ผู้ใช้:Mongkol kimtong/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟล์:Mongkol.jpg
ชื่อ - สกุล : นายมงคล คิมทอง
ชื่อเล่น : โต
วันเกิด : 2 สิงหาคม พ.ศ. 2536
รหัสนักศึกษา : 561531023021-4

ประวัติส่วนตัว[แก้]

ชื่อ:มงคล คิมทอง  ที่อยู่:613 หมู่2 ถ.เพชรมาตุคลา ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 
ชอบเล่นเกม:Dota 2  ชอบดูการ์ตูน:One Piece 

การศึกษา[แก้]

ตำแหน่งงานด้านไอทีที่สนใจ[แก้]

นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)เพราะคิดว่าสามารถวิเคราะห์ได้ดี(คิดไปเอง)

บทความด้าน IT[แก้]

อยากเป็นเว็บดีไซเนอร์ที่เก่ง ต้องหา Inspiration ที่ไหน?[แก้]

เทคนิคหนึ่งที่ดีไซเนอร์ทุกคนใช้เหมือนกันในการหา Inspiration มาทำงานออกแบบ ก็คือ “การดูงานของคนอื่น” ซึ่งจากประสบการณ์ของผมที่ย้ายจากสายโปรแกรมเมอร์มาเป็นกึ่งดีไซเนอร์ การเรียนรู้จากงานคนอื่นเป็นวิธีเรียนรู้ที่เร็วที่สุดจริง ๆ ครับ วันนี้ผมก็มี 5 เว็บไซต์เด็ด ๆ สำหรับหา Inspiration มาแนะนำกันครับ ลอง Bookmark ไว้แล้วเข้าไปดูวันละนิดละหน่อย รับรองว่าวิธีคิดด้านดีไซน์ของคุณจะพัฒนาขึ้นแน่นอน

DRIBBBLE : สุดยอดเว็บไซต์สำหรับ UI DESIGN[แก้]

ในวงการดีไซเนอร์ต่างประเทศ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักเว็บไซต์ Dribbble ครับ เว็บไซต์นี้เปิดโอกาสให้ดีไซเนอร์จากทั่วทุกมุมโลกมาลงงานดีไซน์ของตัวเอง โดยแต่ละงานก็สวย ๆ ทั้งนั้น เพราะไม่ใช่ใครก็ลงผลงานในเว็บนี้ได้ แต่ต้องมี Invite จากดีไซเนอร์ที่อยู่ใน Dribbble อยู่แล้วเท่านั้นครับ งานที่ลงเว็บไซต์นี้ ส่วนใหญ่จะเป็นงาน WIP (Work in Progress) คือยังอยู่ระหว่างการทำ แต่เอามาลงใน Dribbble อวดชาวโลกก่อน แต่ก็มีบางงานที่ทำเสร็จแล้ว เอาดีไซน์มาโพสพร้อม Link เว็บไซต์ให้เข้าไปดูเลยก็มีครับ งานที่ลงหลัก ๆ จะมีพวก UI Design, Web Design, App Design, Logo Design สิ่งที่ผมชอบที่สุดของ Dribbble คือ จะมีดีไซเนอร์เก่ง ๆ มาแจกกราฟฟิกสวย ๆ ฟรีครับ บางทีก็เป็นเซ็ตไอคอนฟรี, UI แจกฟรี, PSD เว็บไซต์ฟรี, ฟ้อนต์ฟรี ฯลฯ ซึ่งถ้าอยากดูเฉพาะของฟรีจาก Dribbble ก็มีเว็บไซต์ที่รวบรวมมาให้ นั่นคือ Freebbble และ Psddd (ชื่อเว็บไซต์แต่ละอันนี่จำยากมาก = =) ถ้าใครมีโอกาสได้ Invite เว็บไซต์นี้ก็โชว์ผลงานให้เต็มที่เลยครับ ถ้างานเราดีมีฝรั่งมาจ้างแน่นอน ผมเคยอ่านบลอคของดีไซเนอร์ที่ Google คนหนึ่ง เค้าบอกว่าตอนแรกเค้าเป็นดีไซเนอร์ที่ไม่ดังเลย แต่พอลงงานดีไซน์ใน Dribbble ก็มีคนมาจ้างเค้าออกแบบ และได้ Offer ให้ไปทำงานที่ Google สาขาใหญ่ในที่สุด

