ผู้ใช้:MUSCPL361-6305079/Ocimum tenuiflorum

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กะเพรา[แก้]

กะเพรา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Lamiaceae
สกุล: Ocimum
สปีชีส์: O.  tenuiflorum
ชื่อทวินาม
Ocimum tenuiflorum
L.
ชื่อพ้อง

Ocimum sanctum L.

กะเพรา (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum tenuiflorum) ชื่อสามัญ Holy Basil, Tulsi (ฮินดี) ชื่อท้องถิ่น กอมก้อ ก่ำก่อ กอมก้อดง(ภาคเหนือ) ผักอีตู่ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก พุ่มเตี้ยแตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นและใบมีขนโดยส่วนที่อ่อนจะมีขนมากกว่าส่วนที่แก่ มีสองประเภทคือกะเพราขาวและกะเพราแดง[1] พบทั่วไปในเอเชียเขตร้อน มักปลูกเป็นผักสวนครัว มีสรรพคุณร้อน[2] นิยมนำใบไปใช้ทำอาหาร คือ ผัดกะเพรา

ลักษณะ[แก้]

กะเพราสามารถสูงได้ถึง 1 ม. ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนต่อม ขนยาว หรือขนสั้นนุ่ม ตามลำต้น แผ่นใบ ช่อดอก ใบประดับ ก้านดอก และกลีบเลี้ยง

ใบเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 0.5-4.5 ซม. ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม.

ช่อกระจุกรอบแกนช่อห่าง ๆ คล้ายช่อเชิงลด ยาวได้ถึง 10 ซม. ใบประดับรูปไข่ ยาว 2-3 มม. ก้านดอกขยายในผล ยาว 2.5-4 มม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปปากเปิด หลอดกลีบเลี้ยงยาว 1-1.5 มม. ขยายในผล ยาว 3-4 มม. กลีบบนกลม กลีบล่าง รูปใบหอก ดอกสีม่วงหรือขาว หลอดกลีบดอกยาว 2-3 มม. กลีบบน 4 กลีบ กลีบล่าง 1 กลีบ ขนาดใหญ่กว่ากลีบบน เกสรเพศผู้สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน ยื่นพ้นปากหลอด กลีบดอก โคนมีขนเป็นกระจุก รังไข่มี 4 พู ผลกลม เมล็ดรูปไข่[2]

ความเชื่อ[แก้]

ผู้นับถือศาสนาฮินดูนั้นมีเชื่อว่ากะเพราคือพระนางลักษมี ซึ่งเป็นชายาของพระวิษณุ นั่นทำให้ผู้ที่นับถือพระวิษณุนั้นบูชากะเพรา ทุกบ้านจะปลูกกะเพราไว้สำหรัทำพิธีกรรมต่างๆ เช่นประกอบอาหาร ทำยา หรือใช้ในทางศาสนา นอกจากนั้นยังมีความเชื่อว่ากะเพราสาารถป้องกันภูตผีหรือสิ่งเลวร้ายได้อีกด้วย

นอกจากนี้ชาวกรีกบางกลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์เชื่อว่ากะเพราเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นพืชที่งอกบนหลุมศพของพระเยซู เป็นที่มาของ Saint's Basil Day ซึ่งมีการเฉลิมฉลองไม่ต่างกับ Saint's Valentine Day หรือวันวาเลนไทน์

และเพราะความเชื่อว่ากะเพราเป็นพืชศักดิ์สิทธ์ต่อศาสนาทั้งสอง กะเพราจึงมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Holy Basil และในภาษาฮินดี Tulsi ที่แปลว่า ไม่มีส่งใดเปรียบได้[3]

ประวัติศาสตร์การนำมาใช้ประโยชน์[แก้]

ในประเทศไทย มีบันทึกถึงกะเพราไว้ตั้งแต่พ.ศ.2416 ในหนังสือของหมอปรัดเลว่า “กะเพรา : ผักอย่างหนึ่งต้นเล็กๆ ใบกลิ่นหอม ใช้แกงกินบ้าง ทำยาบ้าง” ซึ่งนั่นหมายถึงคนไทยรู้จักกะเพรามานานแล้ว ซึ่งในปัจุบันการใช้ประโยชน์จากกะเพราเองก็ไม่ต่างไปจากอดีตมากนัก [3]

คุณค่าทางโภชนาการ[1][แก้]

ตารางแสดงคุณค่าทางอาหารของกะเพราส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม
กะเพราขาว กะเพราแดง
พลังงาน 46 41 กิโลแคลอรี่
โปรตีน 2.7 4.2 กรัม
ไขมัน 0.3 0.5 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 8 4.8 กรัม
แคลเซียม 310 2 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 51 287 มิลลิกรัม
เหล็ก 2.2 1.87 มิลลิกรัม
วิตามินบี 1 - 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 - 0.34 มิลลิกรัม
ไนอาซีน - 1.8 มิลลิกรัม
วิตามินซี 2 22 มิลลิกรัม
เบต้า-แคโรทีน 724 1134 ไมโครกรัมต่อเรตินอล
ใยอาหาร 4.30 4.30 กรัม

