ผู้ใช้:Maeaffarn/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นสถาบันชั้นนำด้านการจัดการองค์กร ที่ให้บริการปรึกษาแนะนำ ฝึกอบรม วิจัยพัฒนา รณรงค์ส่งเสริม และผลักดันให้เกิดขบวนการเพิ่มผลิตภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในระดับสากล ปัจจุบันสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้ดำเนินงานมาครบ 18 ปี ด้วยความเชื่ออย่างแรงกล้าที่ว่า “การเพิ่มผลิตภาพอย่างเป็นระบบ จะทำให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” โดยผ่านบริการคุณภาพ 6 ด้าน คือ การให้คำปรึกษา แนะนำ และฝึกอบรม การวิจัยเพื่อการเพิ่มผลิตภาพ การรณรงค์ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ การเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ ศูนย์ความรู้ด้านการเพิ่มผลิตภาพ และการผสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับเครือข่ายต่างประเทศ

จุดเริ่มต้นของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลิตแห่งชาติ ได้รับการอนุมัติจัดตั้ง เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2537 และเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2538 สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เป็นองค์กรแห่งชาติที่พัฒนาการดำเนินงานมาจาก “ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย ในสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การสหประชาชาติ (กองทุนพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ) ในปี 2505 โดยเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการพัฒนาการจัดการและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยการฝึกอบรม ให้คำปรึกษาแนะนำ และให้ข้อมูลข่าวสารด้านการเพิ่มผลิตภาพ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของของภาคอุตสาหกรรมไทย

ครบเครื่องด้วยบริการคุณภาพ 6 ด้าน พร้อมก้าวสู่การปรับเปลี่ยนอย่างสร้างสรรค์ ดังนี้
1. การให้คำปรึกษาแนะนำ และฝึกอบรม สถาบันมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ และฝึกอบรมแก่ลูกค้าในทุกภาคส่วน ครอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ในหมวดต่างๆ ดังนี้

1.1 การให้คำปรึกษาภาคการผลิตและภาคบริการ ครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ โดยแบ่งเป็น
1) การให้คำปรึกษาในภาคการผลิต โดยที่ปรึกษาที่มีความรู้และความชำนาญในการให้คำปรึกษาแนะนำในภาคการผลิตโดยเฉพาะ แบ่งผลิตภัณฑ์ในการให้บริการเป็น 2 ส่วน ดังนี้
  • การบริหารการผลิต (Production Management) ได้แก่ การวัดด้านการเพิ่มผลิตภาพ(Productivity Measurement), การวางแผนการผลิตและการควบคุม (Production Planning and Control), การควบคุมคุณภาพ (Quality Control System), การบริหารการบำรุงรักษา(Maintenance Management), การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management), การบริหารความปลอดภัย (Safety Management), การบริหารงานประจำวัน (Daily Management) และ การพัฒนาศักยภาพของหัวหน้างาน (Supervisor Development)
  • การบริหารการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity Management) ได้แก่ 5 ส, ข้อเสนอแนะเพื่อการเพิ่มผลิตภาพ (Kaizen Suggestion), เทคนิคการวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิผล (Effective Problem Solving), กิจกรรมกลุ่มปรับปรุงคุณภาพ (Quality Control Circle), การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance), การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management), การผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) และ Six Sigma

2) การให้คำปรึกษาในภาคบริการ (Service) โดยมุ่งเน้นการลดขั้นตอนและเวลาในการให้บริการ เพิ่มคุณภาพในการให้บริการ และลดต้นทุนในการให้บริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้รับบริการ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการในภาคบริการ เช่น 5 ส สำหรับภาคบริการ, ข้อเสนอแนะเพื่อการเพิ่มผลิตภาพ (Kaizen Suggestion), เทคนิคการวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิผล (Effective Problem Solving), กิจกรรมกลุ่มปรับปรุงคุณภาพ (Quality Control Circle), การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management), ระบบลีนสำหรับภาคบริการ (Lean for Service) และการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ (Business Process Improvement)

1.2 ระบบมาตรฐานสากล
สถาบันมุ่งมั่นในการนำมาตรฐานระบบคุณภาพต่างๆ มาใช้ในการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล รวมทั้งช่วยปรับปรุงการบริหารงานภายในองค์กร โดยวิทยากรที่ปรึกษาของสถาบันจะเข้าไปฝึกอบรมและให้คำแนะนำ เพื่อให้การปฏิบัติงานในทุกขั้นตอนเป็นไปอย่างถูกต้อง และสอดคล้องกับมาตรฐานระบบคุณภาพต่างๆ ได้แก่ ISO9000, ISO9001, ISO14000, ISO14001, ISO22000, ISO/TS 16949, GMP, HACCP, Green Productivity, OHSAS 18001และ SA 8000 เป็นต้น
1.3 การบริหารทรัพยากรบุคคล
สถาบันยังมีบริการให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อพัฒนาพนักงาน หัวหน้างาน และผู้บริหาร ในการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ ตลอดจนการพัฒนาระบบงานการบริหารทรัพยากรบุคคลในด้านต่างๆ ตามความเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละองค์กร อาทิ Competency Models, Job Analysis, Job Description, Job Evaluation, Job Instruction, Job Methods, Job Relations, Performance Management System, Leadership, Supervisor in Competitive Age, Team Building, Training Roadmaps, Training Evaluation และ Train the Trainer Programs