BEHANCE : PORTFOLIO ออนไลน์สำหรับดีไซเนอร์[แก้]

เว็บไซต์ Behance ก็เป็นเว็บชื่อดังในวงการดีไซเนอร์ต่างประเทศเช่นกันครับ คนไทยก็มีอยู่ไม่น้อย ซึ่งในเว็บไซต์นี้จะมีงานดีไซน์ทุกแขนงให้ดู ไม่ว่าจะเป็น Print Design, Web Design, Package Design, Branding, Typography และอื่น ๆ อีกมากมายใน Behance.net ใครก็สามารถสมัครสมาชิกแล้วลงผลงานได้ครับ โดยคอนเซปต์ของเว็บไซต์ Behance คือต้องการให้เป็น Online Portfolio ฟรีสำหรับดีไซเนอร์ ถ้างานไหนสวย มีคนกด Like เยอะ ก็จะถูกนำมาจัดแสดงในหน้าแรก ซึ่งจะมีดีไซเนอร์เทพ ๆ โผล่มามากมาย ถ้าชอบผลงานใครก็ไป Follow เอาไว้ เวลาเค้าอัพงานใหม่มันจะมีอีเมลมาบอกเราครับ ถ้าผลงานไหนเด็ดมาก ๆ ทาง Behance ก็จะเอางานของเราไปช่วยโปรโมทในเว็บไซต์เฉพาะสายดีไซน์นั้น ๆ (ซึ่งเป็นของ Behance เอง) เช่น WebDesignServed จะรวมงานเว็บดีไซน์สวย ๆ จาก Behance หรือ AppDesignServed จะรวมงานด้านดีไซน์ Mobile App สวย ๆ จาก Behance สามารถดูเว็บไซต์แนวนี้ทั้งหมดในเครือได้ที่ Behance Curated Sites

PINTEREST : ที่สุดของ INSPIRATION สำหรับ DESIGNER[แก้]

ตอนที่ Pinterest ออกมาใหม่ ๆ ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจครับว่าทำไมมันถึงฮิต จนได้มาทำงานร่วมกับดีไซเนอร์หลาย ๆ คน เลยเห็นประโยชน์ว่ามันเป็นเว็บไซต์ที่เอาไว้หา Inspiration ได้ดีมาก เสิร์จอะไรก็เจอ แถมการแสดงผลเป็น Grid แบบ Pinterest ทำให้สามารถดูดีไซน์ได้ทีละเยอะ ๆ เวลาใช้หน้าจอ iMac ใหญ่ ๆ ของดีไซเนอร์ด้วย เรื่องน่ารู้: Pinterest ใช้การแสดงผลแบบ Card Design ครับ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Card Design – User Interface เทรนด์ใหม่ที่คุณต้องรู้จัก นอกจากนั้นใน Pinterest จะให้ผู้ใช้สามารถสร้าง Board ของตัวเองได้ ก็จะมีคนทำ Board ที่รวบรวมพวก Design แขนงต่าง ๆ ไว้ครับ เราสามารถไปตาม Follow บอร์ดที่ชอบได้ (ผมจะชอบบอร์ดพวก Web Design, UI Design, Branding อะไรพวกนี้) เวลาแต่ละบอร์ดอัพเดทอะไรมันก็จะมาขึ้นในหน้าแรกทันที สะดวกมาก ๆ ครับ

AWWWARDS : รวมสุดยอดเว็บดีไซน์สวย ๆ ระดับโลก[แก้]

เว็บไซต์ Awwwards จะรวมเว็บสวย ๆ จากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งแต่ละวันมีเว็บไซต์ส่งเข้ามาเข้ามามากมาย เว็บไซต์ไหนได้คะแนนโหวตเยอะที่สุดก็จะถูกเลือกเป็น Site of the day และได้กราฟฟิกริบบิ้นสวย ๆ ไปติดโชว์ในเว็บครับ ส่วนเว็บไซต์ที่ไม่ชนะก็จะถูกลบไปตามกาลเวลา เหมือนเป็นการแข่งขันของเว็บไซต์จากทั่วโลกเลยครับ การส่งเว็บไซต์เข้ามาในระบบของ Awwwards ไม่ฟรีนะครับ ต้องเสียเงินด้วย แต่ก็จะได้คนดูเว็บเยอะมาก ๆ ถ้าได้เป็น Site of the day เพราะดีไซเนอร์ทั่วโลกจับตาดู Awwwards อยู่ตลอดครับ (หรืออาจจะได้งานเพิ่มด้วย) มีอยู่ช่วงนึงที่ผมเข้าเว็บไซต์นี้ทุกวันเลย ดูเว็บเทพ ๆ ของต่างประเทศแล้วได้อะไรเยอะดีครับ ทั้งในด้านไอเดีย / ดีไซน์ / โค้ด ใครอยากส่งเว็บตัวเองสามารถไปดูราคาที่หน้า Awwwards / Submit ได้ครับ สนนราคาประมาณ 30 Euro (1300 บาท) ต่อการส่ง 1 ครั้ง

