลย เราอาจจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับนายจ้างไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อโน้มน้าวใจให้นายจ้างเห็นว่าเราสามารถทำงานนี้ได้ แต่ก็ต้องเริ่มต้นจากตัวเราเอง เราต้องมีความมุ่งมั่นให้มากพอที่จะนำพาตัวเองไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน อ้างอิง.[2][2]

เรื่องที่ 2 ระวังภัย Bot ระบาดหนัก[แก้]

Bot เป็นภัยคุกคามที่ระบาดหนักอย่างหนึ่งในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผู้ที่เข้าไปใช้งานอินเทอร์เน็ตเจ้า Bot นี้จะสร้างความรำคาญใจ โดยหลอกเราว่าเครื่องเราติดไวรัส เวิร์ม และมัลแวร์อื่น ๆ เพื่อให้เราซื้อสินค้า ของเขามาใช้งาน ภัยคุกคามเช่นนี้ เราจึงควรรู้เท่าทัน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อง่าย ๆ มาทำความรู้จักกับ Bot กันเถอะ Bot เป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า “Robot” ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทำงานในลักษณะที่เรียกว่า Agent โดยจะรอคำสั่งจากเครื่องหรือโปรแกรมอื่นที่สั่งหรือปลุกให้เครื่องที่มี Bot ติดตั้งอยู่ทำงาน ถ้าเครื่องของเราถูก Bot ติดเข้าไป เครื่องของเราก็จะถูกโปรแกรมหรือบุคคลอื่น ๆ สั่งงานให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามเจ้านายหรือบุคคลสั่ง เช่น ให้ส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล หรือข้อมูลบัตรเครดิต รวมไปถึงการเก็บข้อมูล จากการที่เรากดแป้นคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังจะบันทึกหรือส่งข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเหยื่ออีกด้วย เชื่อหรือไม่ว่า จากผลสำรวจทั่วโลกพบว่า มีเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อของเจ้า Bot นี้มากกว่า 6 ล้านเครื่องเลยทีเดียวและส่วนใหญ่ Bot เหล่านี้ก็จะมาจากการที่เราเข้าไปใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น การดาวน์โหลดไฟล์ การรับ-ส่งอีเมล การเล่นเกมออนไลน์ ซึ่งการที่เราเข้าไปยังเว็บที่มี Bot ติดอยู่ก็จะทำให้เราติด Bot นี้ไปด้วย มาดูตัวอย่างของ Bot กัน “AntiSpyCheck” Bot หรือ Malware ตัวนี้จะคอยหลอกว่าเครื่องของเรามีไวรัส หรือมัลแวร์ และชักชวนให้เราติดตั้งหรือสแกนแบบออนไลน์ ซึ่งหากเราหลงเชื่อ คลิกตอบตกลงแล้วล่ะก็ มันจะติดตั้งโปรแกรมของมันที่เครื่องของเราทันที และจะแจ้งว่าเครื่องเรามีทั้งไวรัส มัลแวร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเวิร์ม โทรจัน และอื่น ๆ และยังแจ้งว่ามีบุคคลอื่น ๆ กำลังแอ็กเซสเครื่องของเราเพื่อ ดึงข้อมูลส่วนตัวของเรา ถ้าหากเราไม่ซื้อสินค้าของเขามาใช้งานมันก็จะเตือนเราเรื่อย ๆ สร้างความรำคาญใจอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น ถึงแม้เครื่องเราจะมีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสติดตั้งอยู่ก็ ไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย แล้วเราจะกำจัดเจ้า Bot นี้ออกไปได้อย่างไร ระวังภัย-Bot-ระบาด วิธีการก็คือ การ Remove แบบ Manual โดยการลบและแก้ไขค่าต่าง ๆ ที่รีจีสทรี ซึ่งเป็นวิธีการที่ยาวมาก ต่อมาได้พบวิธีการที่ง่ายกว่าเดิม และมีประสิทธิภาพ มากกว่าเดิม นั่นคือ การใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยดักจับพวก Bot หรือ Malware ต่าง ๆ โดยเครื่องมือเหล่านี้จะเป็นส่วนที่เข้าเสริมการทำงานในการตรวจจับ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่า จะไปรบกวนหรือมีผลกับแอนตี้ไวรัสที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องเราก่อนหน้านี้ ซึ่งสามารถหาดาวน์โหลดได้ตามอินเทอร์เน็ตเช่น Norton AntiBot เมื่อเราติดตั้งแล้วเหมือนเพิ่มกำแพงให้เครื่องเราป้องกัน ไวรัสได้อีกชั้นนึง ทำงานร่วมกันโปรแกรม anti virus ที่มีอยู่แล้วในเครื่องของเราได้ทันที ที่สำคัญตัวไม่ใหญ่ และไม่กินทรัพยากรเครื่อง อ้างอิง.[2][2]