1.4 การให้คำปรึกษาแนะนำด้านการจัดการองค์กร

สถาบันให้บริการปรึกษาแนะนำด้านการบริหารจัดการองค์กร ประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ได้แก่ Key Performance Indicators (KPIs), Balanced Scorecard, Benchmarking, Knowledge Management (KM), Self- Assessment, Cross-Functional Alignment, Thailand Quality Award Roadmap, Organizational Assessment, Strategic Planning, Best Practices และ Service Quality เป็นต้น

นอกจากนี้ สถาบันยังได้จัดโครงการ “พัฒนาทักษะการจัดการคุณภาพและกลยุทธ์ สำหรับผู้นำการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ความเป็นเลิศตามแนวทาง Business Excellence Framework” หรือ Q Program เพื่อให้ความรู้เรื่องเครื่องมือการจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ สร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการจัดการองค์กรที่ดี (Value chain & Business Model) ให้ความรู้เรื่องเครื่องมือการจัดการที่เหมาะสมกับองค์กร (Top 20 Management Tool & Standard) พร้อมทั้งศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีจากกรณีศึกษาองค์กรที่เป็นเลิศ ด้วยวิธีการเรียนรู้ทั้งการบรรยายภาคทฤษฎีที่เรียนรู้จากกรณีศึกษา และการฝึกปฏิบัติที่เข้มข้น

1.5 การศึกษาทางไกลและ e-Training

สถาบันเล็งเห็นความต้องการขององค์กร ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้กับบุคลากรในองค์กร และลดต้นทุนทางด้านเวลาและค่าใช้จ่าย ด้วยการให้บริการด้านการเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษาทางไกล (Distance Learning) และ e-Training เพื่อช่วยลดข้อจำกัดในการฝึกอบรมในรูปแบบทั่วไป

การศึกษาทางไกล (Distance Learning) เป็นระบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ไม่ต้องเข้าห้องเรียน ไม่เสียเวลาทำงาน เน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานได้จริง โดยในรอบปี 2554 สถาบันได้เปิดหลักสูตรต่างๆ ได้แก่ เทคนิคการเพิ่มผลิตภาพสำหรับหัวหน้างานและวิศวกร พื้นฐานการเพิ่มผลิตภาพสำหรับพนักงาน ทักษะการเป็นหัวหน้างาน แนวทางปฏิบัติเพื่อกำจัดความสูญเสีย และการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม เป็นต้น

e-Training เป็นการเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ช่วยให้องค์กรประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และกำลังคนในการพัฒนาบุคลากร ตั้งแต่การลงทะเบียนเรียน การเก็บข้อมูลการเรียนของพนักงานแต่ละคน การประเมินผลและการออกรายงานผลการเรียนแบบต่างๆ พร้อมทั้งยังมีเนื้อหาหลักสูตรที่เข้มข้นจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมากด้วยประสบการณ์ โดยถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อหลายรูปแบบทั้ง VDO, Animation, Simulation และ Interactive ที่ง่ายต่อการเรียนรู้

1.6 การฝึกอบรมให้บุคคลทั่วไป (Public Training)สถาบันได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมให้บุคคลทั่วไปหลากหลายหลักสูตร เพื่อตอบสนองต่อความต้องการต่างๆ ในการพัฒนาบุคลากรขององค์กร โดยในรอบปี 2554 หลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ ได้แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ
1) Shaping Strategic and Performance Management กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ จุดเริ่มต้นในการกำหนดทิศทางขององค์กรอย่างมีกลยุทธ์ เพื่อผลลัพธ์สู่ความเป็นเลิศ
2) Customer and Service Centric การให้ความสำคัญกับลูกค้าและบริการ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจเพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการอย่างเหนือความคาดหมาย
3) People Management Essentials การนำและบริหารคน ศาสตร์และศิลป์อันเป็นจุดเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในการบริหารเพื่อให้ได้ทั้งงานและได้ใจคน รวมทั้งเกิดผลลัพธ์ที่ดีในการทำงาน
4) Self Development for Professional การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จุดร่วมระหว่างด้าน Soft Skill และ Functional Skill เพื่อเสริมศักยภาพของคนสู่ความเป็นมืออาชีพ
5) Productivity and Quality Improvement Plus Tools เครื่องมือและระบบคุณภาพ จุดสำคัญที่ช่วยเพิ่มผลิตภาพ รักษามาตรฐาน ลดต้นทุนในกระบวนการทำงานและการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันเป็นหัวใจของการเพิ่มผลิตภาพ