PTTRNS : รวม MOBILE USER INTERFACE จากแอพสวย ๆ มากมาย[แก้]

เว็บไซต์ Pttrns มีดีไซน์แอพให้ดูเยอะมากครับ และมีการจัดแบ่งหมวดหมู่ตามฟังก์ชั่นต่าง ๆ เรียบร้อย เช่น ถ้าเราต้องการดูเฉพาะดีไซน์ของ หน้า Login ก็สามารถคลิกเมนูด้านซ้ายได้เลยครับ ผมชอบเว็บไซต์ Pttrns ตรงที่เค้าแบ่งเป็น iPhone กับ iPad ให้ด้วยครับ เวลาอยากดูเฉพาะดีไซน์ของหน้าจอแบบไหนก็กด Filter ได้ โดยเว็บไซต์นี้จะมีงานดีไซน์เป็นภาพนิ่งให้ดูเท่านั้นครับ ซึ่งจริง ๆ แล้วในการออกแบบแอพ Effect, Transition อะไรต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ควรจะให้ความสำคัญด้วยครับ ขอแนะนำอีกเว็บไซต์หนึ่ง นั่นคือ Capptivate ที่จะรวบรวม App Design แบบเป็นอนิเมชั่นเลย พอเราเอาเม้าส์ไปชี้งานไหน งานนั้นก็จะ Animate ให้เราดูครับ สะดวกมาก ๆ

เทคนิคการออกแบบโลโก้[แก้]

หลักการออกแบบโลโก้ต่างกับการออกแบบกราฟฟิกทั่ว ๆ ไป ตรงที่ Logo จะต้องนำไปใช้กับแบรนด์ กับสินค้าของลูกค้า เพราะฉะนั้นจึงต้องคำนึงธุรกิจว่าจะลงสื่อไหนบ้าง หรือคำนึงถึงลูกค้าว่าจะจดจำได้ง่ายขนาดไหน โลโก้ของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้คนจำสินค้า จำธุรกิจเราได้ หรือถ้าทำออกมาไม่ดีเค้าก็อาจจะจำเราสับสนกับแบรนด์คู่แข่งไปเลยก็ได้ ซึ่งจากประสบการณ์ออกแบบโลโก้มาหลายปีของผู้เขียน เค้าก็สรุปมาเป็น 6 หลักการคิดเพื่อออกแบบโลโก้ออกมาให้ดี

อยากให้โลโก้ “สื่ออารมณ์” แบบไหน[แก้]