- หมายถึงยังไม่มีการศึกษา

สารสำคัญที่พบ[แก้]

น้ำมันกะเพรามีส่วนประกอบหลายอย่าง ได้แก่

  • ยูจีนอล(Eugenol)
  • เบต้า-เอเลมีน(β-elemene)
  • เบต้า-คารีโอฟีลีน(β-caryophyllene)
  • เจอร์มาซีนี(Germacrene)
  • กรดโอลีนโนอิก(Oleanolic acid)
  • กรดเออโซลิก(Ursolic acid)
  • กรดโรสมารินิก(Rosmarinic acid)
  • คาร์วาคอล(Carvacrol)
  • ลินาลูล(Linalool)

แนะนอกจากนี้ก็ยังมีสารประกอบอย่างเทอร์พีน(Terpenes) เป็นส่วนใหญ๋[4][5]

การใช้ประโยชน์[แก้]

ด้านอาหาร[แก้]

กะเพราเป็นพืที่มีกลิ่นฉุนและมีรสร้อนแรงจึงมักถูกนำไปใช้เป็นเครื่องปรุงรสและกลิ่นในการประกอบอาหารมากกว่าจะนำมาทานเหมือนผักอื่นๆ อย่างเช่ยเมนูผัดกะเพรา และนอกจากนั้นยังถูกนำมากดับกลิ่นคาวในอาหารหลายอย่างเช่น ผัดขี้เมา พล่าปลาดุก เป็นต้น

ด้านเครื่องดื่ม[แก้]

น้ำต้มใบกะเพราสามารถช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อนได้ และหากทานป็นประจำจะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้และช่วยให้ย่อยอาหารได้ดีขึ้น[6]

ด้านสมุนไพร[แก้]

กะเพราเป็นพืชที่จัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง เพราะมีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตำราไทยและต่างประเทศต่างก็ระบุความเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ของกะเพราเอาไว้หลายด้านเช่น ตำราสมุนไพรไทย บรรยายสรรพคุณด้านยาของกะเพราเอาไว้ว่า “รสฉุนปร่า ร้อน ขับลม แก้ซาง แก้ท้องขึ้น ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้จุกเสียดในท้อง ช่วยย่อยอาหาร”[3]

แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น แก้ลม ขับลม แก้จุกเสียด แน่นในท้อง[แก้]

ใช้ใบสดหรือยอดอ่อน 1 กำมือหรือใบแห้ง 4 กรัม ต้มพอเดือดแล้วกรองน้ำใช้ดื่ม

ขับเสมหะ ขับเหงื่อ[แก้]

ใช้น้ำที่คั้นจากใบสดนการดื่ม

แก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน[แก้]

ใช้น้ำจากใบสดทาบริเวณที่ต้องการ

ฆ่ายุง แมลง และเชื้อจุลินทรีย์[แก้]

ใช้น้ำมันหอมระเหยสะกัดจากใบกะเพราไปฉัดพ่น

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 https://ittm.dtam.moph.go.th/images/knowleaga/2/กะเพรา%20แก้ปวดท้อง%20ท้องขึ้น%20แก้ลม%20ขับลม%20แจ้จุกเสียด%20แน่นในท้อง.pdf
  2. 2.0 2.1 https://www.dnp.go.th/botany/PDF/publications/saranukrom.pdf
  3. 3.0 3.1 3.2 https://www.doctor.or.th/article/detail/3967#:~:text=เมื่อเชื่อว่ากะเพราคือ,ในบริเวณบ้านนั้นด้วย
  4. Sundaram, R. Shanmuga; Ramanathan, M.; Rajesh, R.; Satheesh, B.; Saravanan, D. (2012-03-01). "Lc-Ms Quantification of Rosmarinic Acid and Ursolic Acid in the Ocimum Sanctum Linn. Leaf Extract (holy Basil, Tulsi)". Journal of Liquid Chromatography & Related Technologies. 35 (5): 634–650. doi:10.1080/10826076.2011.606583. ISSN 1082-6076.
  5. Padalia, Rajendra C.; Verma, Ram S. (2011-03-01). "Comparative volatile oil composition of four Ocimum species from northern India". Natural Product Research. 25 (6): 569–575. doi:10.1080/14786419.2010.482936. ISSN 1478-6419. PMID 21409717.
  6. http://www.bioformthailand.com/TH/health/ภาษาไทย-น้ำกะเพรา-ช่วยร/