2. การวิจัยเพื่อการเพิ่มผลิตภาพ สถาบันได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อสนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยใน ระดับมหภาค มุ่งเน้นการพัฒนาฐานข้อมูลที่แสดงสถานะการเพิ่มผลิตภาพของทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตและธุรกิจบริการ รวมไปถึงการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยที่สนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการเพิ่มผลิตภาพของประเทศ
นอกจากนี้ ใน ระดับองค์กร สถาบันยังให้บริการงานวิจัยสำหรับองค์กรที่ต้องการข้อมูลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และมีโครงการจัดตั้งหน่วยงานที่ให้บริการครบวงจรเกี่ยวกับกระบวนการ Benchmarking เช่น ให้บริการฝึกอบรมและปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการทำ Benchmarking, ให้บริการข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพทั้งในภาพรวมขององค์กรและในระดับกระบวนการเพื่อการเปรียบเทียบ ซึ่งมีทั้งข้อมูลภายในประเทศและข้อมูลขององค์กรในต่างประเทศ ภายใต้กรอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. การรณรงค์ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ อีกหนึ่งภารกิจของสถาบัน คือ การกระตุ้น รณรงค์ส่งเสริม และสร้างจิตสำนึกเรื่องคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการเพิ่มผลิตภาพให้กับทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ตลอดจนชี้แนะให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้วยบริการ Smart Services ซึ่งประกอบด้วย Smart Projects โครงการรณรงค์ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพในองค์กร โดยมีกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การให้ความรู้ การให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องแนวคิดและเครื่องมือพื้นฐานการเพิ่มผลิตภาพ รวมถึงการสร้างทัศนคติที่ดีในการปรับปรุงงาน และผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร

Smart Programs หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพในองค์กร โดยแต่ละหลักสูตรจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป อาทิ หลักสูตรเพื่อการพัฒนาตนเอง หลักสูตรเพื่อการพัฒนาทีม และหลักสูตรที่มุ่งเน้นการสร้างทัศนคติในเรื่องของการเพิ่มผลิตภาพกับทุกกลุ่มเป้าหมาย

Smart Activities การเรียนรู้แนวคิดและเครื่องมือพื้นฐานการเพิ่มผลิตภาพ ปลูกฝังการทำงานเป็นทีม ผ่านกิจกรรมค่าย ฐานการเรียนรู้ และเกมหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

Smart Media สื่อการเรียนรู้เรื่องเครื่องมือพื้นฐานการเพิ่มผลิตภาพ ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น e-book, ซีดีรอม, โปสเตอร์, คู่มือ, แผ่นพับ, Business Games เป็นต้น
4. การเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ สถาบันได้จัดทำสื่อวิชาการด้านการเพิ่มผลิตภาพ อาทิ วารสาร หนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปสเตอร์ และวีซีดี เพื่อกระจายความรู้ด้านการเพิ่มผลิตภาพให้เข้าถึงภาคส่วนต่างๆ ในวงกว้าง โดยสื่อวิชาการแบ่งออกเป็น 7 หมวด ได้แก่ การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ, วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ, การบริหารจัดการทั่วไป, การปรับปรุงคุณภาพและผลิตภาพ, เครื่องมือในการบริหารจัดการ, มาตรฐานในการบริหารจัดการ, การจัดการทรัพยากรบุคคล
5. ศูนย์ความรู้ด้านการเพิ่มผลิตภาพ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และศูนย์รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศด้านการเพิ่มผลิตภาพ โดยมีเนื้อหาหลักๆ เกี่ยวกับระบบคุณภาพและการเพิ่มผลิตภาพ การบริหารจัดการองค์กรหรือธุรกิจและทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ ยังมีบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า บริการยืม-คืน บริการค้นคืน บริการจอง บริการถ่ายสำเนา และบริการ Knowledge Center Online Service ซึ่งได้เตรียมข้อมูล 10 อันดับรายการทรัพยากรที่ได้รับความนิยม รายการบทความวารสารที่น่าสนใจ รายชื่อหนังสือใหม่ แนะนำหนังสือที่น่าสนใจ และ Links ไว้ให้บริการด้วย โดยลูกค้าของสถาบันและประชาชนทั่วไปสามารถใช้บริการ ได้ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00-12.00 น. และ 13.00-17.00 น. (ปิดบริการวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดประจำปีของสถาบัน) หรือเข้าใช้บริการผ่านทาง www.ftpi.or.th/kc/kc.html
6. การผสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับเครือข่ายต่างประเทศ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกขององค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย (Asian Productivity Organization - APO) ซึ่งมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นประเทศสมาชิกรวมทั้งสิ้น 20 ประเทศ โดยมีส่วนวิเทศสัมพันธ์ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ทำหน้าที่ประสานและดำเนินโครงการความร่วมมือต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนงานในแต่ละปีขององค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย โดยโครงการความร่วมมือสำคัญๆ ได้แก่

1) การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ จากต่างประเทศ มาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านการเพิ่มผลิตภาพให้แก่บุคลากรในภาคส่วนต่างๆ
2) การเผยแพร่ความรู้ เทคนิค และประสบการณ์ด้านการเพิ่มผลิตภาพในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชุมชน ผ่านการจัดสรรทุนอบรม สัมมนา การประชุม และการศึกษาดูงานระหว่างประเทศ
3) กิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเครือข่ายของ APO