ก่อนจะเริ่มเลือกสี เลือกรูปทรง เราต้องรู้ก่อนว่าอยากให้ออกมามีอารมณ์แบบไหน ซึ่งอารมณ์ที่เราเลือกก็ควรจะสอดคล้องกับหน้าตาของแบรนด์ที่เราต้องการด้วยครับlogo-design-compare ตัวอย่างเช่น โลโก้ของ Disney สื่อถึง “ความสนุก” และ “การมองโลกในแง่ดี” โดยตัวอักษรโค้งทำให้ดูสนุก และสอดคล้องกับแบรนด์ที่เป็นการ์ตูนน่ารัก ๆ สำหรับเด็กอีกด้วย ซึ่งถ้าเราเอาโลโก้แบบ Disney ไปใช้กับธุรกิจร้านขายของเท่ ๆ ก็คงไม่เหมาะ นอกจากการดูรูปทรงแล้ว นักออกแบบโลโก้ควรศึกษาเรื่องการใช้สี และอารมณ์ของสีด้วย เช่น สีเขียว มีความหมายเกี่ยวกับการเติบโต สุขภาพ และธรรมชาติ นอกจากนั้นยังให้อารมณ์สดชื่น ผ่อนคลายอีกด้วย ในขณะที่ สีแดง สื่อถึงอันตราย และความกระตือรือร้น font-compare การเลือก Font ให้สื่อถึงอารมณ์ก็สำคัญ ฟ้อนต์ Garamond, Helvetica, Comic Sans ต่างให้อารมณ์คนละแบบ ฟ้อนต์มีหาง (Serif) เช่น Garamond สื่อถึงความเคารพ ดั้งเดิม ซึ่งเหมาะกับเว็บไซต์ข่าว หรือมหาวิทยาลัยเก่าแก่ (แต่แอดมินรู้สึกว่าเว็บไซต์มหาวิทยาลัยในไทยส่วนใหญ่จะเน้นความ Modern มากกว่าความเก่าแก่ ใช้ฟ้อนต์ไม่มีหางเท่ ๆ กันหมด)ส่วนฟ้อนต์แบบไม่มีหาง (Sans-serif) เช่น Helvetica จะให้ความรู้สึก Modern สะอาดตา เหมาะกับธุรกิจเทคโนโลยี หรือสื่อโฆษณา ฟ้อนต์อีกแบบคือแนวน่ารัก ๆ ไม่เป็นทางการ (Casual) แบบ Comic Sans ซึ่งจะเหมาะกับธุรกิจการ์ตูน อนิเมชั่น หรือร้านขายของเล่น ในการทำโลโก้ให้ออกมาดี เราต้องเข้าใจถึงเรื่องรูปทรง, สี, และตัวอักษร จึงจะทำให้โลโก้สื่ออารมณ์ที่เราต้องการได้

อยากให้โลโก้มี “ความหมาย” อย่างไร[แก้]

โลโก้ที่ดีทุกโลโก้ล้วนมีความหมายอยู่เบื้องหลัง โลโก้ที่ดีของแบรนด์ไม่ใช่แค่โลโก้ที่เอาชื่อแบรนด์มาจับคู่กับรูปทรงนั้น ๆ เฉย ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมจึงไม่ควรเอาโลโก้สำเร็จรูปมาใช้กับธุรกิจเรา นักออกแบบโลโก้ต้องเข้าใจว่าแบรนด์ทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร มีอัตลักษณ์อย่างไร มี Vision อย่างไร ถึงจะออกแบบมาเป็นโลโก้ที่ดีได้amazon-logoดูตัวอย่างจากโลโก้ของเว็บไซต์ชื่อดัง Amazon.com จะเห็นว่ามีลูกศรสีส้มชี้จากใต้ตัว A ไปถึงตัว Z เป็นการบ่งบอกว่า “Amazon มีทุกอย่างขาย ตั้งแต่ A ถึง Z” นอกจากนั้นลูกศรสีส้มยังโค้งเหมือนรอยยิ้ม สื่อถึงหน้าของลูกค้าที่จะยิ้มเมื่อได้รับสินค้าที่ถูกใจนั่นเอง

โลโก้ของเราจะมีอายุยืนยาวขนาดไหน[แก้]

แน่นอนว่าคงไม่มีแบรนด์ไหนที่เปลี่ยนโลโก้ทุกปีเพื่อให้ลูกค้างงเล่น เพราะฉะนั้นนักออกแบบโลโก้ต้องคิดเสมอว่าในอีก 5 ปี, 10 ปี, 20 ปี โลโก้ของเราจะยังดูดีอยู่มั้ย การเลือกดีไซน์โลโก้ตามเทรนด์ประจำปี หรือโทนสีประจำปีเป็นความคิดที่ไม่ดีครับ เพราะเทรนด์พวกนี้อยู่ไม่กี่ปีก็จะกลายเป็นของเก่าไป นอกจากนั้นเราจะพบว่ามีโลโก้หน้าตา โทนสีคล้าย ๆ เราเต็มไปหมดอีกด้วย โลโก้ที่มีอายุยืนยาวมักจะเป็นโลโก้ที่เรียบง่าย และจดจำได้ง่าย ซึ่งอาจจะใช้ได้เป็น 10 – 20 ปีโดยที่ไม่ดูเก่าไปเลยด้วยซ้ำ เทคนิคทดสอบว่าโลโก้เราจะมีอายุยืนยาวมั้ย ให้ทำเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้สักระยะหนึ่งก่อนนำไปใช้จริงครับ ดูมันทุกวัน ๆ แล้วเรารู้สึกเบื่อมันมั้ย ถ้าเรารู้สึกเบื่อแปลว่าโลโก้ของเราคงมีอายุอยู่ได้ไม่นานครับ