เรื่องที่ 3 เทคโนโลยี Cloud Computing[แก้]

Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่ในปัจจุบันนี้กำลังได้รับการจับตามองอย่างมาก และกำลังอยุ่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งพร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นธุรกิจที่ขยายวงกว้างมากขึ้นโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ โดยในปัจจุบันนี้นั้นเทคโนโลยี Cloud Computing นั้น ได้รับการสนับสนุนทางด้านปัจจัยในเรื่องของโครงข่ายข้อมูลที่กำลังพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว โดยเจ้าเทคโนโลยีนี้สามารถเชื่อมต่อความเร็วสูงและรองรับข้อมูล มัลติมีเดียและสื่อดิจิตอลสมัยๆอย่างอื่นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ Cloud Computing นั้นสร้างความสนใจกับบรรดาเหล่าบริษัทน้อยใหญ่ขึ้นมาเป็นอย่างมาก โดยองค์ประกอบของการใช้บริการจาก Cloud Computing นั้น เพียงผู้ใช้งานนั้นมีเพียงแค่อินเตอร์เนทก็สามารถใช้งานบริการนี้ได้แล้ว ยิ่งในปัจจุบันนั้นมีผู้ที่ให้บริการต่างๆมากมายสำหรับธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึง ขนาดใหญ่ โดยมีรูปแบบออกมาเพื่อ ตอบสนองความต้องการใช้งานมากแบบแยกชิ้นมากยิ่งขึ้น นั้นก็คือผู้ใช้งานนั้นสามารถเลือกใช้ประเภทการให้บริการ และจำนวน application ต่างๆ ตามความต้องการในการใช้งานจริง โดยจะเสียค่าใช้งานได้ตามปริมาณที่เราเลือกใช้งาน โดยการเข้ามาขของเทคโนโลยีนี้ในประเทศไทยนั้น เริ่มจะมีการพูดถึงและใช้งานอย่างแพร่หลายแล้วในปัจจุบันนี้ โดยไม่เพียงแค่องค์กรขนาดใหญ่เพียงเท่านั้น ทั้งธุรกิจขนาดเล็กรวมไปถึงบุคคลทั่วไปก็ยังทำการใช้บริการเหล่านี้อยู่ จึงทำให้ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีคลาวด์นี้นั้นได้ผลตอบรับค่อนข้างดีจากคนในทั่วทุกมุมโลก

อ้างอิง.[2] [2]












LAN Technology[แก้]

เครือข่ายแลน LAN (Local Area Network)เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไปกล่าวคือ เครือข่ายโดยส่วนใหญ่จะมีระบบแลนเป็นองค์ประกอบหลัก เครือข่ายแบบแลนอาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่ายๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณไปจนถึงเครือข่ายที่สลับซับซ้อน เช่น มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นพันๆเครื่อง และมีอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ อีกมากแต่ลักษณะสำคัญของแลน ก็คือเครือข่ายประเภทนี้จะครอบคลุมพื้นที่จำกัด โทโปโลยีโทโปโลยีของเครือข่าย(Network Topology) จะอธิบายถึงแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตามลักษณะทายกายภาพ (Physical Topology) หรือทางตรรกะ (Logical Topology) ซึ่งจะแสดงถึงต่ำแหน่งของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ และเส้นทางการเชื่อมต่อของอุปกรณ์เหล่านี้โทโปโลยีของเครือข่ายอาจจะมีผลต่อสมรรถนะของเครือข่ายได้ การเลือกโทโปโลยีของเครือข่ายต้องมีการวางแผนที่ดี เพราะโทโปโลยีจะมีผลต่อชนิดของสายสัญญาณที่ใช้ รวมถึงลักษณะการเดินสายสัญญาณนี ้ผ่านชั ้นเพดานและผนังของอาคารโทโปโลยียังเป็นตัว กำหนดลักษณะการสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วย ต่างโทโปโลยีกันต้องใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลที่ต่างกันและวิธีการนี้จะมีผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย


โทโปโลยีแบบบัส ( BUS Topology )[แก้]

เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในเครือข่าย คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณร่วม หรือบัส จะสื่อสารกันโดยใช้ที่อยู่ (Address) ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน

โทโปโลยีแบบดาว ( Star topology )[แก้]

คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อด้วยสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์รวมศูนย์ที่เรียกว่า ฮับ (Hub) สำหรับการเชื่อมต่อแบบนี้เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องใด จะส่งข้อมูลไปที่ฮับก่อนแล้วฮับจะทำหน้าที่กระจายข้อมูลไปยังทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับ การต่อแบบนี้เริ่มใช้ในสมัยแรกๆ โดยการเชื่อมต่อเทอร์มินอลเข้ากับเครื่องเมนเฟรม

โทโปโลยีแบบวงแหวน ( Ring Topology )[แก้]

เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถานสุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป

โทโปโลยีแบบเมซ ( Mesh Topology )[แก้]

เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุกๆเครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

อ้างอิง.[2]

  1. [1]
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 [2] อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "test" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน

WAN Technology[แก้]

[|การเชื่อมต่อ LAN ด้วย WAN]] WAN (Wide Area Network) เปนเทคโนโลยีที่ใชสำหรับการเชื่อมตอ LAN (Local Area Network)ที่อยูหางไกลกันและไมสามารถเชื่อมตอกันไดโดย LAN ตัวอยางเครือขาย WAN ที่รูจักกันดีและเปนเครือขายที่ใหญในโลก คืออินเทอรเน็ต ซึ่งเปนเครือขายที่ครอบครอมคลุมทั่วโลกขอจำกัดในการออกแบบเครือขาย WANนั่นคือระยะทาง เพราะไมวาจะเปนสัญญาณประเภทใดก็แลวแตเมื่อตองสงไประยะไกลๆ กำลังของสัญญาณนั้นๆ ก็จะออนลง ซึ่งมีผลตอประสิทธิภาพในการรับสงขอมูลการออกแบบ WAN นั้นจะเปนการแลกเปลี่ยนแบนดวิธเพื่อระยะทาง ดังนั้นจึงทำใหแบนดวิธของ WAN นอยกวาของ LAN มากแตรับสงขอมูลไดระยะที่ไกลกวา

เครือขาย WAN ประกอบดวยซับเน็ตยอยๆ ดังนั้น เสนทางในการถายโอนขอมูลจึงตองสงจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดหนึ่งในแตละซับเน็ตและก็ใชวาทุกๆ โหนดจะมีลิงกเชื่อมตอเขาดวยกัน เหมือนกับโทโพโลยีแบบเมช โดยบางโหนดอาจมีลิงกที่เชื่อมตอกับโหนดตัวเองมากกวาหนึ่งลิงกในขณะที่ลิงกบางลิงกมีการเชื่อมตอกับบางโหนดเทานั้น แตก็สามารถใชเทคนิคดวยการสวิตชไป มาระหวางโหนดของลิงกตางๆ เพื่อไปถึงจุดหมายปลายทางไดเรียกวาเทคนิคนี้วา เครือขายสวิตชิง(Switching Network)

เทคนิควิธีการสวิตชิงมีอยู 3 วิธีสำคัญๆ คือเซอรกิตสวิตชิง (Circuit Switching) เมสเสจสวิตชิง (Message Switching) และแพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet Switching) เปรียบเทียบการสื่อสารแบบเซอรกิตสวิตชิงและเมสเสจสวิตชิง

เซอร์กิตสวิตชิง (Circuit Switching)[แก้]