โลโก้ของเรามี “ลักษณะเฉพาะ” มั้ย? โลโก้จดจำง่ายมั้ย?[แก้]

โลโก้ที่ดีต้องมีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนใคร และจดจำได้ง่าย ลูกค้าควรจะจดจำรูปทรงโลโก้ของเราได้ตั้งแต่แรกเห็น วิธีการทดสอบง่าย ๆ ว่าโลโก้ของเราจดจำง่ายหรือยาก คือ ให้ลองเอาโลโก้ไปให้เพื่อนของคุณดู เสร็จแล้วอีก 1 สัปดาห์กลับมาถามเพื่อนว่าโลโก้ที่เคยให้ดูมีลักษณะเป็นยังไง คนที่ไม่เคยเห็นโลโก้มาก่อนจะช่วยบอกได้ว่าโลโก้เรามีส่วนไหนที่จดจำง่าย โลโก้ที่คล้ายกับโลโก้อื่นอาจทำให้คนสับสน และจำแบรนด์เราสลับกับแบรนด์ของคนอื่นได้

โลโก้ยังดูออกมั้ยตอนเป็นสีขาว – ดำ[แก้]

ปกตินักออกแบบโลโก้หลาย ๆ คนจะเริ่มออกแบบจากสีขาว – ดำก่อนครับ ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าโลโก้ที่ออกมาจะมีรูปทรงที่จดจำได้ง่าย โดยไม่ต้องพึ่งพาสีของโลโก้ โลโก้ที่ดี คือ โลโก้ที่ลูกค้าบอกได้ว่าเป็นแบรนด์อะไร เพียงแค่เห็นรูปทรง โลโก้ของเราจะถูกนำไปใช้ในสื่อหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งสื่อขาว-ดำ และสื่อที่มีสีครับ เพราะฉะนั้นการทำให้โลโก้ขาว – ดำมีจุดให้จดจำเพียงพอนั้นสำคัญมาก

โลโก้ถ้าใช้แบบย่อเล็ก ๆ จะดูออกมั้ย[แก้]

บางครั้งโลโก้ก็ถูกนำไปย่อเล็กในสื่อต่าง ๆ ซึ่งถ้าออกแบบโลโก้มาไม่ดี อาจทำให้กลายเป็นก้อนอะไรไม่รู้ก็เป็นได้ครับ หลักการคิดทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมาไม่ได้เป็นกฏตายตัวนะครับ แต่เป็นแนวทางที่ทำให้ออกแบบโลโก้ที่ดีได้ง่ายขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ต้องตรงตามวิธีในนี้เป๊ะ ๆ ก็เป็นโลโก้ที่ดีได้เช่นกัน แต่เราก็จะรู้ด้วยตัวเองว่าถ้าทำแบบไหนจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ก่อนออกแบบโลโก้ทุกครั้ง ลองถามคำถาม 6 ข้อนี้กับตัวเองดูครับ อาจจะทำให้โลโก้ของเราเป็นโลโก้ที่ดีมากขึ้นก็ได้

ประโยชน์ของเทคโนโลยี Cloud มีอะไรบ้าง ?[แก้]

ในยุคที่ Digital, Social และ Mobile กลายเป็นเทคโนโลยีหลักในชีวิตประจำวันและการทำธุรกิจ เทคโนโลยี Cloud จึงมีความสำคัญมากขึ้น เพราะ Cloud ช่วยให้เทคโนโลยีเหล่านี้ทำงานและจัดการกับ Big Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นสูง สามารถรองรับปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาล รับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้สะดวก นอกจากนี้ Cloud ยังมีประโยชน์อีกหลายข้อดังนี้

Cloud ช่วยให้ผู้บริหารช่วงชิงความเหนือกว่าทางธุรกิจ[แก้]

และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ เช่น องค์กรสามารถค้นหาโอกาสทางธุรกิจ พัฒนานวัตกรรม สินค้า หรือบริการที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบยั่งยืน สามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว มีความคล่องตัว รวมทั้งบริหารการเติบโตขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Cloud ช่วยให้ใช้ประโยชน์จาก Big Data[แก้]

โดยการวิเคราห์ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว เพื่อเข้าใจถึง Insight ของลูกค้าได้ ดังเช่น RadioShack ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกโทรศัพท์มือถือและสินค้าเทคโนโลยี ที่นำโซลูชั่น Cloud มาใช้กำหนดราคาขายสินค้าที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากเทรนด์ของผู้ซื้อ

Cloud ช่วยสนับสนุนให้พนักงานทำงานและแบ่งปันความรู้ร่วมกัน (Collaboration)[แก้]

เนื่องจาก Cloud ช่วยให้มีการเชื่อมโยงกันตลอดเวลา ทุกสถานที่ และทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหน มากน้อยเท่าไรก็สามารถทำงานร่วมกันได้ แชร์ไฟล์หรือเอกสารต่างๆ ปรึกษากัน แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ได้ตลอดเวลา อันจะนำมาซึ่งการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ให้คุณค่าและตรงตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะรายมากขึ้น มีกรณีศึกษาของระบบสุขภาพในอเมริกาใต้ที่นำโซลูชั่นการถ่ายภาพและการสื่อสารทางการแพทย์ไปใช้ในศูนย์สุขภาพในพื้นที่ชนบท โซลูชั่นนี้ทำงานบน Private Cloud มีพื้นที่เก็บข้อมูล 90 TB ซึ่งช่วยให้การให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนในชนบทมีมาตรฐานสูงขึ้น เพราะแพทย์ในโรงพยาบาลในตัวเมืองสามารถเข้าถึงภาพถ่ายของคนไข้ในชนบทและให้การวินิจฉัยรวมถึงการรักษาได้ ช่วยลดต้นทุนด้านสาธารณสุขโดยรวมลงได้

Cloud ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น (Scalability)[แก้]

ทุกคนในองค์กรสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติในช่วงที่ลูกค้าเยอะหรือมีกิจกรรมมากได้สะดวก โดยที่ผู้บริหารองค์กรไม่ต้องคาดเดาปริมาณงานเอาเองเหมือนแต่ก่อน

Cloud ช่วยให้การบริหารต้นทุนมีประสิทธิภาพ[แก้]

องค์กรที่เลือกใช้บริการบนเทคโนโลยี Cloud สามารถประหยัดเงินลงทุนในด้านอุปกรณ์หรือโครงสร้างพื้นฐาน การดูแลบำรุงรักษาเซิร์ฟเวอร์ ต้นทุนด้านซอฟต์แวร์ การอัพเกรด และอื่นๆ ผู้บริหารจึงสามารถให้ความสนใจกับเรื่องกลยุทธ์และการบริหารงานในด้านอื่นๆ ได้มากขึ้น มีกรณีศึกษาของบริษัท PassportScan ซึ่งให้บริการระบบเช็คอินโรงแรมด้วยการสแกนพาสปอร์ตของแขกที่เข้าพัก สำหรับโรงแรมขนาดใหญ่ ทางบริษัทมีแอพพลิเคชั่นอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของโรงแรมเอง แต่กับโรงแรมขนาดเล็กที่ไม่มีงบประมาณมากพอสำหรับติดตั้งและดูแลเซิร์ฟเวอร์เอง PassportScan จึงได้นำโซลูชั่น Cloud ชื่อ Galaxy Hotel มาให้บริการเก็บข้อมูลการเข้าและออกของแขก โดยคิดค่าบริการแบบต่อหัว ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายเริ่มต้น ค่าติดตั้งแอพพลิเคชั่น ค่าบำรุงรักษาและอัพเกรดฐานข้อมูล รวมถึงค่าให้บริการทางเทคนิคถึงสถานที่

Cloud ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจ[แก้]

ทำให้องค์กรสบายใจว่าข้อมูลจะมีความปลอดภัย มีการสำรองข้อมูลล่าสุดให้เรียกใช้งานได้ตลอดเวลา สามารถดำเนินธุรกิจหรือการทำงานได้โดยไม่สะดุดหยุดชะงัก มีกรณีศึกษาของ Fullerton India ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการทางการเงินในอินเดีย มีสาขาใน 300 เมือง ครอบคลุมมากกว่า 12,500 หมู่บ้าน มีลูกค้าเกือบหนึ่งล้านราย ถ้าระบบล่มก็จะส่งผลต่อการสูญเสียทางการเงิน และยิ่งไปกว่านั้นคือชื่อเสียงและความไว้วางใจจากลูกค้า Fullerton India จึงได้นำระบบ Cloud มาใช้ โดยใช้โซลูชั่น Disaster Recovery ซึ่งอยู่ในศูนย์ข้อมูลของ IBM ที่บังกาลอร์ เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ทำให้ระบบหลักล่ม จะมีการสับเปลี่ยนไปใช้ระบบที่อยู่ในไซต์อื่นภายในเวลาไม่นาน ช่วยลดความสูญเสียที่จะเกิดกับธุรกิจได้

LAN Technology[แก้]

โครงสร้างของเครือข่ายหรือภาษาทางเทคนิคเรียกว่า “Topology” คือลักษณะการเชื่อต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งหากจะแบ่งประเภทของโครงสร้างเครือข่ายกันจริง ๆ ตามหลักวิชาการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อน ๆ นั้น ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ

1 โครงสร้างแบบสตาร์ ( Star Network)

ไฟล์:=Stardown.jpg

ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจาย ดังรูปที่ได้แสดงไว้ คือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อแบบนี้มีประโยชน์คือ เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใด นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือ Switch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต ( 1,000 Mbps) แล้ว ข้อดี ติดตั้งและดูแลง่าย แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด

ข้อเสีย เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหลดอื่นๆ ทั้งระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง แบบวงแหวน (Ring Network)


2โครงสร้างแบบบัส ( Bus Network)

ไฟล์:=Bus-Topology.jpg

เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี ข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

ไฟล์:=Ring potology.gif

3โครงสร้างแบบริง ( Ring Network) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ ข้อดี ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน ข้อเสีย หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก

4โครงสร้างแบบเมช (Mesh Topology)

ไฟล์:=Meshhh.jpg

MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก ข้อดี อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล ความเชื่อถือได้ของระบบ ง่ายต่อการตรวจสอบความผิดพลาด ข้อมูลมีความปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัว

ข้อเสีย จำนวนจุดที่ต้องใช้ในการเชื่อมต่อ และจำนวน Port I/O ของแต่ละโหนดมีจำนวนมาก (ตามสูตรข้างต้น) ถ้าในกรณีที่จำนวนโหนดมาก เช่นถ้าจำนวนโหนดทั้งหมดในเครือข่ายมีอยู่ 100 โหนด จะต้องมีจำนวนจุดเชื่อมต่อถึง 4,950 เส้น เป็นต้น3

WAN Technology[แก้]

Circuit switching เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร)

Packet switching เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง

หลักการทำงาน

Circuit switching

ไฟล์:=283535ffgg.png

1) เมื่อสถานีA ต้องการส่งข้อมูลให้กับ สถานีB จะต้องมีการสร้างเส้นทางเสียก่อน โดยที่ฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบว่าพร้อมรับข่าวสาร (Establishment/ Connection) 2) เมื่อสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอด และไม่มีบุคคลอื่นมาใช้เส้นทาง 3) มีอัตราความเร็วในการส่งเท่ากันทั้งด้านรับและด้านส่ง 4) มีการทำ Error Control และ Flow Control ทุกๆ ชุมสาย 5) ในขณะทำการส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วคงที่ และไม่มีการหน่วงเวลา(Delay) 6) เมื่อส่งข้อมูลเสร็จจะยกเลิกเส้นทางที่ได้เชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อให้เครื่องอื่นได้ใช้เส้นทางได้

Packet switching

ไฟล์:=Packetdvn.JPG

1) เมื่อ สถานี A ต้องการส่งข้อมูลให้กับสถานีB จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อยก่อนจะถูก ส่งออกไป 2) ส่งข้อมูลโดยใช้ชุมสาย PSE (Packet switching exchange) ควบคุมการรับส่ง 3) ทำ Error control หรือ Flow Control ที่ PSE 4) ด้านรับและด้านส่งมีอัตราความเร็วที่ไม่เท่ากันได้ 5) ใช้เทคนิค Store - and - Forward ในการส่งข้อมูล ผ่าน PSE

ลักษณะการเชื่อมต่อ

Circuit switching เชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point) Packet switching ส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่างๆที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว

OSI model + TCP/IP model[แก้]

TCP/IP model OSI model
Application Layer Application Layer
- Presentation Layer
- Session Layer
Transport Layer Transport Layer
Internet Layer Network Layer
Network Access Layer Data Link Layer
- Physical Layer