เปนกลไกสื่อสารขอมูล ที่สรางเสนทางขอมูลระหวางสถานีสงกอนที่จะทำการสงขอมูลเมื่อเสนทางดังกลาวนี้สรางแลวจะใชในการสงขอมูลไดเฉพาะสองสถานีนี้ตัวอยางที่เห็นไดชัดของระบบเซอรกิตสวิตชิง ไดแกระบบโทรศัพทนั่นเอง โทรศัพทแตละหมายเลขจะมีสายสัญญาณเชื่อมตอมายังชุมสายโทรศัพทหรือ CO (Central Office) ซึ่งมีสวิตชติดตั้งอยูระหวางชุมสายโทรศัพทจะมีการเชื่อมตอกัน ทำใหสามารถโทรศัพทไปเบอรอื่นๆไดบางครั้งอาจผานชุมสายโทรศัพทหลายๆชุมสาย ทุกครั้งที่ใชโทรศัพทจะมีเสนทางสัญญาณที่ถูกจองไวสำหรับใชในการสนทนาแตละครั้ง เมื่อเลิกใชโทรศัพทเสนทางนี้จะถูกยกเลิกและพรอมสำหรับการใชงานครั้งตอไป การสรางเสนทางผานขอมูลเซอรกิตสวิตชิงเปนขั้นตอนที่สำคัญในระบบสงสํญญาณแบบเซอรกิตสวิตชิง เฟรมขอมูลที่สงแตละการเชื่อมตอจะถูกสงผานเครือขาย โดยใชเสนทางเดียวกันทั้งหมด สำหรับหลักการทำงาน ใหพิจารณาจากรูปที่ 9-3 (a) ฝงตนทางในที่นี้คือ S ซึ่งตองการสื่อสารกับฝงปลายทางคือ T ผานเครือขายและดวยวิธีเซอรกิตสวิตชิงนั้นจะสรางเสนทาง เพื่อการสงขอมูลแบบตายตัว (Dedicated Path) ดังนั้นการเชื่อมตอจากฝงตนทาง S ไปยังปลายทางT ในที่นี้ก็ไดมีการจับจองเสนทางตามนี้คือ เสนทางดังกลาวจะถูกถือครองในระหวางการสื่อสารตลอดจนกระทั่งยุติการสื่อสารถึงจะถูกปลดออก (Release)

เมสเสจสวิตชิง (Message Switching)

เซอร์กิตสวิตชิง (Circuit Switching)[แก้]

เป็นระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความชาญฉลาดมากขึ้น การทำงานในระบบผู้ส่งจะส่ง Message ไปยัง node แรกเมื่อ node แรกได้รับข้อมูลจะเก็บข้อมูล(ไว้ใน Buffer) และติดต่อไปยัง node ต่อไป เมื่อหาเส้นทางไปยัง node ต่อไปได้แล้วก็จะทำการส่งข้อมูลที่เก็บไว้ใน Buffer ออกไปยัง node นั้นและไปจนกว่าจะถึงปลายทางเรียกว่า Stort และ Forward


แพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet Switching)[แก้]

การสื่อสารแบบวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิงนี้น จัดเปนกรณีพิเศษของเมสเสจสวิตชิงดวยการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษเขาไป โดยในขั้นแรกเมื่อตองการสงหนวยขอมูลและดวยแพ็กเก็ตมีขนาดที่จำกัด ดังนั้น หากเมสเสจมีขนาดใหญกวาขนาดสูงสุดของแพ็กเก็ตจะมีการแตกออกเปนหลายๆแพ็กเก็ต ขั้นที่สอง เมื่อแพ็กเก็ตไดสงผานจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งบนเครือขาย จะมีการจัดเก็บแพ็กเก็ต เหลานั้นไวชั่วคราวบนหนวยความจำความเร็วสูง เชน RAM ซึ่งในเวลาในการประมวลผลไดรวดเร็วกวาอุปกรณที่ใชงานบนระบบเมสเสจสวิตชิงขอดีของการสื่อสารดวยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิงก็ คือเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเมสเสจสวิตชิงแลวคาหนวงเวลาของแพ็กเก็ตสวิตชิงนั้นมีคานอยกวาโดยคาหนวงเวลาของแพ็กเก็ตแรกจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครูในขณะที่แพ็กเก็ตแรกนั้นผานจำนวนจุดตางๆ บนเสนทางที่ใชหลังจากนั้นแพ็กเก็ตที่สงตามมาทีหลังก็จะทยอยสงตามกันมาอยางรวดเร็ว และหากมีการสื่อสารบนชองทางความเร็วสูงแลว คาหนวงเวลาที่เกิดขึ้นจะมีคาที่ต่ำทีเดียวโดยการ สื่อสารดวยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิงนี้ยังแบงออกเปน 2 วิธีดวยกันคือ วิธีดาตาแกรม (Datagram Approach) และเวอรชวลเซอรกิต (Virtual-Circuit Approach) แพ็กเก็ตสวิตชิง : วิธีสงแบบดาตาแกรม (Datagram Approach) แพ็กเก็ตสวิตชิง : วิธีสงแบบเวอรชวลเซอรกิต (Virtual-Circuit Approach) อ้างอิง.[1]

OSI model + TCP/IP model[แก้]

TCP/IP Model OSI Model
Application Layer Application Layer
Presentation Layer
Session Layer
Transport Layer Transport Layer
Internet Layer Network Layer
Network Access Layer Data Link Layer
Physical Layer

อ้างอิง.[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 [3] อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "test" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน